เมนู

9 สิ่งไม่ควรทำกับตู้เย็นที่บ้านคุณ

ตู้เย็น

9 สิ่งไม่ควรทำกับตู้เย็นที่บ้านคุณ

ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีใช้กันเกือบทุกครัวเรือน นอกจากจะสามารถเก็บตุนอาหารได้ยาวนาน ยังช่วยดับกระหายคลายร้อนจากน้ำเย็นได้ดีอีกด้วย สำหรับวันนี้ “บ้านไอเดีย” ขอนำเกร็ดข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ผู้อ่านได้ใช้ตู้เย็นกันอย่างถูกวิธี เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถประหยัดค่าไฟฟ้า และยืดอายุการใช้งานของตู้เย็น ตู้เย็นที่บ้านจะได้อยู่ให้เราใช้ไปนาน ๆ ครับ

สนับสนุนโดย : Cdiscount.co.th
ภาพ | เนื้อหา : บ้านไอเดีย

1. วางชิดติดผนัง : โดยปกติเกือบทุกบ้าน นิยมจัดวางตู้เย็นไว้ชิดผนัง ซึ่งไม่เป็นเรื่องที่ผิด แต่หากวางชิดผนังจนเกินไป จะส่งผลให้การระบายความร้อนของตู้เย็นเป็นไปอย่างลำบาก ทำให้ตู้เย็นทำงานหนักและเปลืองค่าไฟมากขึ้น การจัดวางจึงควรเว้นระยะห่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท ข้อควรระวัง สำหรับบ้านที่เลือกจัดเก็บตู้เย็นเข้ากับ built in ครัว หากออกแบบให้แน่นขนาดพอดีจนเกินไป อาจส่งผลเสียในด้านการระบายความร้อน ควรออกแบบให้มีช่องระบายอากาศด้านหลัง ด้านข้างและด้านบนครับ

ระยะห่างที่เหมาะสม ด้านบน 20-30 ซม. ด้านหลัง 10-20 ซม. และด้านข้าง 5-10 ซม.

เลือกซื้อตู้เย็น

2. วางใกล้ความร้อน : นอกจากวางชิดติดผนังแล้ว ไม่ควรวางตู้เย็นไว้ใกล้แหล่งทำความร้อน เช่น กระติกน้ำร้อน ,​ หม้อหุงข้าว , ไมโครเวฟ , เตาแก๊ส บางบ้านต้องการประหยัดพื้นที่ นิยมนำหม้อหุงข้าวจัดวางไว้บนตู้เย็น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ควรทำครับ หรือแม้แต่การวางชิดติดผนังทางทิศใต้ หากมีแสงแดดสาดส่อง ผนังบ้านร้อนมากอาจส่งผลให้ตู้เย็นทำงานหนักขึ้นเช่นกันครับ

3. เปิดทิ้งไว้นาน ๆ : ข้อนี้เคยเป็นประเด็นที่ได้พูดคุยกัน กับข้อสงสัยที่ว่า หากต้องการใช้ตู้เย็นในช่วงดังกล่าวนาน ๆ เช่น ตักไอศครีมที่แช่ช่องฟรีซ ระหว่างเปิดตู้เย็นทิ้งไว้จนกระทั่งตักเสร็จ กับ หยิบไอศครีมออกมา ปิดตู้เย็น ตักเสร็จแล้วค่อยเปิดใหม่เพื่อเก็บ แบบไหนเปลืองค่าไฟมากกว่ากัน
คำตอบ : เปิดทิ้งไว้เปลืองกว่ามากครับ นั่นเป็นเพราะว่าโดยปกติตู้เย็นจะทำความเย็นตลอด 24 ชม. ตู้เย็นจะรักษาอุณหภูมิตามค่าที่ผู้ใช้ตั้งไว้ หากอุณหภูมิสูงขึ้นจะเริ่มทำความเย็นใหม่เพื่อให้อุณหภูมิคงที่อยู่เสมอ กรณีที่เปิดแล้วปิด ความเย็นภายในตู้เย็น จะถ่ายเทออกไปน้อยกว่าการเปิดทิ้งไว้นาน ๆ ส่งผลให้ตู้เย็นลดการทำงาน ประหยัดค่าไฟมากขึ้นครับ

4. ยางเสื่อม : ขอบยางตู้เย็นเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเสื่อมลง ขอบยางเป็นเสมือนส่วนปิดกั้นรอยรั่วของความเย็น หากขอบยางเสื่อมไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะความเย็นจากภายในจะเล็ดลอดออกไปตลอดเวลา ส่งผลให้ตู้เย็นทำงานหนักตลอดเวลา ควรซ่อมแซมด้วยการเปลี่ยนขอบยางใหม่ หากพอจะมีความรู้เรื่องช่างสามารถซื้อมาเปลี่ยนเองได้ แนะนำตอนไปซื้อถอดของเก่าไปให้ที่ร้านดูด้วยนะครับ เพื่อที่จะได้เทียบขนาดและรุ่นที่ตรงกัน ราคาโดยรวมประมาณ 1,000 บาท แต่หากไม่มั่นใจที่จะเปลี่ยนเอง แนะนำให้ช่างทำให้ เสียค่าแรงนิดหน่อยแต่ปลอดภัยและสะดวกกว่าครับ

5. งัดแงะช่องฟรีซ : ตู้เย็นรุ่นเก่าที่ไม่มีระบบ No Frost เมื่อใช้ไปสักระยะน้ำแข็งจะเกาะติดเต็มช่องฟรีซ สิ่งต้องห้ามคือการงัดแงะน้ำแข็งออกจากช่องฟรีซ แต่ให้กดปุ่มละลายน้ำแข็งแทน หลังจากน้ำแข็งละลายแล้วควรรีบทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง เพราะน้ำแข็งที่ละลายนั้นมักสะสมเชื้อโรคไว้ด้วย ไม่สามารถนำมารับประทานได้ครับ หากเป็นไปได้เมื่อต้องซื้อตู้เย็นใหม่ ควรเลือกเป็นระบบ No Frost ดีกว่ากันเยอะครับ

6. กระจุกของแน่น : สิ้นเดือนทีไรกระเป๋าตังค์แน่น คุณแม่บ้านส่วนใหญ่นิยมไปจ่ายตลาดในช่วงนี้ ส่วนใหญ่มักจัดเต็ม นำอาหารทั้งผัก ผลไม้ ยัดแน่นเต็มตู้เย็น ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ตู้เย็นไม่สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึง โดยเฉพาะการจัดวางอาหารไว้ใกล้ช่องความเย็น จะเป็นการบดบังความเย็นไม่สามารถกระจายได้ทั่วทั้งตู้เย็น ให้นึกถึงสภาพแวดล้อมที่มีผู้คนแออัด บริเวณไหนแออัดอากาศจะร้อนมาก ภายในตู้เย็นก็เช่นกันครับ ควรมีพื้นที่ว่างไว้อย่างน้อยประมาณ 10 % หากตู้เย็นเต็มแน่นตลอด นั่นอาจเป็นสัญญาณที่กำลังบอกเราว่า ควรเลือกซื้อตู้เย็นใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า หรืออาจลองคัดเลือกดูว่า อะไรบ้างที่ไม่จำเป็นเก็บไว้ในตู้เย็น มีอะไรบ้างแช่ไว้เป็นปีแล้วไม่เคยได้ใช้มัน ควรกำจัดทิ้งออกครับ

7. อาหารร้อนใจเย็น ๆ : เคยไหม ? ทำอาหารไว้เสร็จใหม่ ๆ อยากจะให้เย็นไว ๆ จึงหยิบใส่เข้าตู้เย็นเลยทันที การทำเช่นนี้จะส่งผลให้ภายในตู้เย็น เกิดความร้อนมากขึ้น ทำงานหนักมากขึ้น ค่าไฟย่อมสูงขึ้นตามลำดับ

8. เครื่องดื่มมีก๊าซ : เครื่องดื่มประเภท น้ำอัดลม , เบียร์  หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีก๊าซ ไม่ควรนำมาแช่แข็ง เนื่องด้วยเครื่องดื่มที่มีก๊าซ สามารถขยายตัวเมื่อเจอความเย็นจัด อาจส่งผลให้ขวดแตกระเบิดได้ครับ

9. ปลั๊กตู้เย็น : ไม่ควรเสียบปลั๊กตู้เย็นร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ควรเสียบแยกไว้เฉพาะตู้เย็นโดยเฉพาะ และควรมีอุปกรณ์ตัดตอนป้องกันวงจรไว้ด้วย กรณีที่ซื้อตู้เย็นเข้าบ้านใหม่ อาจยังไม่มีตำแหน่งปลั๊กสำรองไว้ หากต้องการใช้ปลั๊กพ่วงชั่วคราว ควรเลือกเฉพาะคุณภาพดีเท่านั้นซึ่งจะมีราคาสูงถึงหลักพันบาท แนะนำให้ติดต่อช่างไฟ เพื่อทำการเดินสายไฟใหม่ รวมค่าใช้จ่ายไม่กี่ร้อยคุ้มกว่ากันเยอะครับ

ข้อควรรู้ เกี่ยวกับตู้เย็น

จะว่าไปแล้ว เกร็ดความรู้เรื่องตู้เย็นทั้ง 9 ข้อนี้ นับเป็นเรื่องพื้นฐานใกล้ตัวของเราทุกคน บ้านใครยังติดปัญหาข้อใดอยู่ ลองปรับแก้ ปรับเปลี่ยน และลองทำตามดูประมาณ 1 เดือน มาทดสอบกันว่า บิลค่าไฟฟ้าสิ้นเดือนจะประหยัดลงหรือไม่ ได้ผลอย่างไรมาบอกกันด้วยนะครับ หรือหากผู้อ่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์ใต้เนื้อหา พูดคุยกันได้เลยครับ รอบหน้าจะนำเกร็ดความรู้ใดมาฝาก ติดตามอ่านกันนะ สวัสดีครับ ^_^ http://credit-n.ru/zaymi-listing.html http://www.tb-credit.ru/microkredit.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ความรู้ คู่บ้าน


โพสต์ล่าสุด