เมนู

12 ข้อสำคัญ ห้องนอนปลอดโรค เพื่อสุขภาพที่ดี

ห้องนอนสุขภาพดี

เลือกซื้อชุดเครื่องนอน ออกแบบห้องเพื่อสุขภาพการนอนที่ดี

คืนละ 8 ชั่วโมง หรือเดือนละ 240 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 122 วันต่อปี ที่ร่างกายของเราต้องอาศัยอยู่บนที่นอน พูดโดยรวมก็คือ 1 ใน 3 ของชีวิตคนทุกคน ถูกแบ่งเวลาไว้กับการนอน ที่เริ่มต้นด้วยตัวเลขเหล่านี้ เพื่อที่จะให้ผู้อ่านได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และความคุ้มค่าต่อการลงทุนกับการเลือกซื้อชุดเครื่องนอนที่ดีมาใช้ รวมถึงการตกแต่ง ออกแบบห้องนอนของเราให้เอื้อกับสุขภาพที่ดี เพื่อให้การใช้ชีวิตประจำยามค่ำคืนที่เรามักมองข้าม เป็นการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากที่สุด โดยจะขอแบ่งเป็น 2 หัวข้อหลัก คือ การเลือกซื้อชุดเครื่องนอน และการออกแบบห้องนอนครับ

สนับสนุนเนื้อหาโดยMoxy

ชุดเครื่องนอนเพื่อสุขภาพ

ชุดเครื่องนอน นับเป็นของตกแต่งบ้านชิ้นสำคัญภายในห้องนอน ผู้เป็นเจ้าของห้องสามารถเลือกลวดลาย สีสัน สไตล์ของห้องได้ตามจินตนาการ เป็นห้องที่ปลดปล่อยความเป็นส่วนตัวได้ดีที่สุด แต่ความสวยงามที่ดีนั้น ควรต้องมาพร้อมกับสุขภาพที่ดีด้วย การเลือกชุดเครื่องนอนเพื่อสุขภาพที่ดี จะมีอะไรบ้าง อ่านกันต่อเลยครับ

1. เตียงนอนสุขภาพ : ห้องนอนสุขภาพควรเลือกใช้เตียงนอนแบบขาโปร่ง พื้นที่ใต้เตียงโล่ง เนื่องด้วยเป็นลักษณะที่นอน ที่ไม่เก็บฝุ่น สามารถทำความสะอาดได้สะดวก หากเป็นที่นอนแบบปิดกั้นใต้เตียงหรือมีตู้ลิ้นชักไว้เก็บของ แม้ภายนอกจะดูเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ก็เก็บสะสมไว้ซึ่งฝุ่นใต้เตียงและอาจเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น มด ปลวก แมลงสาบ ตะขาบ เป็นต้น เตียงนอนแบบขาโปร่งจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนรักสุขภาพ

2. ที่นอนสุขภาพ : ปัจจุบันผู้ผลิตได้คิดค้นที่นอนรุ่นใหม่ ๆ เพื่อให้รองรับกับการนอนที่ดีเหมาะสมกับสรีระร่างกาย วิธีการเลือกซื้อที่นอนที่ดีที่สุด ผู้ซื้อควรไปทดลองนอนด้วยตนเอง เพื่อให้รับรู้ถึงความเหมาะสมและความชอบส่วนตัว หลักการทดสอบเบื้องต้นให้นอนลงบนที่นอนอย่างน้อย 5 นาที ทดสอบความนุ่มด้วยการนอนแล้วเอามือสอดใต้แผ่นหลัง หากสอดมือเข้าไปได้โดยง่ายแสดงว่าที่นอนดังกล่าวอาจแข็งเกินไป แต่หากสอดมือเข้าไปไม่ได้ แสดงว่าที่นอนดังกล่าวนุ่มเกินไป ที่นอนที่ดีไม่ควรนุ่มหรือแข็งจนเกินไป เมื่อสอดมือไปแล้วให้พอสอดเข้าได้ในแบบที่ไม่ง่ายจนเกินไป สำหรับที่นอนเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน มี 2 แบบ ดังนี้

  • ที่นอนพ็อคเก็ตสปริง เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากที่นอนสปริงทั่วไป โดยระบบพ็อคเก็ตสปริงจะแยกอย่างอิสระ เหมาะอย่างยิ่งกับคู่รักที่นอนด้วยกัน เพราะหากมีใครคนใดคนหนึ่งลุกขึ้นจากที่นอน เตียงจะไม่สั่น ไม่ทำให้อีกคนที่กำลังหลับอยู่รู้สึกตัว ระบบสปริงมีความยืดหยุ่นต่อร่างกาย ยิ่งมีจำนวนของสปริงมากยิ่งดีครับ
  • ที่นอนยางพารา เป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง เนื่องด้วยยางพารามีความยืดหยุ่นต่อสรีระร่างกาย ให้ความคงทน ไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป ไม่กักเก็บฝุ่น แต่อาจจำเป็นต้องมีผู้ช่วยในการเปลี่ยนชุดเครื่องนอน เพราะที่นอนยางพารามีน้ำหนักมากเป็นพิเศษ

3. หมอนสุขภาพ : ลักษณะการนอนที่ดีควรให้หมอนได้รองรับตั้งแต่ต้นคอถึงศรีษะ หมอนไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป หากเป็นหมอนเพื่อสุขภาพนิยมผลิตมาจากยางพารา ซึ่งมีความยืดหยุ่นกว่าหมอนประเภทอื่น ๆ ระบายอากาศดีเพราะมีรูพรุนภายในเนื้อยางพารา แม้หมอนยางพาราจะมีราคาสูงมาก แต่ก็คุ้มค่าเพราะมีความคงทนมากเช่นกัน ใช้ไปหลายปีรูปทรงของหมอนไม่ยุบย้วย

Memory Foam เป็นอีกหนึ่งหมอนที่ได้รับความนิยมในด้านสุขภาพ ด้วยลักษณะของเม็ดโฟมช่วยให้หมอนมีความยืดหยุ่นสูง รองรับทุกการเคลื่อนไหวขณะนอน ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี ไม่เหน็บชา

4. ผ้าปู ผ้านวม : ผ้าปูและผ้านวมนับเป็นของตกแต่งบ้านชิ้นหลักภายในห้องนอน สิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือไส้ภายใน ควรเลือกเป็นใยสังเคราะห์ เช่นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ซึ่งจะให้ผิวสัมผัสที่นุ่ม เย็นสบาย และควรซักด้วยน้ำอุณหภูมิ 55-60 องศา จะช่วยฆ่าไรฝุ่นได้เป็นอย่างดี

ออกแบบห้องนอนเพื่อสุขภาพ

นอกจากการเลือกชุดเครื่องนอนเพื่อสุขภาพ การออกแบบห้องรวมถึงออกแบบตำแหน่งต่าง ๆ ภายในห้องนอน ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สุขภาพของเราปลอดจากโรคภัยต่าง ๆ โดยรวมห้องนอนที่ดีนั้น ควรมีความปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีแสงสว่างจากธรรมชาติเข้าถึง ยังมีส่วนใดที่สำคัญต่อสุขภาพของเราอีกบ้าง อ่านกันต่อเลยครับ

ตัวอย่างผังห้องนอน แบ่งสัดส่วนห้องนอน แต่งตัว และห้องน้ำแยกออกจากกัน

5. ตำแหน่งห้องนอน : ห้องนอนเหมาะกับการจัดวางไว้ทางทิศตะวันออก เพื่อที่จะได้มีแสงสาดส่องในยามเช้า แสงแดดยามเช้าช่วยให้ผู้อยู่อากาศรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย ลดภาวะความตึงเครียด โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่ทำงานหนัก มักสะสมความเครียดโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ห้องนอนควรอยู่ติดสวนเพื่อให้มีทิวทัศน์และอากาศที่ดี

6. เครื่องปรับอากาศ พัดลม : หากผู้อ่านอยู่อาศัยในสถานที่ธรรมชาติ อากาศดี การได้สูดอากาศจากธรรมชาติย่อมดีกว่า แต่หากอาศัยในตัวเมืองซึ่งมีความร้อนอบอ้าวสูง เครื่องปรับอากาศช่วยให้นอนหลับสบายขึ้นได้ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศและพัดลมไม่ควรติดตั้งตรงกันข้ามกับเตียง เพราะลมจากเครื่องปรับอากาศจะเข้าปาก เข้าจมูกในขณะเรานอนหลับ อาจส่งผลให้เกิดภูมิแพ้ได้ง่าย ให้ติดตั้งไว้ด้านข้างเยื้องไปทางปลายเตียง ลมที่พัดเข้ามาจะสัมผัสร่างกายเป็นหลัก และควรล้างทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ

7. หน้าต่าง : ปัจจุบันหลาย ๆ บ้านไม่นิยมเปิดหน้าต่าง อาจเนื่องด้วยอากาศที่ร้อน แต่สิ่งนี้นับเป็นวิธีการที่ผิด ห้องนอนที่ดีควรให้มีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ หลังจากตื่นนอน ก่อนออกจากบ้านควรเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ เพื่อให้อากาศได้ถ่ายเท ให้แสงแดดได้เข้าถึง จะช่วยกำจัดเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี แต่กรณีที่ห้องนอนติดตั้งเครื่องปรับอากาศด้วย ควรเปิดหน้าต่างหลังจากปิดเครื่องปรับอากาศไปแล้วประมาณ 15 นาที มิเช่นนั้นห้องนอนจะเกิดความชื้นสะสมได้

นอกจากนี้กรณีห้องที่มีหน้าต่างไว้ตำแหน่งหัวเตียง ควรเลี่ยงการเปิดหน้าต่างขณะหลับ เพราะลมอาจส่งผลให้ร่างกายป่วยได้ หน้าต่างควรอยู่ในทิศทางด้านข้างเตียง ใช้หลักการเดียวกับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและพัดลมครับ

8. ห้องนอนกับห้องน้ำ : เพื่อความสะดวกในการใช้งาน การออกแบบห้องนอนปัจจุบันจึงนิยมออกแบบให้มีห้องน้ำภายใน แต่สิ่งที่ตามมาคือความชื้นและกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพราะฉะนั้นตำแหน่งของเตียงนอน ควรเลี่ยงการจัดวางไว้ชิดผนังห้องน้ำ หรือหากห้องมีพื้นที่มากพออาจกั้นด้วยห้องแต่งตัวไว้อีกชั้น ผนังห้องน้ำควรก่ออิฐสองชั้น เพื่อป้องกันกลิ่นและเสียงรบกวน เพราะหากนอนร่วมกันสองคน เมื่ออีกคนต้องใช้ห้องน้ำ อาจส่งเสียงรบกวนขณะนอนหลับได้

9. ห้องนอนกับตู้เสื้อผ้า : สำหรับบ้านที่มีพื้นที่น้อย นิยมนำตู้เสื้อผ้ามาไว้ในห้องนอน ซึ่งเป็นต้นเหตุของไรฝุ่น หากให้ดีที่สุดควรเก็บเสื้อผ้าแยกไว้จากห้องนอน แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ควรเลือกตู้เสื้อผ้าที่ปิดได้มิดชิด และไม่ควรเปิดทิ้งไว้ ที่สำคัญไม่ควรนำผ้าเปียกมาตากไว้ภายในห้องนอน

10 . วัสดุปูพื้น : ควรเลี่ยงการใช้พรมปูพื้น เพราะทำความสะอาดยากอีกทั้งยังเป็นแหล่งสะสมไรฝุ่น ควรเลือกเป็นวัสดุไม้ กระเบื้อง ลามิเนต หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เช็ดกวาดได้ง่าย ไม่สะสมฝุ่น

11. ม่าน : สำหรับบ้านที่มีหน้าต่างกระจก การติดตั้งม่านช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัว และช่วยลดแสงแดดที่ร้อนเกินไป ม่านในห้องนอนเพื่อสุขภาพ เหมาะกับม่านชนิดมู่ลี่ซึ่งทำความสะอาดได้ง่าย ไม่สะสมไรฝุ่น แต่หากชื่นชอบม่านชนิดผ้า ควรเลือกแบบที่สามารถถอดซักได้ง่าย และควรซักทำความสะอาดทุก ๆ 6 สัปดาห์

12. ชั้นวางหนังสือ : การนอนกับการอ่านหนังสือมักเป็นของคู่กัน แต่หนังสือก็มักนำพาฝุ่นมาด้วยเสมอ ภายในห้องนอนจึงไม่ควรมีชั้นวางหนังสือ อาจจัดเก็บแยกไว้ในห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น หรือผนังภายนอกห้องนอน หากจำเป็นต้องอ่านหนังสือก่อนนอน ให้หยิบมาเพียงเล่มที่อ่านจะช่วยลดการก่อตัวของไร่ฝุ่น อีกทั้งยังทำให้ห้องดูเป็นระเบียบอีกด้วยครับ

ทั้ง 12 ข้อนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ห้องนอนของเรา เป็นห้องนอนเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ตื่นมาแล้วต้องจามเป็นหวัดบ่อยครั้ง ยิ่งต้องควบคุมห้องนอนให้สะอาดปลอดโปร่งอยู่เสมอ นอกจากการเลือกชุดเครื่องนอนและออกแบบห้องนอนเพื่อสุขภาพแล้ว การตกแต่งห้องให้ดูเป็นระเบียบสวยงาม ยังเป็นส่วนสำคัญช่วยให้จิตใจผู้อยู่อาศัยรู้สึกเบิกบานใจอยู่เสมออีกด้วยครับ 

เลือกชุดเครื่องนอนเพื่อสุขภาพได้ที่ :  Moxy.co.th

http://credit-n.ru/credit-card-single-tinkoff-platinum.html http://www.tb-credit.ru/zaimy-online.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ความรู้ คู่บ้าน


โพสต์ล่าสุด