เมนู

รีโนเวทบ้านญี่ปุ่น 100 ปี คงคุณค่าสิ่งเดิม เพิ่มความใหม่ให้ลงตัว

รีโนเวทบ้านเก่า 100 ปี

รีโวเวทบ้านเก่าในญี่ปุ่นให้ร่วมสมัยอย่างทรงคุณค่า

เมืองเกียวโตมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน บ้านทุกหลังและต้นไม้ทุกต้นดูมีเสน่ห์ทางวัฒนธรรมที่มีเฉพาะในเมืองโบราณ ภายใต้คลื่นของการสร้างบ้านเรือนใหม่ๆ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น บ้านโบราณได้ถูกดัดแปลงเป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวมากมาย เพื่อในพื้นที่ดึงดูดให้ผู้คนมาเยี่ยมชม อย่างไรก็ตาม “บ้านชิบะ”หลังนี้ค่อนข้างพิเศษ เพราะเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในท้องถิ่นมาอย่างยาวนานจนได้กลายเป็นแลนด์มาร์คไปโดยปริยาย เจ้าของจึงเลือกปรับปรุงใหม่โดยพยายามคงสิ่งดี ๆ เดิมๆ เอาไว้ ใส่ความใหม่ลงไปให้เข้ากัน ซึ่งน่าจะนำมาปรับใช้กับอาคารโบราณของไทยได้เช่นกัน

ออกแบบ : Mandai Architects
ภาพถ่ายYasuhiro Takagi
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

ปรับปรุงบ้านญี่ปุ่นให้ทันสมัยโปร่งสว่าง

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านก่อนการปรับปรุงใหม่ เป็นบ้านญี่ปุ่น 2 ชั้นแบบดั้งเดิมอยู่ตรงกลางที่ดิน โครงสร้างทำจากไม้และหลังคาอิฐให้บรรยากาศแบบชนบท นอกจากนี้ สวนรอบๆ บ้านยังได้รับการดูแลอย่างดีตลอดหลายปีที่ผ่านมา จึงได้กลายเป็นมุมของจิตวิญญาณที่ขาดไม่ได้ของบ้าน  หลังจากพูดคุยกับเจ้าของแล้วทีมสถาปนิกได้ตัดสินใจขยายธีมของสวน รักษาบ้านหลังเก่า และใช้องค์ประกอบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ โดยมีการเพิ่มช่องทางรับแสงหลายจุดเพื่อเปิดบ้านต้อนรับแสงแดด บรรยากาศธรรมชาติ ลดทอนความรู้สึกที่มองไม่เห็นตัวบ้าน แล้วใส่ส่วนต่อเติมออกไปเป็นปีก 4 ด้านมองจากด้านบนเหมือนกังหันลม บ้านทุกจุดเชื่อมต่อกันสะท้อนถึงสิ่งที่เจ้าของบ้านให้มีความหมายว่า “การรวมตัว”

มุมมองหน้าบ้าน

ประตูไม้บ้านชิอิบะซ่อนเร้นอยู่ในความเขียวขจี ก้อนหินและพื้นดินหน้าบ้านยังคงให้ความเป็นญี่ปุ่นโบราณที่ดูอบอุ่นเป็นมิตร

ทางเดินแผ่นหินในสวน

ต่อเติมห้องดื่มชาในบ้านโบราณ

รีโนเวทบ้านญี่ปุ่นโบราณให้ร่วมสมัย

เมือ่เข้ามาภายในแล้วจะเห็นว่าบ้านหลังใหญ่ 2 ชั้นเป็นแกนกลาง ส่วนต่อเติมเป็นพื้นที่หลังคาลาดเอียงขึ้นรอบ ๆ ห้าหลังคา แต่ละหลังมีฟังก์ชั่นการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน และกลายเป็นโครงสร้างใหม่ที่รองรับบ้านหลังใหญ่ ทำให้เกิดเอฟเฟกต์คล้ายกับส่วนค้ำยัน ที่น่าสนใจคือ พื้นที่ใหม่ทั้ง 5 แห่งนี้มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสวนในแง่ของการมองเห็นและในเชิงพื้นที่ รอบบ้านเต็มไปด้วยกระจกสูงจากพื้นจรดเพดาน ซึ่งทำให้ขอบเขตระหว่างในร่มและกลางแจ้งถูกเบลอเข้าด้วยกัน นำแสงธรรมชาติเข้ามาในห้อง และสร้างความรู้สึกโปร่งใสให้บ้าน นอกจากนี้ยังมีทางเดินผนังกระจกเล็ก ๆ ที่นำพาไปยังทุกส่วนของบ้านได้หมด

ห้องชงชาสไตล์ญี่ปุ่น

หลังคาไม้สวยๆ

วัสดุและโครงสร้างบางอย่างของบ้านหลังเก่าได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ เช่น บันไดไม้ ระเบียง ซอก ฯลฯ ล้วนเป็นการออกแบบดั้งเดิม ที่ทิ้งความประทับใจอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านหลังเก่าพร้อมความรู้สึกของเรื่องราวในยุคก่อน บางส่วนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ก็ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างไหลลื่น ด้วยการเลือกวัสดุที่ให้ความรู้สึกเดียวกัน เช่น งานไม้สีธรรมชาติที่ประณีต หลังคาโชว์โครงสร้างไม้ภายในที่พับไปมาเหมือนกระดาษโอริงามิ  การจัดตกแต่งบ้านยึดแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมที่ค่อนข้างเรียบร้อย ชุดโต๊ะและเก้าอี้เรียบง่ายที่มีเส้นเรียบง่ายและสีกลางๆ ในบ้านในท่าทีสบายๆ เผยให้เห็นถึงบรรยากาศสมัยใหม่ที่ละเอียดอ่อน สร้างรูปลักษณ์ใหม่ให้กับบ้านอายุกว่าร้อยปีหลังนี้ ดูมีเสน่ห์ที่องค์ประกอบเก่าอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว

มุมนั่งเล่นดื่มชา

ห้องทานข้าว

บ้านที่ขยายให้ใหญ่ขึ้นมีความสัมพันธ์กับสวนในทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่นที่รายล้อมด้วยต้นออสมันตัส ห้องชงชาสไตล์ญี่ปุ่นอยู่ใกล้กับต้นเมเปิ้ล  ห้องครัวที่มีเพดานสูงที่แสงแดดส่องเข้ามา บ้านที่สว่างไสวด้วยแสงและห้องทำงานที่มองเห็นท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาว ห้องน้ำที่แทรกซึมด้วยแสงอันนุ่มนวล พื้นที่ทั้งห้านี้นอกจากจะเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างบ้านเก่ากับสวนที่สร้างความรู้สึกเปิดกว้างทั่วทั้งอาคารแล้ว ยังเป็นโครงสร้างใหม่ที่รองรับอาคารที่มีอยู่เหมือนครีบยันลอย เป็นผลให้ชั้นแรกของบ้านเดิมเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันแผ่นดินไหวด้วย

บันไดแบบมีชานพัก

บันไดไม้

บางจุดของบ้านใส่ความเชื่อมต่อใหม่ๆ ทำให้การใช้งานไม่ขาดตอน

บ้านโครงสร้างญี่ปุ่นโบราณ

ประตูโชจิเปิดเชื่อมต่อระเบียง

ชั้นบนยังคงความรู้สึกของบ้านแบบญี่ปุ่นเอาไว้ด้วยมูลี่ไม้ที่ช่วยบังแสงตรงระเบียง ประตูโชจิที่กรุด้วยวัสดุโปร่งแสง ส่วนผนังเดิมที่ไม่จำเป็นถูกรื้ออก เพื่อให้บ้านดูดปร่ง และสว่างขึ้น แต่ก็แอบใส่ประตูกระจกเพิ่มที่ระเบียงเพื่อปกปก้องบ้านอีกชั้น ไม่ให้ความชื้นและฝนกระเซ็นมากระทบไม้และกระดาษที่ประตูภายใน ในขณะที่ภายในยังคงรับวิวและแสงได้เท่าเดิม

หน้าต่างกรอบไม้

ห้องน้ำ

ห้องน้ำปรับประยุกต์ใช้ประตูเก่าของบ้านเดิมมาใส่เป็นประตูกั้นโซนอาบน้ำให้ดูเป็นส่วนตัวขึ้น ท่ามกลางความใสของกระจก อ่างอาบน้ำสีขาว ซิงค์ล้างหน้าที่ดูทันสมัย ประตูนี้จึงกลายเป็นจุดเด่นทันที สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าบางครั้งแม้ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในยุคเดียวกัน หรือมีความขัดแย้งกันบ้าง ก็อาจจะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้บ้านได้เช่นกัน

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การรีโนเวทอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์นั้นไม่เหมือนการปรับปรุงบ้านทั่วไป เพราะในงานสถาปัตยกรรมจะซ่อนภูมิปัญญาและงานฝีมือของคนรุ่นก่อนเอาไว้ให้ศึกษา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษณ์เอาไว้ ดังนั้นก่อนการรีโนเวทสถาปนิกต้องทำความเข้าใจกับบ้านก่อน แล้วจึงทำการบ้านให้ดีว่าส่วนไหนควรเก็บเอาไว้ ส่วนไหนที่สามารถรื้อได้ และทำการต่อเติมปรับปรุงด้วยโทนสี วัสดุ หรือถ้าละเอียดกว่านั้นคือใช้องค์ประกอบที่มีเทคนิคคล้ายๆ กัน เพื่อให้บ้านยังคงเสน่ห์และคงความทรงจำเดิมๆ เอาไว้ให้ได้มากที่สุด

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด รีโนเวทบ้าน


โพสต์ล่าสุด