เมนู

5 วิธีเตรียมความพร้อม ต้อนรับการขึ้นค่าไฟช่วงกลางคืน

ประหยัดค่าไฟ

เมื่อ กกพ. ขึ้นค่าไฟ ทางรอดคือการประหยัด

กลายเป็นกระแสวิพากษ์ วิจารณ์ในสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับข่าวการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งหากดูกันคร่าว ๆ แล้ว โดยปกติบ้านเรือนทั่วไปต่างใช้ไฟฟ้าช่วงกลางคืนมากที่สุด ทั้งการเปิดไฟที่จำเป็นต้องมีแสงสว่าง, ดูทีวี, เปิดแอร์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่วนช่วงกลางวันการใช้งานส่วนใหญ่เป็นภาคผู้ประกอบการ ใช้สำหรับทำธุรกิจ บริษัท ห้างร้านต่างๆ เมื่อผลกระทบเกิดขึ้นกับประชาชนส่วนใหญ่จึงเป็นเหตุให้ข่าวนี้ถูกวิจารณ์กันมากเป็นพิเศษ ในเนื้อหาชุดนี้ “บ้านไอเดีย” จึงขอนำแนวทางที่จะช่วยประหยัดค่าไฟในช่วงกลางคืนมาฝากกันครับ

อ้างอิงข้อมูลข่าว จากช่อง 7 สี

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังพิจารณาแนวทางปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ โดยจะเรียกเก็บค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืน เพื่อให้สะท้อนต้นทุนและปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าสามารถประกาศใช้ได้ในปีหน้า ส่วนในช่วงเวลากลางวัน พบว่า ตามอาคารและบ้านเรือนบางส่วน เริ่มนิยมติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มากขึ้น ทำให้ช่วยลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือ  Peak ในเวลากลางวันได้

ประเด็นดังกล่าวอาจยังไม่มีข้อมูลที่จะชี้ชัดได้ว่าจะมีการปรับเพิ่มค่าไฟจริงหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามการเตรียมตัวให้พร้อมแม้ค่าไฟจะไม่ปรับขึ้นย่อมเป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของผู้ประหยัดเองและมีประโยชน์ต่อทรัพยากรโลก


5 แนวทางประหยัดค่าไฟช่วงกลางคืน

1. ใช้หลอดไฟ LED

แม้หลอดไฟ LED จะเป็นที่นิยมกันมา 2-3 ปีแล้ว แต่เชื่อได้ว่าหลาย ๆ บ้านยังคงมีหลอดไฟแบบเก่าใช้กันเป็นจำนวนมาก การเปลี่ยนมาใช้หลอด LED ทั้งหลัง ดูผิวเผินแล้วจะสิ้นเปลืองค่าหลอดในช่วงต้น แต่จากผลการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายโดยรวมตลอดทั้งปี ทำให้พบว่าสามารถประหยัดค่าไฟลงไปมาก ซึ่งเมื่อหักลบกับค่าหลอดไฟแล้ว ไม่ถึง 1 ปีก็คุ้มทุนจากค่าเปลี่ยนหลอด ยิ่งหากค่าไฟช่วงกลางคืนถูกปรับขึ้น จะยิ่งส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้นอีกมาก แต่หากเปลี่ยนมาใช้หลอด LED ซึ่งกินพลังงานน้อย ค่าไฟกลางคืนไม่อาจสะทดสะท้านได้เลย

2. ใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ให้เกิดประโยชน์

ไฟบางจุด ไม่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา เช่น ไฟทางเดิน, ไฟหน้าบ้าน, ไฟในสวน หรือจุดใด ๆ ที่ใช้งานเป็นครั้งคราวแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟที่มีวงจรเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าไปได้มากครับ นอกจากจะลดค่าไฟแล้วยังช่วยเพิ่มความสะดวก เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องกดสวิทช์ เปิด – ปิด แต่ไฟจะติดให้อัตโนมัติเมื่อเดินผ่าน และปิดให้อัตโนมัติเมื่อไม่มีสิ่งเคลื่อนไหวใด ๆ

3. ตั้งเวลาปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินพลังงานไฟฟ้ามากที่สุด คือ แอร์ หากสามารถตัดต้นเหตุของค่าไฟนี้ไปได้รับรองได้ว่าค่าไฟประหยัดลงอย่างแน่นอนครับ สำหรับแอร์รุ่นใหม่ ๆ โดยปกติจะสามารถตั้งเวลา เปิด-ปิด อัตโนมัติได้ ให้ทำการตั้งค่าปิดอัตโนมัติทุก ๆ เช้า เช่น หากปกติผู้อ่านตื่น 6 โมงเช้าทุกวัน ให้ตั้งค่าการปิดแอร์ไว้ช่วงตี 5 ซึ่งจะเป็นช่วงที่อากาศยังคงเย็นสบายพร้อมกับความเย็นภายในห้องยังเก็บสะสมอยู่มาก ระยะเวลาที่แตกต่างกัน 1 ชั่วโมง หากดูแค่วันเดียวดูเหมือนจะน้อย แต่หากนับรวมทั้งเดือนจะเท่ากับ 30 ชั่วโมง และหากนับรวมทั้งปีจะเท่ากับ 365 ชั่วโมง หากผู้อ่านเปิดแอร์คืนละ 8 ชั่วโมง เมื่อนำมาหารกับ 365 ชั่วโมง จะเท่ากับว่าได้หยุดใช้แอร์ไปถึง 45 คืน ประหยัดค่าไฟได้เป็นเดือนเลยครับ

4. ใช้ห้องร่วมกัน

ในอดีตทุก ๆ ครอบครัวจะใช้เวลาก่อนนอนร่วมกันในห้องนั่งเล่น เป็นห้องที่รวมไว้ทุกอย่าง ทั้งทำการบ้าน, ดูทีวี, อ่านหนังสือ, สนทนาพูดคุย นับเป็นช่วงเวลาที่ช่วยเสริมสร้างสายสัมพันธ์ความอบอุ่นให้กับสมาชิกภายในครอบครัว แต่ปัจจุบันหลาย ๆ บ้าน นิยมใช้ชีวิตแยกกันอยู่อย่างเป็นอิสระ ทุก ๆ ห้องนอนมีทีวีหรือมีคอมพิวเตอร์ภายในห้องนอน

การออกแบบบ้านที่ดีมีผลต่อพฤติกรรมของครอบครัว ห้องนอนควรเป็นห้องที่ใช้เมื่อต้องการนอนเท่านั้น ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ออกแบบให้ใช้ภายในห้องนั่งเล่น ห้องอเนกประสงค์ของครอบครัว นอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟได้มากแล้ว ยังเสริมสร้างสายใยรักของครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ

5. เปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นคนปกติ

สำหรับท่านที่ทำงานในลักษณะ Freelance ทั้งด้านกราฟฟิก, งานออกแบบ, โปรแกรมเมอร์ หรืองานใด ๆ ที่สามารถทำได้ในช่วงกลางคืน หันมาปรับเปลี่ยนชีวิตให้ตรงกับเข็มนาฬิกาของธรรมชาติโดยการทำงานช่วงกลางวันแทน ข้อนี้ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่าไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินพยายามครับ ผู้เขียนเองคุ้นชินกับพฤติกรรมการทำงานตอนดึกมานานกว่า 10 ปี ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ ใช้ชีวิตปกติเหมือนคนอื่น ๆ เค้า สิ่งที่ได้คุ้มค่ากว่าที่คิด

เดิมทีคิดไปเองว่า กลางคืนเหมาะกับการทำงานมากที่สุด ในความเป็นจริงแล้วกลางวันเหมาะกว่ามากเพราะสมองได้พักผ่อนเต็มที่ อีกทั้งการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นทำได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ที่อดีตคิดไปเองว่ากลางคืนเหมาะสุดนั้น เป็นเพราะความคุ้นชินในพฤติกรรมเท่านั้น ช่วงแรกเริ่มให้ฝืนร่างกายประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นร่างกายของเราจะค่อย ๆ ปรับตัวให้กลับสู่สภาวะปกติครับ

ติดตามผู้เขียน : facebook.com/AbhisitSuthapradit 

บ้านแบบไหน สถาปนิก วิศวกร ไม่ต้องเซ็น ก็ขออนุญาตก่อสร้างได้

http://credit-n.ru/offers-zaim/joymoney-srochnye-online-zaymi.html http://www.tb-credit.ru/dengi-v-dolg.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ความรู้ คู่บ้าน


โพสต์ล่าสุด