ปรับปรุงบ้านเก่าอย่างเคารพของเดิม
คุณคุ้นเคยกับบ้านแบบนี้หรือไม่? บ้านที่มีสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล หรือตึกเก่าที่ได้รับอิทธิพลจากซีกโลกอื่นๆ ถ้าบังเอิญได้มรดกเป็นบ้านเก่าสไตล์นี้หล่ะ จะถือว่าเป็นโชคดีไหมนะ แล้วจะปรับปรุงให้สวยงามอีกครั้งได้หรือเปล่า คำตอบของคำถามที่ผุดขึ้นมามากมายนี้ ก็คงต้องแล้วแต่มุมมองของเจ้าของและสถาปนิกที่ต้องทำงานควบคู่กัน หากโครงสร้างหลักยังคงดีก็ทำได้แน่นอนครับ อย่างบ้านหลังนี้ก็เป็นงานที่พบเห็นได้ทั่วไปในช่วงทศวรรษ 1960-70 ของพื้นที่เมืองบังคาลอร์ ประเทศอินเดีย ซึ่งเจ้าของได้ทำการปรับปรุงพื้นที่หลายส่วนของบ้าน แต่ก็ยังเคารพกับรูปแบบของบ้านเดิม
ออกแบบ : studio4a
ภาพถ่าย : shamanth patil
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่
บ้านเก่าทรุดโทรมอายุกว่า 60 ปีนี้ ตั้งอยู่บนที่ดินใน Whitefield Bangalore ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตั้งถิ่นฐานของชาวแองโกล-อินเดีย จึงยังมีร่องรอยของยุคอาณานิคมสะท้อนให้เห็นในรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิม ข้อดีของที่นี่คือ ความเงียบสงบของสถานที่และเสียงนกร้องในสวนขนาดใหญ่ ทำให้ความวุ่นวายของชีวิตในเมืองหายไป ชวนให้จินตนาการถึงบ้านสำหรับครอบครัวที่จะลงหลักปักฐาน พื้นที่ยังนี้รายล้อมไปด้วยต้นมะม่วงขนาดใหญ่และต้นมะขาม ทีมงานจึงความพยายามออกแบบบ้านใหม่โดยคำนึงถึงบริบทนี้เป็นหลัก
ทางเข้าจากถนนสู่ทางรถเดินแคบและยาว 21 เมตรพื้นเป็นดิน ถูกปูใหม่ด้วยหินแกรนิตที่นำกลับมาใช้ใหม่ และทางคอนกรีตคลุมด้วยโครงระแนงเหล็ก MS ที่ปกคลุมด้วยไม้เลื้อย thunbergia เพื่อให้ร่มเงาระหว่างทาง โดยมีต้นมะขามเดิมอยู่คู่กันและขนาบด้วยสวนที่สวยงาม
การปรับปรุงตัวอาคารใหม่ได้รับการวางแผนอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงฐานรากที่มีอยู่ เพื่อลดความเสียหายต่อโครงสร้างเดิม และระมัดระวังต้นไม้ที่มีอยู่ให้กระทบน้อยที่สุด นอกต้นไม้เหล่านี้ ยังมีการเพิ่มเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns) ใหม่ 3 ต้น เพื่อรองรับบ้าน ส่วนที่เหลือเป็นผนังรับน้ำหนักที่จะตั้งอยู่บนฐานรากที่มีอยู่ โดยบ้านปัจจุบันหลังปรับปรุงมีห้องนอนสามห้องพร้อมห้องพักสำหรับผู้ดูแล และมีบล็อกบันไดซ่อนสวนส่วนตัวที่ด้านหลัง
บันไดเข้าสู่บ้านผ่านช่องว่างกว้าง 1.2 เมตรระหว่างผนัง 2 ชั้น 2 ด้าน นำไปสู่ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัวแบบเปิดโล่งโถงสูงสองชั้นภายใน
เสาหินรับน้ำหนักเป็นกรอบของห้องทานอาหารและพื้นที่ครอบครัวแบบกึ่งเปิดโล่ง ซึ่งตั้งอยู่เป็นศาลาในสวนหลังบ้าน วัสดุต่างๆ ที่ใช้ตกแต่งภายใน เช่น หินแกรนิต กระเบื้องซีเมนต์ ไม้ กระเบื้องมุงหลังคา ฯลฯ ล้วนจากโครงสร้างเก่าที่นำมาใช้ใหม่และผสมผสานอย่างมีกลยุทธ์กับวัสดุก่อสร้างใหม่ แม้ว่าบางอย่างจะดูไม่เข้ากันนัก อย่างลายกระเบื้องพื้น แต่ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งขอบเขตทางสายตาและบอกพื้นที่ใช้งานที่แยกกันแบบหลวมๆ
แทนที่จะใช้การตกแต่งอาคารแบบเก่า สถาปนิกทำงานสถาปัตยกรรมใหม่แทรกเข้าไปในท่ามกลางวัสดุเดิมๆ เพื่อเพิ่มทั้งความแข็งแรง ลดความร้อน และให้พื้นที่ที่ดูโปร่งสว่างมากขึ้น เช่น ก่ออิฐหนา เจาะเพดานสูงสองชั้น เสาหิน พื้นที่เปลี่ยนผ่านที่ยาว ความสมมาตรในการจัดโครงสร้าง เป็นต้น ดังนั้นบ้านจึงรองรับสิ่งใหม่ ๆ โดยไม่ทิ้งอดีตและสิ่งที่มีอยู่ไปจนหมด ทั้งนี้จุดโฟกัสสายตาในบ้าน คือ ผนังบริเวณพื้นที่โถงสูงในห้องนั่งเล่นที่ทะลุขึ้นไปถึงชั้นบน มีภาพวาดต้นไม้ที่สวยงามฝีมือของศิลปินท้องถิ่นชื่อ Vicky Venkatesh โดยได้รับแรงบันดาลใจจากพืชและนกที่พบในสวน
แสงธรรมชาติสามารถกำหนดอารมณ์ของผู้อยู่อาศัยได้ ไม่เพียงเท่านั้น ยังรวมถึงการสร้างบรรยากาศให้พื้นที่ด้วย บ้านใหม่นี้จึงเต็มไปด้วยช่องเปิดกว้าง ช่วยให้แสงแดดส่องเข้ามาได้อย่างเต็มที่ในบริเวณที่ต้องการ ขณะที่มุมต่างๆ ที่เป็นส่วนตัวมองเห็นใบไม้สีเขียวหนาทึบด้านหลังกำแพง สร้างประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสใหม่ๆ ของการอยู่บ้านได้เป็นอย่างดี
แปลนบ้าน