เมนู

บ้านด้านหลังตัว L เปิดชีวิตอิสระผูกติดธรรมชาติ

บ้านแปลงหัวมุม

บ้านตัว L ล้อมสวนหลังบ้าน

บ้านสำหรับบางคนไม่ใช่ที่อยู่อยู่อาศัยหลบแดดฝนเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ทุกคนในครอบครัวจะโตและแก่เฒ่าไปพร้อม ๆ กัน เมื่อเราอยากให้เด็กในบ้านของเราเติบโตในแบบไหน ก็ควรจัดสภาพแวดล้อมบ้านในแบบนั้น อย่างบ้านในญี่ปุ่นปัจจุบันนี้พ่อแม่จะให้ความสำคัญกับความผูกพันระหว่างคนกับธรรมชาติ การเปิดพื้นที่อิสระให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง และการใช้ชีวิตท่ามกลางสิ่งเรียบง่ายไม่ปรุงแต่งมาก การดีไซน์บ้านจึงเน้นสิ่งที่ว่ามามากกว่าแค่ออกแบบฟังก์ชันให้ใช้งานตามชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป ซึ่งบ้านหลังนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เรียบง่ายแต่คิดมาอย่างดีเพื่อทุกคนในครอบครัว

ออกแบบArbol Design
ภาพถ่ายYasunori Shimomura
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านที่ดูเป็นทรงกล่องพื้นที่ 65.54 ตารางเมตร เหมือนโกดังหลังนี้อยู่ในย่านที่อยู่อาศัยตอนบนของเมือง Takarazuka ประเทศญี่ปุ่น โครงสร้างเป็นวัสดุไม้สน ผนังด้านนอกห่อหุ้มด้วย Galvalume ชั้นในตกแต่งด้วยไม้ซีดาร์ ดูจากข้างหน้าอาจจะรู้สึกเฉย ๆ แต่ถ้าเดินอ้อมไปด้านหลังจะเห็นว่าครึ่งหนึ่งของบ้านเป็นบนทางลาดลงที่ดูนุ่มนวล และเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ลานสวนหลังบ้านมีระแนงโปร่งๆ

เจ้าของบ้านที่มีลูก 2 คนอยากให้ลูก ๆ เติบโตอย่างอิสระและได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดในธรรมชาติ ในวันหยุดอย่างไรครอบครัวนี้จะชอบใช้เวลาด้วยกันไปปิกนิกหรือไปแคมป์มากกว่าการเข้าไปแออัดในเมือง ทำให้วาดภาพในใจว่าบ้านต้องง่าย สะดวก กะทัดรัด แต่เปิดกว้างและเต็มไปด้วยแสง แปลนบ้านจึงถูกสร้างขึ้นด้วยความหวังว่าชีวิตประจำวันจะส่งเสริมให้เข้าถึงความงามของธรรมชาติได้ง่าย บทสรุปจึงอยู่ที่การทำบ้านเป็นรูปตัว L ด้านหลัง มีพื้นที่โล่งหันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ให้วิวท้องฟ้าด้านทิศเหนือ ทำให้เกิดกระแสลมพัดแผ่วเบาเข้าสู่ตัวบ้านตลอดเวลา

ผนังเปิดกว้างเชื่อมต่อสนามหญ้า

พื้นที่ว่างด้านหลังจัดเป็นสวนกว้างๆ ใส่ระแนงเหล็กเป็นระยะ เพื่อบ่งบอกขอบเขตทั้งในแง่ของพื้นที่และทางสายตา สำหรับการจัดสวน จัดภูมิทัศน์ เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ก่อสร้างจะเอียงลงสู่ถนน และมุมมองผู้สัญจรไปมา ทางด้านล่างจะทำเป็นเนินดินเล็ก ๆ คัดเลือกพันธุ์ไม้นานาชนิดที่รอเวลาเติบโต เพื่อให้ง่ายต่อการบำรุงรักษาจึงเลือกใช้กรวดปูโดยรอบช่วยป้องกันไม่ให้ดินไหล กรวดเหล่านี้ไม่ได้มีสีเดียวแต่เลือกหายสีให้รู้สึกเหมือนมีความลึก ให้สัมผัสใกล้ชิดธรรมชาติที่จำลองความอุดมสมบูรณ์ของเนินเขาในทาคาระซึกะมาเก็บไว้ภายใน

ผนังเปิดกว้างมองเห็นสนามหญ้า

ห้องนั่งเล่น ทานข้าวเปิดผนังกว้าง

มาดูในตัวบ้านกับบ้างจะเห็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดเปิดผนังได้กว้างเชื่มอต่อกับลานสวนกลางแจ้ง เป็นพื้นที่สาธารณะ เช่น ห้องนั่งเล่น พื้นที่ทานอาหาร ครัว ด้านหลังเป็นพื้นที่ส่วนตัวสำหรับห้องนอน ห้องสุขา และห้องอื่นอีก 2 ห้อง เมื่อมองผ่านเข้าไปในห้องจากทางเข้า จะเห็นผนังและหลังคาจะมีลักษณะเป็นแนวลาดเอียงด้านหลังจะแหลมขึ้น ทำให้พื้นที่ทั้งหมดมีจังหวะและกว้างขวางมากขึ้น ในวันที่อากาศสบาย ๆ ได้มานั่งดื่มชาร้อน ๆ ปล่อยสายตาออกไปไกล ๆ จะได้ความผ่อนคลายในชีวิตสมัยใหม่ที่เรียบง่ายและอิสระ

ผนังเปิดได้กว้างเหมือนไม่มีผนัง

สถาปนิกให้ความใส่ใจเกี่ยวกับแสงธรรมชาติมากพอ ๆ กับแสงไฟประดิษฐ์ ธีมสำหรับบ้านนี้คือการเปลี่ยนแปลงของเงาจางๆ ตามสภาพอากาศหรือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนตัว ซึ่งตอบโจทย์ด้วยการทำชายคาที่ยื่นออกไปลึก ๆ จากเพดานลาดเอียงนั้น ทำให้แสงเงาที่ตกกระทบพื้นและผนังเป็นไปตามที่ตั้งใจ ไม่กระจายเข้าไปลึกภายในจนทำให้บานร้อน

บ้านผนังกระจกสว่างและอบอุ่น

ห้องครัวถูกจัดวางในมุมสุดของบ้าน มีพื้นที่กะทัดรัดแต่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนเดียวกันกับห้องนั่งเล่น เพราะการจัดแปลนแบบ open plan ไม่มีผนังกั้นแบ่ง สวนรูปตัว L ถูกวางแผนไว้สำหรับการเทางด้านทิศใต้มีที่โล่งกว้างใหญ่ (ประมาณ 5 เมตร) วางอยู่ เสาไม้ 5 ต้นเรียงราย และด้วยผ้าม่านสามารถซ่อนไว้ในผนังปีกชั้นนอกได้ จึงไม่มีการแบ่งแยกระหว่างสวนและห้องนั่งเล่น ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้อย่างชัดเจน ในวันที่แดดจ้า ส่วนหนึ่งของสวนสามารถใช้เป็นเฉลียงคล้ายเฉลียง ผ่านห้องนั่งเล่นไปยังสวน ครอบครัวสามารถเพลิดเพลินและผ่อนคลายในสถานที่ต่างๆ

ครัวขนาดเล็ก

บรรยากาศของบ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมจะสะท้อนออกมาอย่างนุ่มนวลในโครงสร้างพื้นที่ที่เรียบง่ายและทันสมัย ในช่วงเวลาที่สภาพอากาศไม่เป็นใจก็ยังสังเกตและซึมซับธรรมชาติได้โดยที่ไม่ต้องก้าวออกจากตัวบ้าน พอมาถึงช่วงอากาศเย็นสบายก็เพลิดเพลินกับพื้นที่กลางแจ้งได้ทุกวัน จะใช้สำหรับบาร์บีคิวหรือตั้งเต็นท์แคมป์ในบ้านเปลี่ยนบรรยากาศในช่วงที่มีความจำเป็นต้องอยู่ในบ้าน โดยเฉพาะสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้เด็ก ๆ ที่ต้องอยู่บ้านก็ไม่ขาดกิจกรรมสนุกให้ทำ

บรรยากาศบ้านยามค่ำ

บรรยากาศบ้านช่วงค่ำ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : แสงธรรมชาติที่สาดส่องเข้ามาในบ้าน มีส่วนอย่างมากในการลดความชื้น เพิ่มความอบอุ่น และสร้างชีวิตชีวา แต่หากมากเกินไปก็อาจจะทำให้บ้านร้อนอยู่ไม่สบายได้เช่นกัน หากต้องการจะติดผนัง ประตู หน้าต่างกระจก จึงต้องมองหาทิศทางที่รับแสงได้พอดี อาทิ ทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออก ที่แสงจะไม่แรงมากในช่วงกลางวัน ในกรณีที่เลี่ยงไม่ได้ก็อาจมองหากระจกชนิดสะท้อนแสงได้ดี การใส่ฟาซาด หรือทำแนวต้นไม้ช่วยพรางแสง เป็นต้น

บรรยากาศบ้านยามค่ำ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด