เมนู

Living Green บ้านโปร่งรับลมมีต้นไม้เป็นเพื่อนในทุกจุด

แต่งขอบคอนกรีต

บ้านโมเดิร์นทรอปิคอลฟาซาดช่องลม

บ้านแต่ละหลังต่างก็มีความคาดหวัง โจทย์ และปัญหาต่างๆ กันไป ซึ่งแต่ละปัจจัยล้วนมีผลต่อภาพรวมของบ้านทั้งสิ้น อย่างในบ้านขนาด 16 ม. x 24 ม. นี้ เจ้าของบ้านมีโจทย์ให้สถาปนิกไม่กี่ข้อ หลัก ๆ คือ ต้องการบ้านที่เรียบง่ายแต่ทันสมัย สามารถรองรับครอบครัวได้ 6 คนสบาย ๆ และต้องมีพื้นที่สีเขียวที่เข้าถึงง่าย ๆ สำหรับที่ตั้งของมีด้านทิศใต้ติดกับถนนขนาบด้วยที่พักอาศัยสองหลังทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จึงต้องการความเป็นส่วนตัวในด้านนั้น แต่ Buoyant Hue เป็นบ้านที่มีส่วนอยู่ติดกับทุ่งนาเขียวขจี หากจะปิดบ้านไปเลยก็น่าเสียดายวิว ทำให้สถาปนิกต้องลงมือแก้ปัญหาจนเป็นที่มาบ้านที่เต็มไปด้วยช่องว่างอย่างที่เห็น

ออกแบบLaurent Troost Architectures
ภาพถ่าย : Joana França
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านทรงกล่องฟาซาดอิฐสามเหลี่ยม

จากการศึกษาสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ แล้วประมวลเข้ากับความต้องการของเจ้าของบ้าน ทำให้สถาปนิกจัดการปัญหาด้วยการใส่อิฐช่องลมรูปสามเหลี่ยม นำมาประกอบกันเป็นรั้วและฟาซาดที่ประดับด้านหน้า ฉากเจาะรูเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันแสงแดดทางใต้ที่รุนแรง และยังช่วยในการจับลมจากทุ่งใกล้เคียง พร้อมกับรักษาสภาพอากาศภายในให้เย็นขึ้น การออกแบบบ้านยังตอบสนองต่อบริบทเบื้องต้นในขอบเขตบ้านด้วย โดยนักออกแบบรักษาต้นมะพร้าวสองต้นที่มีอยู่ก่อนเอาไว้ซึ่งเพิ่มเสน่ห์ให้กับไซต์ แล้วสร้างตัวอาคารหลบแนวต้นไม้แทนการตัดทิ้ง

โถงทางเข้ามีต้นไม้ให้ความสดชื่น

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

โถงทางเข้ามีต้นไม้ให้ความสดชื่น

ครัวและหห้องทานข้าว

ชั้นล่างประกอบด้วยพื้นที่นั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัว พร้อมด้วยห้องนอนของผู้ปกครองทางทิศตะวันตก ห้องนอนสำหรับแขกทางทิศเหนือ ภายในบ้านโปร่งโล่งด้วยการวางแปลนแบบเปิด (Open Plan) เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ช่องว่างระหว่างพื้นที่จะทำให้การใช้การในบ้านเป็นไปอย่างราบรื่น สถาปนิกใช้วิธีแยกสัดส่วนแต่ละฟังก์ชันออกจากกันอย่างง่ายๆ ด้วยประตูลานเลื่อนที่มีความยืดหยุ่น และฉากก่อกั้นขนาดใหญ่ (แต่ไม่ปิดกั้นแยกเป็นห้องเล็กห้องน้อย) ช่วยเสริมความเปิดกว้างและมุมมองที่แสดงกรอบและแกนห้องแต่เข้าถึงกันได้หมด บริเวณบ้านจึงเต็มไปด้วยแสงธรรมชาติและการระบายอากาศ เน้นประสบการณ์ในการอยู่อาศัยใหม่ๆ ให้ผู้อยู่อาศัย

พื้น Slab ลอยเหนือห้องทานข้าว

จุดที่โดดเด่นแบบต้องมองมาตรงนี้ คือ แผ่นพื้นคอนกรีต (Slab) ที่แขวนอยู่เหมือนจะลอยอยู่เหนือห้องทานอาหาร ไม่ได้เทพื้นหรือใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปวางปิดจนเต็มพื้นที่ การปล่อยให้เหลือที่ว่างเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้มีการไหลอย่างต่อเนื่องระหว่างช่องว่างที่ชั้นล่างกับชั้นบน ช่วยให้การปฏิสัพันธ์ระหว่างชั้นทำได้ดี การไหลเวียนอากาศและแสงเดินทางง่าย นอกจากนี้ความสูงของเพดานที่ต่ำกว่าจุดอื่นๆ ยังช่วยเพิ่มความรู้สึกของความใกล้ชิดและความสะดวกสบายภายในบ้านอีกด้วย

ห้องทานข้าว

บันไดเหล็กโปร่งๆ

แม้จะมีสิ่งที่ชวนสนใจในบ้านหลายจุด แต่ “เสน่ห์” ทั้งหมดของบ้านอยู่ที่ “บันได” ซึ่งทำจากเหล็กเส้นเล็ก ๆ ดัดให้เป็นรูปร่างขั้นบันได ออกแบบให้โปร่ง ๆ เพื่อให้แสงสามารถลอดผ่านเข้าไปตรงลานสวน ที่ปลูกต้นไม้เอาไว้ด้านล่าง ทำให้ต้นไม้ได้รับแสงสำหรับการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลพลอยได้จากเงาที่ตกกระทบ ซึ่งจะเปลี่ยนรูปร่างไปตามการเดินทางของแสง ในระหว่างเดินขึ้นลงก็จะมองเห็นสวนเขียวๆ ให้รู้สึกไปด้วย

ห้องนอนใหญ่สำหรับพ่อแม่

คอร์ทยาร์ดในห้องนอน

สำหรับห้องนอนเราที่เราคุ้นเคย จะเป็นห้องพักผ่อนที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีเตียง มีโต๊ะ และตู้เสื้อผ้า แต่ที่นี่มีลานสวนที่จัดเอาไว้ด้านนอก แต่เชื่อมต่อกับห้องนอนได้ผ่านประตูกระจกบานเลื่อน ทำให้เขตแดนระหว่างกลางแจ้งและในบ้านถูกเบลอให้กลายเป็นพื้นที่เดียวกัน เหนือสวนน้อยๆ นี้ยังเจาะเพดานออกทำช่องแสง skylight เป็นการจำลองสถานที่พักผ่อนตามธรรมชาติแบบส่วนตัว สำหรับคู่สามีภรรยาสูงอายุที่ไม่สะดวกจะออกไปนอกบ้าน

มุมนั่งเล่นที่สวนในห้องนอน

ห้องนอนใหญ่มีห้องน้ำในตัว

ห้องสุขาในห้องนอนใหญ่ได้รับการออกแบบให้มีลานภายในด้วยเช่นกัน จึงมั่นใจได้ว่าจะมีแสงสว่างเพียงพอและไม่ขาดพื้นที่สีเขียว ทุกครั้งที่ใช้งานจึงรู้สึกสดชื่นเหมือนได้อยู่กลางแจ้ง เป็นแนวคิดเพื่อการอยู่อาศัยแบบแนบสนิทกับธรรมชาติอย่างแท้จริง

ชั้นบนเป็นพื้นที่ใช้สอยสำหรับครอบครัวอีกจุดหนึ่ง ประกอบด้วย เคาน์เตอร์บาร์และห้องเอนกประสงค์ พร้อมด้วยห้องนอนใหญ่และห้องนอนเด็ก โทนสีวัสดุทั้งหมดใช้ความเป็นธรรมชาติแบบแทบไม่เติมแต่งคล้ายกับชั้นล่าง อาทิ พื้นหินโกตะ ไม้สัก และเพดานคอนกรีตเปลือยที่เพิ่มความรู้สึกดิบและกว้างขวางให้กับการตกแต่งภายใน อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจคือ การเจาะเพดานออกบางส่วนให้มีช่องว่างใส่ Skylight รับแสงเข้าสู่ตัวบ้านจากด้านบนให้มิติของแสงเงาที่ชวนให้นั่งมองเพิลนๆ

บรรยากาศบ้านยามค่ำ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การจัดการบ้านในเขตร้อนชื้น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีพื้นที่รับแสงเพื่อให้บ้านสว่าง ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างช่องเปิดขนาดใหญ่ สร้างบรรยากาศให้บ้านโปร่ง โล่ง และรับอากาศใหม่ให้เข้ามาหมุนเวียน แต่ในบางจุดที่เจ้าของบ้านต้องการลม แสง แต่ไม่ต้องการเปิดบ้าน เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว ก็สามารถเลือกใช้การใส่ฟาซาดหรือเปลือกบ้านโปร่งๆ อาจจะเป็นแผงผนังอิฐช่องลม บล็อกช่องลมที่ก่อแบบติดตาย หรือเป็นฟาซาดแบบบานระแนง ก็ช่วยแก้ปัญหาที่ว่ามาได้ดี

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ตกแต่งบ้าน


โพสต์ล่าสุด