เมนู

เคบินหุ้มเมทัลชีท สวยเฉียบคมในป่าฝนนิวซีแลนด์

กระท่อมเมทัลชีท

บ้านเคบินเมทัลชีทสีดำ

เคบินขนาดเล็กที่มีหลังคาแหลมสีดำสะดุดตานี้ ตั้งอยู่ท่ามกลางต้นปาล์มนิเคานี้ บนชายฝั่งตะวันตกของเกาะเซาท์ไอแลนด์ของ Aotearoa ประเทศนิวซีแลนด์ แม้จะมีรูปแบบแปลกตาวัสดุเมทัลชีทเส้นสายทันสมัย แต่กลับผสมผสานอยู่ในภูมิทัศน์ป่าฝนเขตร้อนใน BIV Punakaiki อย่างกลมกลืน โครงการนี้เป็นที่พักตากอากาศขนาดเล็กออกแบบโดยสถาปนิก Mitchell Coll of Fabric และเจ้าของทรัพย์สิน Mark Panckhurst เพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนส่วนตัวท่ามกลางธรรมชาติอันเขียวขจีและเงียบสงบ โอบล้อมจังหวะของธรรมชาติและจังหวะชีวิตที่ช้าลง

ออกแบบ : Fabric Architecture
ภาพถ่าย : Stephen Goodenough
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านสไตล์เคบินเมทัลชีท seamless

Biv เป็นอาคารหลังแรกในอาคารหลายหลัง ที่ให้บริการเป็นที่พักระยะสั้นสำหรับนักเดินทางที่เดินทางในชายฝั่งตะวันตก แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบเริ่มจากรูปทรงของอาคารก่อน ซึ่งทีมงานอธิบายว่า เป็นการตีความกระท่อมของคนงานเหมืองทองในอดีตในรูปแบบใหม่ ๆ  โดยมีส่วนยกสูงยื่นออกมาจากแนวหลังคาเลียนแบบปล่องไฟ ส่วนวัสดุก่อสร้างบ้านเลือกสำหรับคาร์บอนต่ำอย่างไม้สีอ่อนๆ เพื่อชดเชยระดับคาร์บอนที่สูงขึ้นจากการใช้พื้นคอนกรีตและวัสดุหุ้มอะลูมิเนียม และยังเป็นการต้อนรับนักเดินทางยุคใหม่อย่างอบอุ่นและกระตุ้นให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ชายฝั่งตะวันตกและนิวซีแลนด์ที่ไม่เหมือนใคร

บ้านสไตล์เคบินเมทัลชีท seamless

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ห้องนั่งเล่นเพดานสูง

ภายในเคบินตกแต่งภายในด้วยไม้เอนจิเนียร์ที่เรียกว่า CLT (ไม้ลามิเนตแบบไขว้) ควบคู่ไปกับภายนอกที่เป็นเหล็กทั้งหมด โครงสร้างที่เป็นฉนวนสูง ช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะรักษาอุณหภูมิภายในให้คงที่ ขณะเดียวกันก็มีประตูกระจกบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่เปิดออกรับลมระบายอากาศได้ดีในฤดูร้อน พร้อมกับมีสกายไลท์ด้านบนที่ดึงแสงเข้าสู่ภายในให้อบอุ่นในฤดูหนาว  ผังห้องแบบเปิดโล่งและหน้าต่างบานใหญ่มอบประสบการณ์รอบด้าน ในขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกน้อยชิ้นก็เพียงพอที่จะให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายในขณะที่ยังคงความสะดวกสบาย

 

ช่องแสงสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมบนหลังคา

ช่องว่างต่าง ๆ และสกายไลท์ที่เอียงไปตามรูปทรงของหลังคา จะทำให้สว่างน้อยกว่าปกติไม่ได้กระจายแสงตรงๆ เข้าสู่ภายใน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลายแบบไม่ร้อนเกินไปในตอนกลางวัน  และดึงความสนใจไปที่ไฟที่แขวนลอยอยู่ตรงกลางที่จะให้แสงเงาเลียบแบบพุ่มไม้ในเวลากลางคืน สร้างบรรยากาศที่งดงามแปลกตา

มุมครัวเล็ก ๆ ชุดครัวสีดำ

มุมนั่งเล่นเล็ก ๆ ชมวิวสวน

ด้วยพื้นที่เพียง 55 ตร.ม. การจัดพื้นที่ภายในจึงต้องเรียบง่ายแต่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แปลนชั้นล่างจึงเป็นแบบ open plan พื้นที่จึงรู้สึกกว้างขึ้น ฟังก์ชันประกอบด้วยห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องครัว ห้องน้ำ และห้องซักรีด ซึ่งเน้นห้องนั่งเล่นให้ใหญ่ที่สุด ส่วนอื่นๆ จึงเล็กกะทัดรัดลงไปตามความต้องการใช้งาน ทั้งนี้จากความสูงของพื้นถึงปล่องหลังคาที่ค่อนข้างมาก ทำให้สามารถแบ่งเป็นชั้นลอยสำหรับพักผ่อนและห้องนอนใต้หลังคาเพิ่มเติมได้หากจำเป็น หรือเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อน นอนดูดาว หรือชมสายฝนของชายฝั่งตะวันตกได้แบบฟินๆ

มุมนั่งเล่นเล็ก ๆ ชมวิวสวน

สำหรับการก่อสร้าง นักออกแบบพยายามใช้เทคนิคเช่นเดียวกับการทำเหมืองรุ่นก่อนโดย  BIV Punakaiki จะสัมผัสพื้นดินน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยการวางแผ่นพื้นคอนกรีตที่แข็งแรงทนทานบนเสาเข็มคอนกรีต เพื่อไม่ให้เป็นการทำลายสภาพแวดล้อมหน้าผิวดิน และยังช่วยให้ลมไหลผ่านได้ลดความชื้นที่จะทำให้ภายในเสียหาย การเชื่อมต่อระหว่างเสาเข็มมีตัวยึดแบบปรับได้จึงสามารถปรับระดับในอนาคตได้ หากต้องการยกเคลื่อนย้ายก็ง่ายขึ้น

ห้องอาบน้ำหน้าต่างกระจก

บ้านโถงสูงมีชั้นลอย

ที่นี่มีเครื่องอำนวยความสะดวกที่ในการใช้ชีวิตประจำวันที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดความสะดวกและสบายมากที่สุด แต่จะไม่มีสิ่งบันเทิงใด ๆ หรือแม้แต่ทีวีที่ทำให้เสียสมาธิ มีเพียงเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นเท่านั้น เป็นการส่งเสริมสุนทรียภาพแห่งการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย และทำให้ผู้อยู่อาศัยจดจ่อกับการรับรู้ถึงการมีอยู่ของทิวทัศน์ที่สวยงามของธรรมชาติที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างเต็มที่

ช่องแสงสกายไลท์มองเห็นวิวท้องฟ้า

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ไม้เอนจิเนียร์ที่เรียกว่า CLT (Cross-Laminated timber) หรือไม้ลามิเนตแบบไขว้ ในประเทศไทยนั้นยังไม่ค่อยรู้จักแพร่หลาย เนื่องจากไทยมีไม้แท้แปรรูปให้เลือกใช้งนาได้มากกมาย แต่ในต่างประเทศจะใช้งานไม้ CLT นี้มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม้แบบนี้ได้มาจากการนำไม้หลายๆ ชิ้น มาเชื่อมอัดเข้าด้วยกาวต่อกันเป็นชั้นเลเยอร์ ในลักษณะครอสแนวขวางสลับกันไปมาในแต่ละชั้นเลเยอร์ ทำให้เนื้อไม้มีความแข็งแกร่งทนทานสูงมากกว่าไม้ทั่วไป ทนไฟได้เป็นอย่างดี การใช้ไม้ CLT แทนคอนกรีตหรือบล็ฮกคอนกรีตยังมีส่วนช่วยในการการดูดซับคาร์บอนจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ ตรงข้ามกับคอนกรีตที่มักจะปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งส่งผลต่อภาวะโลกร้อนอีกด้วย

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด