เมนู

บ้านเก่า บ้านใหม่ใช้หลังคาเมทัลชีท ติดฉนวนกันร้อนแบบไหนดี

ติดฉนวนหลังคาเมทัลชีท

ติดฉนวนกันความร้อนหลังคาเมทัลชีท

กำลังอยู่อาศัยในบ้านหลังเก่า หรือ กำลังวางแผนสร้างบ้านใหม่ ไม่ว่าจะบ้านไหน ๆ ทุกคนต่างต้องการอยู่อาศัยภายในบ้านที่เย็นสบายใช่ไหมครับ โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม – มิถุนายน อากาศจะร้อนจัด บางวันพุ่งสูงกว่า 40 องศา หากออกแบบบ้านมาไม่ดี ไม่มีแนวทางป้องกันความร้อนใด ๆ ภายในบ้านจะยิ่งอบอ้าว เผลอ ๆ ร้อนยิ่งกว่าอากาศภายนอกอีกครับ เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” เอาใจเจ้าของบ้านที่สร้างบ้านด้วยหลังคาเมทัลชีท นำแนวทางการเลือกฉนวนกันความร้อน ทั้งบ้านเก่าที่อยู่อาศัยแล้ว และบ้านใหม่ที่กำลังวางแผนก่อสร้าง

สนับสนุนโดย :BlueScope Thailand

ติดตั้งฉนวนกันร้อนให้บ้านเก่า

การปรับปรุงบ้านหลังเก่า ย่อมมีตัวเลือกน้อยกว่าบ้านใหม่อย่างปฏิเสธไม่ได้ การเลือกติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มภายหลัง จึงต้องพิจารณาจากความเหมาะสมของหน้างาน

บ้านเก่าหลังคาโปร่งสูง

หากบ้านของคุณมีพื้นที่ใต้โถงหลังคาสูง 1 เมตรขึ้นไปและมีจุดต่ำสุดไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ขอแสดงความยินดีด้วยครับ เพราะความสูงระดับนี้ ช่างสามารถปีนขึ้นฝ้าเพดานผ่านช่องเซอร์วิสได้ แนะนำให้เลือกฉนวนกันความร้อนชนิดวางบนฝ้าเพดาน เพราะสามารถติดตั้งได้ไม่ยากหรือหากเจ้าของบ้านคุ้นเคยกับงานช่างอยู่บ้างแล้ว สามารถซื้อมาติดตั้งเองได้เช่นกันครับ

บ้านจั่ว หลังคาเมทัลชีท

จุดสำคัญอยู่ที่โครงคร่าวที่ยึดฝ้าเพดานจะต้องมีความแข็งแรงมากพอที่จะรองรับน้ำหนักฉนวนได้ โดยต้องควรมีระยะห่างของโครงคร่าวหลักประมาณ 80-120 ซม. และระยะโครงคร่าวรอง 30-40 ซม. สามารถใช้ฉนวนกันความร้อนชนิดวางบนฝ้าเพดานได้ อาทิ ฉนวนกันความร้อนวางบนฝ้า Rock Chill , ฉนวนกันความร้อน Stay Cool โดยให้เลือกขนาดความหนา 3 นิ้ว เพราะหากขนาดหนากว่านี้อาจสุ่มเสี่ยงต่อการรับน้ำหนัก เหมาะกับบ้านใหม่ที่ออกแบบโครงคร่าวมาเฉพาะ

บ้านเก่าหลังคาแบน

หากพื้นที่ใต้หลังคามีน้อย จะเหมาะกับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนตั้งแต่ขั้นตอนก่อสร้างเท่านั้นครับ บ้านหลังคาแบนจึงมีข้อจำกัดในการติดตั้งฉนวนมากกว่าบ้านหลังคาสูงโปร่ง แต่อย่าเพิ่งน้อยอกน้อยใจไป แม้จะติดตั้งฉนวนบนฝ้าไม่ได้ อย่าลืมว่าบ้านหลังคาแบนมีองศาต่ำ ทำให้เกิดมุมมองที่บดบังกัน บางคนจึงเรียกบ้านโมเดิร์นว่า “บ้านไม่มีหลังคา” เพราะมองไม่เห็นหลังคาจากภายนอก เมื่อมองไม่เห็นเราจึงสามารถทำอะไรบนผิวหลังคาก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสวยงาม

พ่นฉนวน PU FOAM บนหลังคา
ภาพประกอบ | TOYOKOH

ปัจจุบันมีฉนวนชนิดพ่น PU Foam ที่สามารถพ่นทับบนหลังคาเมทัลชีทได้เลยครับ การพ่นด้วยวิธีนี้ช่างจะปีนหลังคาขึ้นไปแล้วทำการฉีดพ่นฉนวน PU ให้ทั่วบริเวณหลังคา ข้อดีของการพ่นฉนวนพียูบนหลังคา ไม่เพียงแค่ช่วยกันความร้อนได้ แต่ยังช่วยแก้ปัญหาจุดรั่วซึมและแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนขณะฝนตกได้ดีเลยครับ เพราะเม็ดฝนที่ตกลงมาจะกระทบกับพียูโฟมแทน เสียงจึงเบากว่ากระทบลงเมทัลชีทโดยตรงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องแลกมา เนื่องด้วยบนหลังคาต้องรับทั้งแดดและฝน อายุการใช้งานของฉนวนจึงน้อยกว่าการติดตั้งภายใน จึงต้องดูระยะรับประกันของบริษัทรับติดตั้งก่อนตัดสินใจครับ

บ้านใหม่ใช้หลังคาเมทัลชีท

สำหรับบ้านที่กำลังวางแผนเลือกวัสดุในงานก่อสร้าง แนะนำว่าไม่ควรให้ความสำคัญแค่ฉนวนกันความร้อนเท่านั้น แต่ควรคิดให้จบตั้งแต่การเลือกสเปกเมทัลชีทด้วย โดยสเปกมาตรฐานที่เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัย จำเป็นต้องเลือกเมทัลชีทระดับความหนาเริ่มต้น 0.35 มิลลิเมตร ยิ่งหากเมทัลชีทดังกล่าวผ่านการเคลือบสีสะท้อนความร้อน หรือมีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมก็จะยิ่งเพิ่มความสามารถในการป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้นครับ

ทดสอบหลังคา bluescope zacs-cool ด้วย infrared camera

อย่างเมทัลชีท บลูสโคป แซคส์® คูล มาพร้อมกับคุณสมบัติเคลือบสีสะท้อนรังสีความร้อนด้วยเทคโนโลยี Cool Coating ทำหน้าที่สะท้อนรังสีความร้อนออก โดยทางบลูสโคปได้ทำการทดสอบร่วมกับ ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ (ศพว.) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (Thailand Institute of Scientific and Technological Research) ผลที่ได้เย็นกว่าเมทัลชีททั่วไปที่ไม่ผ่านการเคลือบสีด้วยเทคโนโลยี Cool Coating เฉลี่ย 2-4 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ตาม แม้เมทัลชีทจะมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้ การนำเมทัลชีทมาใช้ร่วมกับบ้านพักอาศัยควรติดตั้งฉนวนด้วยเสมอ บลูสโคป แซคส์®  จึงพัฒนาแผ่นเมทัลชีทให้มีคุณสมบัติยึดเกาะกับฉนวนได้ดี ช่วยให้แผ่นฉนวนแต่ละชนิดยึดเกาะได้แน่นขึ้น หนึบขึ้น เพิ่มอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่าเดิม

ฉนวนพียูโฟม (PU Foam) ที่ติดมากับเมทัลชีท

เป็นลักษณะแผ่นโฟมสีขาวเหลือง เกิดจากการผสมทางเคมีก่อเป็นเม็ดโฟมละเอียด มีคุณสมบัติกันความร้อน เก็บความเย็น น้ำหนักเบา มีให้เลือกความหนา 1-3 นิ้ว บ้านที่มีหลังคาสูงโปร่ง สามารถเลือกความหนาพียู 1-2 นิ้ว แต่ถ้าบ้านที่มีหลังคาเตี้ย หรือฝ้าต่ำ แนะนำ ฉนวนพียู 2-3 นิ้ว เพราะจะยิ่งช่วยลดการส่งผ่านความร้อนมายังห้องด้านล่าง  ปัจจุบันพียูโฟมได้รับความนิยมอยากมากได้มีการพัฒนาโดยติดกับเมทัลชีทมาจากโรงงานเลย ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่หลุดล่อนก่อนเวลาอันควร

พียูโฟม หนากี่นิ้วดี

ฉนวนพียู โฟม (PU Foam) พ่นใต้หลังคา

เป็นฉนวนลักษณะเดียวกันกับการพ่นทับบนหลังคา แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องความสวยงามเพราะงานภายในโดยทั่วไปแล้วจะต้องปิดทับด้วยฝ้าเพดานอีกชั้น การติดตั้งพียูโฟมแบบพ่นโดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้ร่วมกับแผ่นเมทัลชีทบางประเภทที่ไม่สามารถติดฉนวน PU Foam แบบทั่วไปได้ เช่น หลังคาทรงพิเศษอย่างหลังคาดัดโค้ง การพ่นจึงแก้ปัญหาได้ดีเพราะสามารถพ่นได้ทุกจุด แต่ก็มีราคาสูงกว่าพียูโฟมที่ติดมากับเมทัลชีทและอายุการใช้งานสั้นกว่าครับ

PU Foam
ภาพประกอบ | ThermoSeal

จุดต้องระมัดระวังหากเลือกพียูโฟมชนิดพ่นคือการเตรียมหน้างาน ควรพ่นให้เสร็จก่อนที่จะเริ่มงานตกแต่งภายในอื่น ๆ เพราะหากไม่ระมัดระวังให้ดี ละอองของโฟมอาจฟุ้งกระจายเกาะติดส่วนอื่น ๆ ของบ้าน จึงต้องคัดสรรช่างมืออาชีพที่ให้ความสำคัญกับความเรียบร้อยสวยงามด้วยครับ

คำถามที่พบบ่อย

  • ติดฉนวนพียู  (PU) แล้ว ใส่ฉนวนวางบนฝ้าด้วยได้ไหม

หากงานออกแบบบ้านใหม่เลือกทรงหลังคาสูงโปร่ง อย่างหลังคาทรงจั่ว ปั้นหยา หรือหลังคาใด ๆ ที่มีพื้นที่ใต้โถงหลังคามากพอ สามารถเลือกติดตั้งฉนวนกันความร้อนชนิดวางบนฝ้าเพดานเพียงอย่างเดียวได้เช่นกันครับ แต่หากงบประมาณไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการเลือกใช้งาน การติดตั้งฉนวน PU Foam ร่วมกับฉนวนชนิดวางบนฝ้า ย่อมได้คุณสมบัติการป้องกันความร้อนดีขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัว อาจใช้งบสูงขึ้นหน่อยแต่ก็คุ้มกับความเย็นสบายที่ได้รับมา

  • ต้องติดแผ่นสะท้อนความร้อนใต้หลังคาด้วยหรือไม่

แผ่นสะท้อนความร้อนจะเหมาะสำหรับหลังคากระเบื้อง หลังคาคอนกรีต ส่วนหลังคาเมทัลชีทมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้อยู่แล้ว และยิ่งเป็นเมทัลชีทเคลือบสีที่มีเทคโนโลยี Cool Coating ติดฉนวนพียูมาพร้อม ก็ไม่จำเป็นต้องติดแผ่นสะท้อนความร้อนเลยครับ

รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์ : zacsroof.nsbluescope.com  | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด