เมนู

กู้ร่วม เทคนิคการขอสินเชื่อ กู้ซื้อบ้าน ให้ผ่านง่ายขึ้น

กู้ร่วม

เพิ่มเครดิตให้สินเชื่อ ด้วยการกู้ร่วม

ช่วงนโยบายกระตุ้นอสังหาฯ จากภาครัฐ เราอาจเคยได้เห็นข้อมูลโปรโมชั่นสินเชื่อบ้าน ผ่านการโพสต์ การแชร์จากสื่อต่าง ๆ หลายธนาคารออกโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ความฝันของคนคิดอยากมีบ้านใกล้เป็นความจริงมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อทำการติดต่อไปยังธนาคารเพื่อทำเรื่องขอกู้ กลับพบว่า.. มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เครดิตของผู้กู้อาจไม่ดีพอ จึงไม่สามารถขอกู้ได้ แต่อย่าเพิ่งท้อถอยกันนะครับ เพราะคอลัมน์ “สินเชื่อบ้าน” ในวันนี้ บ้านไอเดียนำอีกหนึ่งเคล็ดวิธี ที่จะช่วยให้การกู้ซื้อบ้าน เป็นเรื่องที่ผ่านได้ง่ายขึ้น นั่นคือวิธี “กู้ร่วม” นับเป็นวิธียอดฮิตที่ช่วยให้เครดิตการกู้ครั้งดังกล่าวสูงขึ้นได้จริง

เนื้อหา : บ้านไอเดีย

เทคนิคการขอกู้ซื้อบ้าน ให้ผ่านง่าย

การกู้ร่วม เป็นการเพิ่มเครดิต เพิ่มฐานรายได้ให้กับผู้กู้ สามารถกู้ร่วมได้ไม่เกิน 2-3 คน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะกู้ร่วมกับใครได้โดยง่ายนะครับ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนดไว้เท่านั้น ผู้ที่สามารถทำเรื่องกู้ร่วมกับเราได้ โดยปกติทางธนาคารจะกำหนดไว้ ดังนี้

หลักเกณฑ์ผู้กู้ร่วมได้

  • นามสกุลเดียวกัน รวมไปถึงญาติพี่น้อง พ่อแม่ สามีภรรยา ขอให้นามสกุลเดียวกันก็สามารถกู้ร่วมได้ครับ
  • กรณีเป็นพี่น้องคลานตามกันมา แต่อาจเปลี่ยนนามสกุลใหม่ภายหลังเนื่องด้วยจดทะเบียนสมรส สามารถกู้ร่วมได้เช่นกันเพียงแค่นำหลักฐานมายืนยัน อาทิ ทะเบียนบ้าน สูติบัตร เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีพ่อแม่คนเดียวกัน
  • กรณีเป็นสามีภรรยา เป็นคู่สมรสแต่ยังไม่ได้จดทะเบียน ยังไม่ได้เปลี่ยนนามสกุล สามารถยืนยันหลักฐานด้วย ภาพถ่ายงานวิวาห์ หรือหากมีบุตรร่วมด้วยก็จะสามารถยืนยันได้ง่ายขึ้นครับ โดยปกติทางธนาคารจะไม่อนุญาตให้กู้ร่วม หากยังไม่ได้แต่งงานกัน

เกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อ จะได้มากน้อยเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับหน้าที่การงานของผู้กู้และผู้กู้ร่วม โดยทางธนาคารจะพิจารณาไปตามสัดส่วน คำถามต่อมาที่มักพบบ่อยครั้ง เมื่อทำการกู้ร่วมแล้ว กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว จะเป็นของใคร ? ตรงจุดนี้สามารถเลือกได้ 2 กรณี เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กู้หลัก 1 คน หรือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันทุกคน ตรงส่วนนี้อยากให้ผู้กู้พิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะจะมีความแตกต่างกันในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ภายหลัง อาทิ หากผู้กู้ร่วมต้องการยกกรรมสิทธิ์ให้ผู้กู้ร่วมคนเดียวในภายหลัง ทางกรมที่ดินจะถือว่าเป็นการซื้อขายบ้าน ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทั้งค่าโอน ภาษีหัก ณ​ ที่จ่าย ค่าอากรสแตมป์ และภาษีธุรกิจในกรณีถือครองไม่เกินเวลากำหนด แต่หากการกู้ร่วมครั้งนั้นไม่ได้สนิทใจกันมากนัก เช่น กู้ร่วมกับญาติ การถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมเป็นผลดีกว่า

นอกจากนี้การกู้ร่วม ผู้กู้ร่วมควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ เพราะเมื่อได้ทำการกู้ร่วมแล้ว เครดิตของผู้กู้จะถูกลดสัดส่วนไป เพราะทางธนาคารจะมองว่า มีหนี้สินที่ต้องเป็นภาระแล้ว หากต้องการกู้เงินเพื่อใช้จ่ายอื่น ๆ ในภายหลัง จะทำได้ยากขึ้น นอกจากจะปิดบัญชีหนี้ที่กู้ร่วมได้หมดก่อน วิธีการกู้ร่วมจึงเหมาะสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน เป็นคู่สามีภรรยา พี่น้อง หรือเป็นพ่อแม่ลูกกันจะช่วยให้การกู้เป็นไปอย่างสะดวก และโอกาสเกิดปัญหาในภายหลังน้อยมากครับ http://credit-n.ru/blog-listing.html http://www.tb-credit.ru/contact.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด สินเชื่อบ้าน


โพสต์ล่าสุด