เมนู

บ้านหน้าแคบสไตล์จีน แบ่งจังหวะการหายใจให้บ้าน

บ้านสไตล์จีน

บ้านและสวนสไตล์จีนโมเดิร์น

จีน เป็นประเทศแหล่งอารยธรรมต้นๆ ของโลกที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมชัดเจน และยังสืบทอดแนวคิดบางอย่างหลงเหลือให้ได้เห็น ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรม ศิลปะ หรือสถาปัตยกรรม อย่างบ้านหลังนี้ที่ตั้งของโครงการนี้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ภูมิภาคนี้เป็นบ้านเกิดของศิลปะภูมิทัศน์วาดด้วยพู่กันแบบดั้งเดิมของจีน สถาปนิกจึงตั้งเป้าที่จะสะท้อนเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัยและความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย ในขณะที่รักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนในการดำรงชีวิตและละทิ้งตัวเองสู่ธรรมชาติ แทรกจิตวิญญาณของคนจีนที่ยังคงส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น

ออกแบบ : Atelier Lai
ภาพถ่าย : Shengliang SuSu Architects
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
มุมมองคอร์ทยาร์ดผ่านหน้าต่าง

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านหน้าลึกยาว

จากโจทย์ที่เจ้าของต้องการการอยู่อาศัยในธรรมชาติ การมองภาพให้ออกว่าจะสร้างพื้นที่ใช้สอยอย่างไรให้อยู่กับสวนได้ในภาพรวมจึงค่อนข้างสำคัญ ในสมัยโบราณ บ้านสวนแบบจีนจะออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้พื้นที่ใช้สอยในอุดมคติที่สวยงามเหมือนแดนมหัศจรรย์ ในขณะที่บ้านนี้เป็นส่วนหนึ่งของโลกสมัยใหม่ สถาปนิกและเจ้าของบ้านจึงมีคำถามเดียวกันที่จะถามตัวเองว่า ดินแดนมหัศจรรย์ของเราจะมีสภาพความเป็นอยู่แบบไหน? คำถามนี้นำไปสู่ขั้นตอนการออกแบบและสร้างทั้งหมดของโครงการนี้ แต่ด้วยพื้นที่ไซต์มีหน้าแคบและลึกยาวมาก จึงตัดสินใจสร้างการหมุนเวียนตามยาว โดยใส่องค์ประกอบของสวนแทรกระหว่างอาคาร เพื่อสร้างรูปแบบเชิงพื้นที่ที่เต็มไปด้วยมิติของช่องว่าง ที่ทำให้บ้านมีสมดุลของการรับแสง ลม ความลึกและความกว้างที่พอดี

ฮวงจุ้ยในสถาปัตยกรรม

พื้นที่อยู่อาศัยในอุดมคติอาจซ่อนอยู่ในงานหัตถกรรม หรือแม้กระทั่งภาพวาดโบราณ ต้นแบบทางสถาปัตยกรรมของโครงการนี้ส่วนหนึ่งมาจากองค์ประกอบศาลาโล่งๆ แบบดั้งเดิมของจีนที่มีชื่อเรียกว่า “Ting” ซึ่งปกติจะสร้างจากคานไม้ แต่โปรเจ็กต์ปรับประยุกต์ใช้ระบบโครงสร้างเหล็ก เป็นโครงสร้างดัดเหมือนคานไม้แต่มีความทันสมัย ก่อสร้างง่าย และทนทาน คั่นแต่ละส่วนด้วยคอร์ทยาร์ดที่วางไว้ในแต่ละชั้นที่แตกต่างกันของพื้นที่ ทำให้บ้านสามารถรับความสดชื่นจากภายนอกได้จากหลายทิศทาง หลังสร้างเสร็จสถาปนิกได้พบภาพโบราณชื่อ Dongshan Sizhu ที่สร้างมา 700 ปีก่อน ที่สะท้อนให้เห็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันในงานของพวกเขา

ทางเข้าและคอร์ทยาร์ดหน้าบ้าน
จุดเริ่มต้นในการวางแผนออกแบบแปลน ไม่ใช่เลย์เอาต์ที่เป็นการรวมพื้นที่อาคารทึบ ๆ แต่เป็นการช่องว่าง “Void” ที่หมายถึง ทิวทัศน์ที่สวยงามและมีประโยชน์ใช้สอยด้วยไม่ใช่แค่พื้นที่เปิดโล่งออกสู่ท้องฟ้าว่างๆ โดยจะมีการแทรกช่องว่างที่แตกต่างกันในไซต์ตามความต้องการ จากนั้นจึงแยกขอบเขตของภายในและภายนอกในทุก “Void” สุดท้ายจึงได้หน่วยสถาปัตยกรรมสี่หน่วยและลานขนาดเล็กสิบแห่งที่มีขนาดและรูปร่างต่างกัน

เฉลียงกว้างๆ

คอร์ทยาร์ดจัดสวนสไตล์ญี่ปุ่น

ในภูมิภาคทางใต้ของแม่น้ำแยงซี มีประเพณีในการสร้างสวนส่วนตัวที่สวยงามอยู่เสมอ ซึ่งประเพณีนี้ยังคงรักษาไว้ที่นี่ในรูปลักษณ์ที่ต่างไปตามการตีความ สำหรับรูปลักษณ์สวนจะเป็นจีนแบบโมเดิร์นที่มีกลิ่นอายความเป็น ZEN ง่ายๆ เรียบๆ ไม่มีรางน้ำฝนลงจากหลังคา แต่จะเป็นช่องระบายน้ำตรงมุมปลายหลังคา ซึ่งได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ เมื่อฝนตกน้ำจะไหลลงมากระทบสวนหินที่จัดเอาไว้ เป็นภาพที่สวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งเป็นผลจากการรวมตัวของธรรมชาติ (ทั้งฝนและแรงโน้มถ่วง) สร้างแนวป้องกันฝนที่เชื่อมต่อหลังคาและพื้นดินผ่านวิธีที่สวยงามและอ่อนโยน

บ้านโมเดิร์นมีคอร์ทยาร์ด

บ้านหลังคาเพิงหมาแหงนผนังกระจก

มาถึงลักษณะดีไซน์ของตัวบ้านกันบ้าง สถาปนิกมองว่าอากาศทางตอนใต้ของจีนค่อนข้างอบอุ่นในหน้าฝน ผู้คนอยู่ในพื้นที่ภายนอกมากกว่าพื้นที่ภายใน ดังนั้นจึงออกแบบชายคาหลังคาที่ยื่นลึกออกมาแบบเพิงหมาแหงน  ทำหน้าที่กำบังกันฝนและเงาจากแสงแดดโดยตรง ชวนให้สมาชิกออกมานั่งเล่นแบบกึ่งกลางแจ้ง ซึ่งเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เป็นการ “นำเข้า” จากที่อื่น นอกจากนั้นวัสดุยังใช้โครงสร้างอิฐ คอนกรีต หลังคาใช้โครงสร้างเหล็ก ผนังเป็นวัสดุกระจกใสในบริเวณกว้าง หลังคาประกอบด้วยโครงหลังคาสองแผ่นที่หันหน้าเข้าหากันแบบเหลื่อมกัน เพื่อสร้างหน้าต่างที่หันไปทางทิศเหนือ เพิ่มการระบายอากาศและรับแสงแดด

ตกแต่งภายในบ้าน

สถาปัตยกรรมทั้งหมด ประกอบด้วยลานหลายลานที่ทับซ้อนกันผ่านแกนตามยาว โดยมีสามชั้นหลัก ชั้นแรกมีตรงบริเวณที่เชื่อมต่อกับทางเข้า ห้องรับแขกำ และห้องนั่งเล่น ซึ่งออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุร้อยปีให้สามารถชีวิตประจำวันสบาย ๆ ท่ามกลางชุดเฟอร์นิเจอร์ที่คุ้นเคย แต่ความพิเศษอยู่ที่ผนังกระจกรอบด้าน ที่หันไปทางไหนก็เจอสวนโดยที่ไม่ต้องก้าวออกจากบ้าน

ห้องนั่งเล่นผนังกระจกมองเห็นวิวสวนน้ำในบ้าน

ในชั้นที่ 2 จะทำบ่อเก็บน้ำเป็นแกนกลาง โดยรอบเป็นห้องนั่งเล่นส่วนตัว ด้วยรูปร่างของสวนน้ำทำให้และทางเดินทำให้รูปร่างกลุ่มอาคารคล้าย “T” ลึกเข้าไปจากสวนชั้นแรก ในชั้นนี้ มีการวาง “Ting”หรือศาลาเปิดแบบจีนไว้ข้างภูิมทัศน์ของน้ำ ซึ่งสัมพันธ์กับภายในและภายนอก ด้านหน้าและด้านหลังของสวน นอกจากนี้ยังมีผนังด้านยาวอีกด้านแยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากสำหรับแขกแยกออกไปก สำหรับสวนชั้นที่สาม จะเป็นสนามเด็กเล่นและสวนหลังบ้านสำหรับเจ้าของ มีพื้นที่เล่นบาสเก็ตบอลขนาดเล็กด้วย เพื่อรองรับความชอบของทุกคนในบ้าน

บ้านมีคอร์ทยาร์ดและสระน้ำ

บ้านมีคอร์ทยาร์ดและสระน้ำ

พื้นที่เดิมของที่นี่มีสระน้ำเป็นบ่อปลาดินขนาดเล็กตรงหลังบ้าน หลังจากทำบ้านใหม่่ก็ปรับปรุงบ่อเชื่อมกับช่องน้ำทางด้านตะวันออก มีเฉลียงและชานยื่นออกมาให้บ้านเปิดออกสู่ผืนน้ำโดยไม่มีกำแพงล้อมรอบ ต่างจากลักษณะของสวนจีนโบราณที่มักจะเป็นลานกลางบ้านที่ค่อนข้างเก็บเป็นส่วนตัวและล้อมรอบด้วยขอบเขตที่ชัดเจน แต่ที่นี่ต้องการให้ทั้งบ้านและคนได้รับปฏิสัมพันธ์และหายใจจากสภาพแวดล้อม อ่านจังหวะการหายใจที่ส่งมาจากผืนน้ำ ทำให้คำว่าดินแดนสวรรค์เป็นสิ่งที่เข้าถึงง่ายๆ ตามแบบฉบับของคนรุ่นใหม่

คอร์ทยาร์ดจัดสวนสไตล์ญี่ปุ่น

คอร์ทยาร์ดจัดสวนสไตล์ญี่ปุ่น

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การเป็นเจ้าของที่ดินหน้าแคบลึก ที่เรามักเรียกว่าที่ดินรูปร่างเส้นก๋วยเตี๋ยวหรือตะเกียบ จะมีข้อด้อยตรงที่ต้องเรียงตัวอาคารลึกเข้าไป  และยิ่งอาคารลึกยาวต่อเนื่องกันเท่าไหร่ ก็มักจะมีปัญหาเรื่องช่องแสงกลางอาคารและช่องลมไม่เพียงพอกับการใช้งานมากขึ้น รวมถึงปัญหาการไม่เหลือพื้นที่ข้างๆ บ้านสำหรับจัดสวนเท่าที่ต้องการ ซึ่งวิธีแก้ก็สามารถทำได้หลากหลาย เช่น การแบ่งพื้นที่อาคารออกเป็นส่วนๆ แล้วแทรกด้วยลานหรือสวน ทำให้เกิดช่องว่างดักแสงและลมให้กระจายเข้าสู่ตัวบ้านได้ พร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นส่วนตัวให้กับบ้านด้วย

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้านชั้นเดียว


โพสต์ล่าสุด