เมนู

บ้านใจดี แบบบ้านสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ

บ้านใจดี

สร้างบ้านรองรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ

ชีวิตของคนเรา อยู่กับความไม่แน่ ไม่นอน สรรพสิ่งล้วนอนิจจัง แม้ในวันนี้ เราจะมีร่างกายที่แข็งแรง สามารถทำอะไรได้ด้วยตนเองอย่างสะดวก แต่ในวันข้างหน้า หากไม่จากกันไปเสียก่อน เราย่อมแก่ชรา เป็นผู้สูงอายุ หรืออาจเป็นผู้พิการ ก็ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน สำหรับวันนี้ “บ้านไอเดีย” ขอนำ บ้านใจดี ซึ่งได้จัดโชว์ในงานสถาปนิก 56 มาให้คุณผู้ชมที่พลาดชม ได้ชมกันอย่างทั่วถึง โดยแบบบ้านดังกล่าวนี้ จัดแสดงโดย สสส. ออกแบบเป็นบ้านจำลอง สามารถใช้งานได้จริง รองรับการอยู่อาศัยสำหรับครอบครัวที่มีผู้พิการ หรือผู้สูงอายุ ให้ได้มีความสะดวกในการช่วยเหลือตนเองมากยิ่งขึ้น

ผลงานโดย : สสส.
เรียบเรียง : banidea.com

แบบบ้าน สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ

จุดสำคัญจุดแรก ที่ต้องคำนึงเป็นหลัก นั่นคือทางเข้าบ้าน ควรมีทางลาดเอียง โดยให้มีความกว้าง ไม่ต่ำกว่า 90 ซม. และอัตราส่วนความชัน 1:12 กันตก ควรมีขอบรวมถึงราวจับ ทำให้สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น หรือหากมีการทาสี เพื่อแยกส่วนของพื้น และกันตก ก็จะทำให้มองเห็นได้ชัดเจนอีกด้วย

การออกแบบบ้าน เพื่อคนพิการ

แบบห้องนอน ผู้สูงอายุ

ห้องนอน ช่วงขอบขอบหน้าต่าง ไม่ควรให้อยู่สูงจนเกินไป ออกแบบให้สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ปลั๊กไฟ สูงจากพื้นประมาณ 12 ซม. และสูงประมาณ 90 ซม. อีกจุด หากผู้อาศัย ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ควรติดตั้งสัญญาณฉุกเฉินไว้บริเวณหัวเตียง มีไฟใต้เสียงเพื่อความสะดวกในช่วงกลางคืน นำทางสู่ห้องน้ำได้ นอกจากนั้น สีของห้อง ควรเลือกโทนสีฟ้าอ่อน ทำให้รู้สึก เย็น ผ่อนคลาย ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส ลดความเจ็บปวดและอาการนอนไม่หลับ

ตกแต่งบ้าน ผู้สูงอายุ

แบบห้องน้ำ สำหรับผู้พิการ

สำหรับห้องน้ำ ประตูห้องควรเลือกเป็นประตูบานเลื่อน ทำให้ลดอัตราการใช้แรงปลักได้ง่ายกว่าประตูทั่วไป เลี่ยงการทำธรณีประตู เพราะอาจก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้รถเข็นได้ พื้นห้องเลือกวัสดุที่ไม่ลื่น มีพื้นที่เพียงพอสำหรับให้รถเข็นหมุนรอบได้ โดยมีระยะที่เหมาะสม คือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 150 ซม. ติดตั้งราวจับในส่วนของโถส้วม อ่างล้างหน้าหรืออ่างอาบน้ำ โดยติดตั้งสูงจากพื้นประมาณ 70-80 ซม. อ่างล้างหน้า ล้างมือ ควรสูงจากพื้นประมาณ 70-80 ซม. เช่นกัน เพื่อให้ผู้ใช้งาน ไม่จำเป็นต้องลงจากรถเข็นก็สามารถใช้งานได้ และควรทำเคาน์เตอร์ เป็นลักษณะโปร่ง จะช่วยให้รถเข็นสอดเข้าใต้ได้ ส่งผลให้ระยะการใช้งานเป็นไปอย่างเหมาะสม ก็อกน้ำ เลือกเป็นลักษณะคันโยก และที่สำคัญ หากผู้อาศัย ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีนัก ควรติดตั้งอุปกรณ์เตือนสัญญาณ เป็นปุ่มกดสีแดง ไว้บริเวณโถส้วมและอ่างน้ำ

ชักโครก สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ

ชุดสุขภัณฑ์ห้องน้ำ สำหรับผู้พิการ

เครื่องใช้ในห้องน้ำ สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ

การออกแบบห้องน้ำ ในบ้านมีผู้สูงอายุ

ห้องครัว สำหรับผู้สูงอายุ

สำหรับห้องครัว ส่วนของเคาน์เตอร์ ควรมีความสูง และความลึกอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะสามารถให้คนในครอบครัว ได้ใช้ครัวร่วมกันได้ อาจมีความสูงประมาณ 75-85 ซม. เพื่อให้พอดีกับรถเข็น มีชั้นวางของด้านล่าง สูงประมาณ 60-65 ซม.

การออกแบบห้องครัว มีผู้พิการ ผู้สูงอายุ

ตู้เก็บของ ตู้เสื้อผ้า

เป็นอย่างไรบ้างครับ ต้องขอขอบคุณ สสส. ที่นำข้อมูลดีๆ มาให้ชมกัน ทั้งนี้ ข้อมูลตัวเลขดังกล่าว อาจเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้อาศัยด้วย อาจดูสัดส่วนความสูงของร่างกาย แล้วนำไปประยุกต์ใช้งาน ที่สำคัญ คนในครอบครัว ควรให้กำลังใจ มีจิตใจที่เมตตาต่อผู้พิการและผู้สูงอายุภายในบ้าน ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัว อย่าลืมนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ นำไปฝากคนรู้จักกันด้วยนะครับ

ทางเดินลาดเอียง ใช้รถเข็นได้ สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ

แบบบ้านรองรับผู้สูงอายุ

ตัวอย่างแบบบ้านผู้สูงอายุ โดยบริษัท ปันแปลน จำกัด

Link : www.facebook.com/punplan

http://www.tb-credit.ru/kredit.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด