เมนู

สร้างบ้านรองรับแผ่นดินไหว ตอน กฏ 4 ข้อ การก่อสร้างเสา

สร้างบ้านรองรับแผ่นดินไหว

ตอน 2 กฎ 4 ข้อการก่อสร้างเสาในพื้นที่เสี่ยง

อ่านรายละเอียด ตอนที่ 2 กันต่อนะครับ (อ่านตอนที่ 1) สำหรับการสร้างบ้านยุคใหม่ เพื่อรองรับแผ่นดินไหว สำหรับตอนที่ 1 สาเหตุที่บ้านพัง หากคุณผู้ชมได้อ่านก็จะทราบถึงต้นเหตุต่างๆ กันไปแล้ว สำหรับบทความต่อไปนี้ เป็นการวิเคราะห์ถึงระดับความเสียหาย และวิธีก่อสร้างเสา สำหรับบ้านในพื้นที่เสี่ยง หรือพื้นที่ทั่วไปก็สามารถสร้างให้รองรับได้เช่นกัน เพราะบ้าน อยู่กับเราไปอีกหลายสิบปี หรืออาจตลอดชั่วชีวิตของเราก็เป็นได้ การสร้างบ้านไว้เพื่อรองรับแผ่นดินไหว จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ควรมีไว้ทุกบ้านครับ

บทวิเคราห์ : รศ.ดร.อมร พิมานมาศ
ภาพประกอบ :  ดร. ธีระพจน์ ศุภวิริยะกิจ
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

หลักการสร้างบ้าน รองรับแผ่นดินไหว

รศ.ดร.อมร พิมาน รองเลขาธิการสภาวิศวกร และอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิจัยโครงการ “ศึกษาวิธีการออกแบบและเสริมกำลังอาคารในประเทศเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว” โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่สำรวจบ้านเรือนอาคารที่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย ทำให้ได้พบข้อมูลที่สำคัญประการหนึ่งของโครงสร้างอาคาร นั่นคือขนาดของเสาและการเสริมเหล็กในเสา มีส่วนอย่างมากต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยสามารถสรุปได้ 4 ระดับดังนี้

1. ความเสียหายระดับ 4 หรือรุนแรงมากที่สุด: บ้านที่ใช้เสาปูนไม่ได้มาตรฐาน เช่น เสาขนาดเล็กกว่า 20 ซม. หรือเสริมเหล็กแกนไม่ครบ 4 เส้นตามมาตรฐาน จะพังถล่มโดยสิ้นเชิง เช่น เสาหัก หรือขาดจากกัน ทำให้บ้านทรุดและพังถล่มลงมา

2. ความเสียหายระดับ 3 หรือรุนแรงมาก: บ้านที่ใช้เสาปูนขนาด 20 ซม. เสริมเหล็กแกน 4 เส้นขึ้นไป แต่เสริมเหล็กปลอกขนาด 4 มม. มีระยะเรียงระหว่างเหล็กเท่ากับ 20 ซม. จะเกิดความเสียหายที่ปลายบนและปลายล่างของเสาอย่างรุนแรง คอนกรีตแตกระเบิดออก เหล็กปลอกง้างหลุด เหล็กแกนโก่งงอ บิดเบี้ยว แม้ว่าอาคารจะยังไม่พังถล่ม แต่พื้นชั้นสองอาจทรุดตัวแล้ว ดังนั้นต้องรีบซ่อมแซมและเสริมเหล็กใหม่แทนที่เหล็กเดิมที่คดงอโดยเร็ว

3. ความเสียหายระดับ 2 หรือปานกลาง: บ้านที่ใช้เสาปูนขนาด 25 ซม. เสริมเหล็กแกน 4 เส้นขึ้นไป แต่เสริมเหล็กปลอกไม่พอ คือ ใช้เหล็กปลอกขนาด 4 มม. มีระยะเรียงระหว่างเหล็กปลอกเท่ากับ 25 ซม. เกิดความเสียหายที่ปลายบนและปลายล่างของเสาปานกลาง คอนกรีตไม่ถึงขั้นแตกระเบิด มีเฉพาะคอนกรีตส่วนเปลือกที่หลุดออกมาบ้าง อาจสังเกตเห็นเหล็กเสริมได้แต่เหล็กเสริมยังไม่คด จัดเป็นความเสียหายที่เปลือกคอนกรีตเท่านั้น สามารถซ่อมแซมได้โดยฉาบปูนเกร๊าทเข้าไปในบริเวณที่เสียหาย

4. ความเสียหายระดับ 1 หรือเล็กน้อย: บ้านที่ใช้เสาปูนขนาด 30 ซม. เสริมเหล็กแกน 4 เส้นขึ้นไป แต่เสริมเหล็กปลอกขนาด 6 มม. มีระยะเรียงเหล็กปลอก 30 ซม. ได้รับความเสียหายที่ปลายบนและล่างเพียงเล็กน้อย แค่ผิวคอนกรีตหลุดถลอกออกมา ไม่กระทบต่อโครงสร้าง สามารถซ่อมแซมได้โดยฉาบปูนเกร๊าท์เข้าไปในบริเวณที่เสียหาย สามารถใช้งานโครงสร้างได้ดังเดิม

ปรับโครงสร้างบ้าน ให้รองรับแผ่นดินไหว

จากการวิเคราะห์โครงสร้างที่ได้รับความเสียหาย พบว่าปัจจัยที่สำคัญต่อความแข็งแรงของโครงสร้างบ้านปูน คือเสาอาคาร ดังนั้นจึงขอแนะนำกฎ 4 ข้อ สำหรับการก่อสร้างเสาบ้านปูนในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหว ดังนี้

กฏ 4 ข้อ สำหรับการก่อสร้างเสาบ้าน

1. เสาของบ้านปูนที่มีความสูง 2 ชั้น ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 20-25 ซม. และขนาดไม่น้อยกว่า 30-35 ซม. สำหรับความสูง 3 ชั้น

2. เหล็กแกนในเสาต้องไม่น้อยกว่า 4 เส้น หากใช้ 6 เส้นหรือ 8 เส้นจะดีมาก และขนาดของเหล็กแกนต้องไม่เล็กกว่า 12 มม. หากใช้เหล็ก 16 มม. ได้ยิ่งดี เพื่อให้เหล็กไม่คดงอได้ง่ายเมื่อคอนกรีตกะเทาะหลุดออก

3. เหล็กปลอก สำหรับบ้าน 2 ชั้นควรใช้ไม่น้อยกว่า 6 มม. พันรอบเหล็กแกนเสาให้มีระยะเรียงไม่เกิน 7.5 ซม. ส่วนบ้าน 3 ชั้นควรใช้เหล็กปลอกไม่น้อยกว่า 9 มม. พันรอบเหล็กแกนให้มีระยะเรียงไม่เกิน 7.5 ซม. ตำแหน่งที่พันเหล็กปลอกถี่นี้ให้วัด 50 ซม. จากปลายบนและปลายล่างของเสา ส่วนตรงกลางเสาให้ใช้ระยะเรียงเหล็กปลอกเป็นสองเท่าหรือ 15 ซม. ได้

4. เสาตอม่อ หรือเสาใต้ถุนบ้าน ควรมีขนาดใหญ่กว่าเสาชั้นบนด้านละ 5 ซม. และควรเสริมเหล็กปลอกให้ถี่ตามข้อ 3 ตลอดความสูงเสา http://www.tb-credit.ru/articles.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ความรู้ คู่บ้าน


โพสต์ล่าสุด