เมนู

บ้านหลังคาจั่ว สร้างเหลื่อมลดหลั่นเพื่อแสงและสวน

สร้างบ้านหลังคาจั่ว

บ้านหลังคาจั่วโมเดิร์น แนวลึกแต่ไม่ขาดแสง

การสร้างบ้านในญี่ปุ่นไม่เพียงแต่ต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้อยู่อาศัย สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศแล้ว ยังพิจารณาไปถึงภูมิทัศน์ของชุมชุนด้วย ซึ่งในแต่ละชุมชนก็จะมีเอกลักษณ์ของอาคารที่อยู่มาก่อน ดังนั้นสถาปนิกที่ต้องการสร้างบ้านใหม่ ๆ จึงต้องทำการบ้านมากขึ้น เช่นเดียวกันกับบ้านโมเดิร์นหลังนี้ในโตเกียว ที่พยายามตีความบ้านแบบดั้งเดิมด้วยวิธีการใหม่ ภายใต้กรอบของบ้านที่ทันสมัยแต่ต้องกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมของชุมชน ซึ่งบทสรุปที่ได้คือการกลับไปสู่สถาปัตยกรรมสามัญพื้นฐานที่สุดอย่าง “Primitive Hut” บ้านหลังคาหน้าจั่วตามทฤษฎีของ Laugier ดูจะเข้าที่เข้าทางที่สุด

ออกแบบAlphaville Architects
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านหลังคาจั่วโมเดิร์น

คลิกที่ภาพ เพื่อรับชมภาพขยายใหญ่

บ้านหลังคาจั่วโมเดิร์น

บ้านหลังคาจั่วโมเดิร์น ลบข้อด้อยอาคารแนวลึกที่ขาดแสง

บ้านสีเทาหลังคาจั่วเรียบ ๆ ง่าย ๆ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นหลังนี้ มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 158 ตารางเมตร เป็นผลงานจากความคิดดังกล่าวข้างต้น ที่ต้องการความทันสมัยในแบบที่เข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมดั้งเดิมด้วยการลดทอนรายละเอียดให้เหลือเป็นรูปร่างที่เรียบง่าย แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทีมงานพบหลังจากศึกษาลักษณะที่ดินผืนนี้คือ เนื้อที่ดินหน้าแคบลึก หากสร้างเต็มพื้นที่ยาวลึกเข้าไป หลังคานี้จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อทิศทางของบ้านและมีปัญหาการกระจายของแสงแดดภายในบ้านที่จะรับได้เฉพาะด้านหน้า จึงต้องต้องแก้ปัญหาส่วนนี้ด้วยการแบ่งตัวบ้านแล้วขยับออกมาให้เหลื่อมกัน


โมเดลบ้าน

โมเดลบ้านที่จำลองลักษณะการแบ่งและจัดวางตัวอาคาร

จากโมเดลบ้านจะเห็นได้ว่าแทนที่จะสร้างบ้านให้ลึกยาวเป็นเส้นตรง ทีมงานคิดแก้ไขปัญหาเรื่องการกระจายแสงและการเพิ่มสเปซสวนนอกบ้าน ด้วยการตัดแบ่งอาคารออกเป็น 4 ก้อน แล้วจับมาวางบิดเบี่ยงองศาให้มีความเหลื่อมและลดหลั่นความสูง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้บางส่วนของบ้านยื่นเลยออกมาทำให้แสงกระจายเข้าไปได้ทั่วถึง ในขณะที่มีพื้นที่ว่างด้านข้างอาคารเหลือเป็นจุด ๆ ใช้สำหรับจัดสวนได้ด้วย แม้ว่ารูปลักษณ์หน้าตาของบ้านจะต่างจากหลังอื่นไปสักหน่อย แต่ก็ช่วยแก้ไขปัญหาและเสริมฟังก์ชั่นที่เหมาะสมให้บ้านได้อย่างน่าชื่นชม

ลานกรวดหน้าบ้าน

ครัวไม้สว่างด้วยผนังกระจก

หมุนเบี่ยงอาคาร ใส่ผนังกระจกเพื่อเปิดรับแสง

อาคารที่เป็นศูนย์กลางของบ้าน มีห้องครัวและพื้นที่รับประทานอาหาร ซึ่งจะหมุนเบี่ยงอาคาร 30 องศา แล้วใช้ “กระจก” มาเป็นวัสดุผนัง ประตู และหน้าต่าง ซึ่งทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถมองเห็นพื้นที่ชั้นหนึ่งและชั้นสองของบ้านสองหลังที่อยู่ติดกันได้อย่างต่อเนื่อง หลังคาที่เป็นจั่วสูงทำให้บ้านรู้สึกถึงความโปร่งโล่งสบายเต็มไปด้วยแสงธรรมชาติ และเปิดวิสัยทัศน์เชื่อมปฏิสัมพันธ์ได้ทุกด้าน

บ้านโทนสีขาวโปร่งสว่าง

ด้วยโครงสร้างของบ้านที่มีรูปร่างแปลกออกไปคือไม่เป็นเส้นตรง การจัดวางเฟอร์นิเจอร์จึงต้องปรับให้เข้ากันได้กับตัวบ้าน โดยการบิวท์เคาน์เตอร์ครัว โต๊ะทานอาหาร ให้เป็นรูปร่างคล้ายบูมเมอแรงตามลักษณะของห้อง เพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับสัญจรมากขึ้น โทนสีที่ใช้ก็เน้นความสว่างของสีขาวเป็นหลักแทรกด้วยงานไม้สีน้ำตาลเข้ม ให้ความรู้สึกอบอุ่นและเป็นมิตร

บ้านตกแต่งไม้สีเข้ม

การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและความสูงที่แตกต่างกันของบ้านแต่ละหลัง ทำให้สถาปนิกสามารถสร้างพื้นที่นั่งเล่นและพื้นที่อ่านหนังสือที่มีแสงธรรมชาติส่องเข้ามาอย่างเต็มที่ ใส่ความเชื่อมต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างบ้านแต่ละหลังบ้าน สวน และพื้นที่โดยรอบ

ห้องนั่งเล่นตกแต่งไม้

ช่องแสงขนาดใหญ่

มุมมองจากชั้นลอยลงมาจะเห็นลักษณะการจัดจังหวะช่องแสงขนาดใหญ่ที่มีทั้งด้านบนและด้านข้าง  การแบ่งซอยพื้นที่ใช้งานให้สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แบบร่วมสมัย เป็นความเรียบง่ายที่เน้นเรื่องการใช้งานมาก่อน

ผนังกระจกมองเห็นสวน

มุมทานอาหารที่ติดกับสวนกรวดกลิ่นอาย Zen แสนสงบ นั่งทานอาหารในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ทำให้ทุก ๆ วันเป็นวันดี ๆ แม้จะไม่มีของตกแต่งหรูหรารอบ ๆ กาย

บ้านหลังคาจั่วโมเดิร์น http://credit-n.ru/offers-zaim/bistrodengi-zaymi-online-nalichnymi.html http://www.tb-credit.ru/zaim-bez-otkaza.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด