ต่อเติมหลังคาโรงจอดรถ
ปัญหาที่พบบ่อยในงานออกแบบโรงจอดรถ โดยเฉพาะบ้านในโครงการจัดสรร มักออกแบบให้โรงจอดรถมีระยะที่สั้นเกินไป ส่งผลให้การใช้งานจริงพื้นที่จอดรถไม่เพียงพอ และเมื่อฝนตก ลมพัดแรง ฝนจะสาดเข้ามาภายในโรงจอดรถ ซึ่งไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริงครับ
เจ้าของบ้านจึงมองหาวิธีแก้ปัญหาด้วยการต่อเติม แต่ด้วยข่าวเหตุการณ์หลังคาพังถล่มมีให้เห็นบ่อยครั้ง หลายท่านจึงอาจกังวลว่า หลังคาที่ให้ช่างมาต่อเติมจะมีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” นำแนวทางการออกแบบเบื้องต้น พร้อมกับนำตัวอย่างงานต่อเติมเพิ่มหลังคาโรงจอดรถมาฝากครับ
สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand
ติดตั้งโดย : ช่างนุ
เนื้อหา | ถ่ายภาพ : บ้านไอเดีย
สิ่งต้องคำนึง เมื่อต่อเติมหลังคาโรงจอดรถ
สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือระยะของหลังคาที่ต้องการต่อเติม หากงานต่อเติมมีระยะความลึกมากกว่า 2 เมตรขึ้นไป แนะนำให้ต่อเติมแยกจากโครงสร้างเดิมครับ เพราะระยะที่มากกว่า 2 เมตร น้ำหนักหลังคาจะค่อนข้างมากหากต่อเติมยึดกับโครงสร้างเดิม จะส่งผลให้น้ำหนักของงานต่อเติมดึงรั้งตัวบ้าน อาจทำให้โครงสร้างบ้านได้รับความเสียหาย หรือหลังคาส่วนต่อเติมพังถล่มลงมาได้ การต่อเติมลักษณะนี้จึงควรแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้าน โดยทำการเพิ่มเสาอย่างน้อย 4 ต้น พร้อมกับให้วิศวกรคำนวณแบบโครงสร้างตามขนาดของโรงจอดรถนั้น ๆ
แต่หากเป็นงานต่อเติมเล็ก ๆ อย่างบ้านในเนื้อหานี้ เป็นบ้านสร้างใหม่ที่เจ้าของบ้านได้อยู่อาศัยมาแล้วประมาณ 1 ปี เมื่อผ่านฤดูฝน เจ้าของบ้านเริ่มเห็นปัญหาฝนสาดเข้ามาในโรงจอดรถ เนื่องด้วยโรงจอดรถเดิมมีระยะลึกเพียง 3.2 เมตร ซึ่งหากเทียบกับขนาดมาตรฐานรถยนต์ทั่วไป มักมีขนาดความยาวประมาณ 4.5 เมตร ระยะโรงจอดรถที่เหมาะสมจึงควรมีความลึก 5 เมตรขึ้นไป
ต่อเติมหลังคาโรงจอดรถเพิ่ม แก้ปัญหาฝนสาด
การต่อเติมหลังคาโรงจอดรถเพื่อแก้ปัญหาฝนสาด จึงต้องการพื้นที่หลังคาเพิ่มเพียง 1.8 เมตร คุณเนสเจ้าของบ้านจึงติดต่อช่างนุ เป็นช่างเฉพาะทางที่เน้นรับงานต่อเติมหลังคา ทั้งหลังคาจอดรถยนต์ หลังคาครัวไทย หลังคาระเบียงหรืองานกันสาดต่าง ๆ ภายใน จ.เชียงใหม่
หลังจากช่างนุได้เข้ามาดูหน้างาน สำรวจตรวจเช็คแล้วว่า ระยะที่คุณเนสต้องการต่อเติมเพิ่ม มีพื้นที่เพียง 1.8 เมตรเท่านั้น จึงแนะนำให้เพิ่มเสาด้านหน้าเพียง 2 ต้น โดยใช้เหล็กกล่องขนาด 3×3 นิ้ว หนา 2.3 มม. พร้อมกับเลือกวัสดุหลังคาน้ำหนักเบาอย่างเมทัลชีท ด้วยความที่คุณเนสไว้วางในแบรนด์ บลูสโคป จึงระบุสเปกเป็นเมทัลชีท บลู
อีกจุดสำคัญในงานติดตั้งหลังคาเมทัลชีท คือ ระยะจันทันและแปหลังคา โดยจันทันหลังนี้ใช้เหล็กกล่องวางเว้นระยะห่างประมาณ 70 ซม. และแปเหล็กกล่อง เว้นระยะห่าง 70 ซม. เช่นกัน ทั้งนี้ ระยะห่างของแปหลังคาเมทัลชีทที่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับความหนาของแผ่นเมทัลชีท ดังนี้
- เมทัลชีทหนา 0.30 มม. ระยะแปห่างไม่เกิน 1 เมตร เนื่องจากแผ่นเมทัลชีทมีความบาง จะมีการอ่อนตัวได้มากกว่า ระยะแปที่รองรับจึงควรมีความถี่มากพอ
- เมทัลชีทหนา 0.35 – 47 มม. แนะนำให้วางแประยะไม่เกิน 1.2 เมตร
- เมทัลชีทหนา 0.47 มม. ขึ้นไป สามารถวางระยะแปได้ถึง 1.5 เมตร เนื่องจากแผ่นมีความหนาจึงมีความแข็งแรงสูง
บลูสโคปของแท้ ต้องมีปั๊มตราทุกแผ่น
มุมมองหลังคาโรงจอดรถจากชั้นบน
นอกจากหลังคาโรงจอดรถยนต์แล้ว คุณเนสยังให้ช่างนุต่อเติมหลังคาครัวไทยนอกบ้าน โดยใช้สเปกหลังคา บลูสโคป แซคส์ คูล เช่นเดียวกับโรงจอดรถ แต่ด้วยพื้นที่ครัวเป็นจุดที่ใช้งานเป็นเวลานาน แตกต่างจากพื้นที่จอดรถที่เพียงแค่เดินผ่าน คุณเนสจึงขอเพิ่มฉนวน PU ขนาด 1 นิ้วพร้อมติดตั้งแผ่นสะท้อนรังสีความร้อนใต้หลังคา ช่วยให้ใต้หลังคาดูเรียบสวย ไม่จำเป็นต้องปิดฝ้าทับ และเย็นกว่าการไม่ติดฉนวนใด ๆ ครับ
สรุป
งานต่อเติมหลังคาโรงจอดรถ หรือหลังคาอื่น ๆ สิ่งสำคัญคือการเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบาอย่างเมทัลชีท เพราะน้ำหนักที่เบาจะช่วยลดภาระงานโครงสร้างได้ดี ทั้งยังติดตั้งง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าหลังคาชนิดอื่น ๆ โดยขนาดเมทัลชีทที่เหมาะสมสำหรับงานภายนอก ควรมีความหนาเริ่มต้น 0.35 มม.
ส่วนงานโครงสร้าง สามารถทำได้ 2 แบบ ตามขนาดงานต่อเติมนั้น ๆ
- งานต่อเติมระยะไม่เกิน 2 เมตร สามารถใช้เสารับน้ำหนัก 2 ต้น ส่วนอีกด้านสามารถยึดกับคานบ้านได้
- งานต่อเติมระยะมากกว่า 2 เมตร จำเป็นต้องแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้าน โดยให้มีเสารับหลังคาทั้ง 4 ด้าน หากโรงจอดรถมีขนาดกว้างพิเศษ อาจมีเสามากกว่า 4 ต้น และควรให้วิศวกรคำนวณโครงสร้างให้ก่อนเสมอครับ
ผู้อ่านท่านใดสนใจหลังคาเมทัลชีท บลูสโคป แซคส์ คูล (BLUESCOPE Zacs® Cool) วัสดุหลังคาที่มีเทคโนโลยี Cool Coating ช่วยสะท้อนความร้อน พร้อมรับประกันไม่ผุจนทะลุยาวนานถึง 12 ปีและการรับประกันสีไม่ซีดจาง 5 ปี สามารถศึกษาข้อมูลวัสดุหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญจากบลูสโคป ได้โดยตรงที่
รายละเอียดเพิ่มเติม
เว็บไซต์ : zacsroof.nsbluescope.com | แฟนเพจ : BlueScope Thailand