เมนู

บ้านเด่นเมื่ออยู่บนเนิน สูงกว่า มุมมองไกลกว่า

บ้านบนเนินหลังคาจั่ว

สร้างบ้านบนเนิน

การสร้างบ้านบางครั้งก็ไม่สามารถทำตามใจตัวเองได้ทั้งหมด ยิ่งสร้างในเมืองใหญ่แต่ละชุมชนก็จะมีการกำหนดกติการ่วมกันหรือเป็นกฎหมาย เพื่อให้ทุกบ้านปฏิบัติอย่างเท่าเทียม สร้างความสวยงามและสงบสุขไม่มีเรื่องกระทบกระทั่งกันในชุมชน ตัวอย่างเช่น ความสูงของอาคาร ระยะร่น ที่จอดรถ การต่อเติมต่าง ๆ บางประเทศก็มีกฎหมายการห้ามมีรั้ว การดูแลหน้าบ้านแต่ละหลังให้สวยงาม บ้านในญี่ปุ่นก็มีแนวคิดในการอยู่ร่วมกันในแบบของตัวเองที่บางครั้งไม่จำเป็นต้องบอก ไม่ต้องตราเป็นกฎหมาย แต่มีวิธีการใช้เมืองและบ้านตามธรรมเนียมอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าโดยไม่รู้ตัว

ออกแบบHAA
ภาพถ่ายYosuke Ohtake
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านหลังคาจั่วบนเนิน

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านหลังคาจั่วยกพื้นบนเนิน

บ้านหลังนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของย่านชุมชนในจังหวัดโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ที่มีความพิเศษตรงตั้งอยู่บนทางลาดเล็กน้อยระหว่างแม่น้ำ Funahashi และ Hotani การมีพื้นที่แบบนี้ทำให้นักออกแบบเลือกที่จะวางตัวอาคารส่วนนหึ่งไว้บนเนอน แล้วยกพื้นที่ข้างๆ ให้อยู่เหนือระดับพื้นดินเท่ากับตัวเนินโดยไม่ทำการเกลี่ยปรับหน้าดิน การออกแบบนี้ทำให้เกิดความต่างระหว่างถนนกับบ้าน และมีระยะห่างมากพอที่จะใช้จอดรถหน้าบ้าน แถมยังมีที่เหลือให้ข้างบ้านใช้จอดร่วมกันได้ด้วย สร้างความน่าสนใจของเมืองและวิถีชีวิตชุมชนทั้งในแง่การออกแบบและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน

เฉลียงนั่เล่นหน้าบ้าน

ตำแหน่งหลักสำหรับการอยู่อาศัยมีการวางแผนให้อยู่บนรากฐานระดับ 1.200 เมตรเหนือถนน มีบันไดเพื่อสร้างการเชื่อมต่อที่นุ่มนวลจากถนนไปยังตัวบ้าน แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ภายในจะมีจุดแวะพักที่เฉลียงด้านหน้าบ้านไว้ใกล้กับต้นไม้เพื่อสร้างพื้นที่กึ่งภายนอกที่สะดวกสบาย สำหรับนั่งเล่นรับแสงชมวิว ทักทายเพื่อนบ้านที่ผ่านไปมา ด้วยความสูงของเนินทำให้เจ้าของบ้านได้รับมุมมองที่สูงขึ้นและเห็นได้ไกลขึ้นด้วยเช่นกัน ที่ว่างหน้าบ้านจะปูด้วยกรวดเพื่ออำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงการทำงานในอนาคตและไม่ทำให้พื้นเลอะเทอะเมื่อเจอฝนหรือรดน้ำเวลทำสวน

ประตูกระจกเชื่อมต่อเฉลียง

ผ้าม่านฝ้ายสีขาวโปร่ง ๆ

เฉลียงนั่งเล่นจะเชื่อมต่อกับตัวบ้านผ่านผนังกระจกเป็นทั้งตัวช่วยแบ่งกั้นภายนอก-ภายใน ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เบลอขอบเขตเพิ่มอิสระทางสายตา ให้สามารถมองออกไปเห็นความเคลื่อนไหวด้านหน้าโดยไม่ต้องออกไปข้างนอก สำหรับช่วงเวลาที่ต้องการความเป็นส่วนตัวหรือปกป้องพื้นที่ภายในจากแสงแดดในช่วงกลางวัน ก็เพียงแค่เลื่อนผ้าม่านโปร่ง ๆ มาปิดเอาไว้ก็เรียบร้อย

ผนังกระจกติดผ้าม่านโปร่ง ๆสีขาว

ตกแต่งบ้านด้วยไม้สีอ่อนๆ

มุมนั่งเล่นชั้นล่างใต้ชั้นลอย

บ้านตกแต่งด้วยไม้

พื้นที่ใต้หลังคานอกจากจะสร้างความต่อเนื่องภายในและภายนอกแล้ว ยังเน้นการเชื่อมต่อพื้นที่ภายในทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ด้วยการจัดแปลนแบบ open ไม่มีผนังแบ่งกั้นฟังก์ชันห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร และครัว ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหล และปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ง่ายในอนาคต นอกจากนี้ยังแบ่งพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 เจาะเป็นโถงสูง สร้างความรู้สึกโปร่งโล่งและยังสามารถมองเห็นชั้นลอยได้ชัดเจน เป็นการเพิ่มช่องว่างในพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อลดช่องว่างในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

บันไดนำทางสู่ชั้นลอย

บ้านโถงสูงมีชั้นลอย

การตกแต่งภายในเน้นความน้อย เพื่อให้เกิดความสบายตาที่สุด วัสดุหลัก ๆ ที่ใช้ในงานโครงสร้างและการตกแต่งบ้านไม่มีอะไรมากไปกว่าการใช้ไม้ ไม้อัด เหล็ก และกระจก ซึ่งวัสดุเหล่านี้นอกจากจะทำหน้าที่เพิ่มความรู้สึกเป็นธรรมชาติ อบอุ่น เรียบง่าย แล้ว ยังมีน้ำหนักเบาทำให้โครงสร้างบ้านมีความยืดหยุ่น สามารถรับมือกับภัยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยและค่อนข้างรุนแรงในโอซาก้าได้เป็นอย่างดี

โถงสูง double volume

มุมนั่งเล่นบนชั้นลอย

จากชั้นลอยมองลงมาเห็นพื้นที่ใช้งานชั้นล่าง และยังสามารถมองทะลุผนังกระจกที่ติดอยู่บริเวณด้านหน้าบ้าน เลยออกไปเห็นวิวท้องฟ้า ถนน และบ้านฝั่งตรงข้ามได้ด้วย ซึ่งแต่ละมุมมองของบ้านนักออกแบบได้กำหนดให้เข้ากับความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้ตรงใจ

ห้องนอนใต้หลังคา

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : แสงธรรมชาติที่สาดส่องเข้ามาในบ้าน มีส่วนอย่างมากในการลดความชื้น เพิ่มความอบอุ่น และสร้างชีวิตชีวา แต่หากมากเกินไปก็อาจจะทำให้บ้านร้อนอยู่ไม่สบายได้เช่นกัน หากต้องการจะติดผนัง ประตู หน้าต่างกระจก จึงต้องมองหาทิศทางที่รับแสงได้พอดี อาทิ ทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออก ที่แสงจะไม่แรงมากในช่วงกลางวัน ในกรณีที่เลี่ยงไม่ได้ก็อาจมองหากระจกชนิดสะท้อนแสงได้ดี การใส่ฟาซาด หรือทำแนวต้นไม้ช่วยพรางแสง เป็นต้น

ห้องน้ำ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน สไตล์โมเดิร์น


โพสต์ล่าสุด