
บ้านบนเนินต่างระดับ
ใคร ๆ ก็คงอยากสร้างบ้านแบบรายเรียบไร้อุปสรรค ในการเป็นเจ้าของที่ดินก็เช่นกัน หากให้เลือกที่ดินเรียบๆ ไม่มีหลุมบ่อหรือเป็นเนินต่างระดับกับพื้นราบ คงมีน้อยคนมาก ๆ ที่จะเลือกที่ดินไม่เรียบเพราะต้องมาปรับและจัดการที่ดินมากกว่าปกติ เปลืองทั้งเงินเสียทั้งเวลา แต่บางคนแม้จะมีทางเลือกอาจจะชอบที่ดินบนเนินมากกว่า เพราะมองเห็นข้อดีหรือจุดเด่นของที่ดิน หากจัดการและออกแบบดี ๆ ก็จะเป็นบ้านที่กำหนดฟังก์ชันง่ายและให้วิวที่แตกต่างแบบที่ดินอื่นๆ ไม่มี
ออกแบบ : Claudia Olalla Gil
ภาพถ่าย : Javier Callejas
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
บ้านในสเปนหลังนี้ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 1200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฤดูร้อนที่ไม่รุนแรงอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีต่ำ (10 ° C) สร้างในที่ดิน 800 ตร.ม. ที่มีความลาดชัน 33% ล้อมรอบด้วยเพื่อนบ้าน 3 แห่งที่อยู่ค่อนข้างห่าง และมีแนวต้นไม้กั้นให้ความเป็นส่วนตัว แต่ข้อเสียคือ ที่ดินเป็นเนินมีความต่างระดับค่อนข้างสูง สถาปนิกจึงออกแบบโดยคำนึงถึงจิตวิญญาณของสถานที่ ด้วยการทำบ้านเป็นสองระดับตามพื้นราบที่พอมี ภายในบ้านเป็นแบบ Bi-nuclear คือ แบ่งพื้นที่นั่งเล่นใช้งานของคุณพ่อคุณแม่และห้องนอนออกเด็ก ๆ เป็นคนละส่วนเชื่อมด้วยบันได รูปทรงบ้านเหมือนกล่องวางบนพื้น ทาสีขาวทั้งหมดทำให้บ้านดูถ่อมตัวเข้ากับบริบทโดยรอบ ให้ความรู้สึกสงบ นิ่ง เงียบ เป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนของสมาชิกในบ้าน
คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่
บ้านพักทั้งสองชั้นจะถูกรวมเข้ากับระดับพื้นดินชั้น สถาปนิกใช้วิธีคล้ายการวางอาคารชั้นบนเหลื่อมกับชั้นล่าง ทำให้เกิดซุ้มประตูเล็กๆ หันออกไปทางถนน สร้างการเข้าถึงที่เป็นอิสระจากภายนอกในแต่ละชั้น แต่ภายในจะสื่อสารผ่านบันไดระหว่างอาคารเพื่อเชื่อมต่อไม่ให้รู้สึกตัดขากจากกัน โลกสองใบที่แยกจากกันนี้ได้รับประโยชน์จากภายนอกที่แตกต่างกันสองแบบ นอกจากนี้สถาปนิกยังออกแบบจังหวะช่องเปิดให้ได้รับแสง ลม วิวจากทัศนียภาพในทุกพื้นที่
สำหรับฟังก์ชันการใช้งาน คุณพ่อคุณแม่จะมีพักผ่อนที่ชั้นบนและห้องพักแยกต่างหากที่ชั้นล่างสำหรับลูกสาว โดยการกำหนดพื้นที่ภายนอกที่แตกต่างกันและทางเข้าแยกต่างหากให้กับแกนบ้านแต่ละแกน ด้วยความตั้งใจของนักออกแบบที่จะเพิ่มพื้นที่กลางแจ้งให้มากที่สุด จึงใส่ช่องว่างขนาดใหญ่เชื่อมต่อระเบียงชวนให้ออกมานั่งใช้ชีวิตภายนอกบ้านได้อย่างสบายใจ
ในช่วงฤดูร้อน บ้านได้รับการปกป้องจากแสงแดดยามบ่ายด้วยโครงฉาก เหใือนเป็นฟาซาดที่กั้นด้านหน้าช่องเปิดขนาดใหญ่ เสริมด้วยระบบประตูบานเลื่อนที่ทำหน้าที่เบลอขอบเขตระหว่างภายในและภายนอก ในขณะที่ปล่อยให้มีการระบายอากาศแบบข้ามช่องตามธรรมชาติ ระหว่างบ้านที่เป็นกล่องสองชั้นจะมีพื้นที่เปลี่ยนผ่านในลักษณะของโถงทางเดินหรือชาน ที่ช่วยให้ขยายห้องนั่งเล่นไปยังระเบียงในช่วงวันที่อากาศอบอุ่น และเชิญชวนให้สมาชิกใน้านใช้งานบ้านทั้งสองชั้นอย่างสนุกสนาน สร้างสรรค์บ้านที่ตอบโจทย์ผ่านการกำหนดค่าเชิงพื้นที่หลายแบบ
บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ปกติในบ้านเรามักจะวางฟังก์ชันห้องรับแขก ห้องทานข้าว ห้องครัว ห้องนอน เรียงกันหรือปน ๆ กันไป แต่มีแนวคิดหนึ่งที่ต่างออกไป เป็นตกแต่งภายในสำหรับการออกแบบบ้านที่เรียกว่า “bi-nuclear” ซึ่งปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานสถาปัตยกรรมยุค 1940 คือ H-house (1943) และ Bi-nuclear house III (1945) โดยสถาปนิก Marcel Breuer ที่ทดลองวางแปลนแยกฟังก์ชันบ้านแยกปีกเป็นสองส่วน แยกโซนสาธารณะที่ใช้งานในเวลากลางวัน (ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัว) ออกจากการโซนทำงานส่วนตัวในเวลากลางคืน (ห้องนอนและห้องน้ำ) ใช้งานสาธารณะและโซนพื้นที่ส่วนตัว มีทางเดินเชื่อมต่อกันอย่างคร่าวๆ ในรูปของ H ทำให้บ้านมีความยืดหยุ่น แต่แสดงขอบเขตใช้งานที่ชัดเจน |
แปลนบ้าน