เมนู

วิถีเกษตรบนหลังคา ชีวิตใหม่หลังแผ่นดินไหวในจีน

สวนบนหลังคา

พึ่งตนเองอย่างยั่งยืน ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์หนีภัยพิบัติบนหลังคา

หมู่บ้านที่ทำการเกษตรบนหลังคาได้นี้ชื่อ Jintai ตั้งอยู่บนพื้นที่ว่างระหว่างภูเขาใกล้กับเมืองกวนหยวน มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวหนักที่สุดในจีนวันที่ 12 พฤษภาคม พ. ศ. 2551 ภัยพิบัติครั้งนั้นทำให้ชาวบ้านเกือบ 5 ล้านคนกลายเป็นคนไร้บ้าน บ้านกว่า 80% ได้รับความเสียหาย การฟื้นฟูครั้งสำคัญจึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของ RUF องค์กรการกุศลไม่แสวงหาผลกำไร ที่ยื่นมือเข้ามาสร้างอาคารสำหรับพักอาศัยและทำกินที่ยั่งยืนแถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า 26 หลัง

ออกแบบRural Urban Framework
เรียบเรียงบ้านไอเดีย

โครงการนี้อยู่ในพื้นที่แผ่นดินไหวและแผ่นดินสไลด์ในช่วงที่ฝนตกหนัก ทีมงานจึงเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบลักษณะทางภูมิศาสตร์ และออกแบบสร้างอาคารให้มั่นคงแข็งแรงแต่ยืดหยุ่นพอที่จะรับมือกับภัยธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ ยุทธศาสตร์การออกแบบคือ ทำแบบบ้านสี่แบบแตกต่างกันไปตามขนาดการใช้งาน และใส่จุดเด่นในส่วนหลังคา เป็นหลังคาสีเขียวที่สามารถเพาะปลูกได้แม้ในยามที่ผืนดินด้านล่างไม่เอื้อให้เพาะปลูก สนับสนุนให้ชาวชุมชนใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ วางระบบการบำบัดน้ำเสีย และจัดสรรพื้นที่สำหรับสุกรและไก่

ภาพแสดง Model บ้าน

ทั้งหมู่บ้านประกอบด้วยอาคาร 26 หลัง (รวมอาคารส่วนกลางของชุมชน) แต่ละหลังก่อผนังอิฐแดง ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เจาะช่องหน้าต่างเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมขนาดต่าง ๆ ดูโมเดิร์น หลังคารูปร่างแปลกที่ออกแบบมาเป็นขั้นบันได เพื่อให้ใช้พื้นที่บนหลังคาปลูกต้นไม้ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ โดยสามารถรับแสงรับน้ำฝนได้ตรง ๆ โดยไม่มีน้ำขังเพราะมีช่องทางให้สามารถระบายลงมาได้

ภาพแปลนอาคาร

สวนบนหลังคา ขนาดพื้นที่กว้างพอที่จะปลูกต้นไม้พืชผักได้หลายชนิด สร้างรูปแบบการใช้ชีวิตในชนบทแบบใหม่ ๆ ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตในวันที่ประสบภัยพิบัติ อย่างน้อยแหล่งเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ส่วนหนึ่งก็ถูกเก็บไว้ในที่ปลอดภัย และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

คลิกที่ภาพใด ๆ เพื่อรับชมภาพในขนาดใหญ่

มุมมองจากบนดาดฟ้า มองเห็นสวนของแต่ละบ้านเป็นมุมสามเหลี่ยมสลับกันไป สวนแบบขั้นบันไดก่อขึ้นมาจากคอนกรีตเจาะช่องเล็ก ๆ เพื่อให้น้ำระบายได้ดี ติดราวเหล็กรอบ ๆ เพื่อความปลอดภัย

สถาปนิกสร้างบ้านให้สัมพันธ์กับลักษณะพื้นที่ คล้าย ๆ กับการวางตำแหน่งบ้านในลักษณะเดิมของชาวบ้าน เพียงแต่เปลี่ยนรูปลักษณ์บ้านใหม่ จัดสัดส่วนอาคารให้มีระยะห่างพอเหมาะพอดี แม้จะดูใหม่แต่ก็ยังเข้ากันได้ดีกับวิถีชีวิตเดิม ๆ แต่ละอาคารมีความสมมาตร มีส่วนที่ปิดทึบและส่วนที่เปิดโล่งเป็นโถงใต้ถุนให้เกิดช่องว่างในบ้าน จัดทำระบบกักเก็บน้ำฝนเพื่ออุปโภคบริโภคเก็บใต้อาคาร

ทุกพื้นที่ในบริเวณได้รับการจัดสรรให้สามารถใช้งานได้หมด นอกจากบ้านและสวนแล้ว ทีมงานยังเพิ่มพื้นที่ส่วนกลางของชุมชนให้ชาวบ้านได้ใช้งานร่วมกันเป็นศาลาคอนกรีตโล่ง ๆ ด้านบนจัดเป็นสวน ด้านล่างชาวบ้านมีที่ว่างสามารถใช้ทานอาหาร ประชุม จัดอบรม หรือร่วมงานในวันสำคัญ ๆ ของปีได้ อาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรงและโล่ง ทำให้การดูแลรักษาง่าย ในยามที่แผ่นดินรอบ ๆ สไลด์ลงมาก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก

ภาพรวมการวางตำแหน่งอาคารทั้งหมดในชุมชน

หมู่บ้านนี้แสดงให้เห็นผลงานการสร้างแบบจำลองทางเลือกใหม่ ๆ ที่เป็นไปได้ให้กับบ้านเรือนอีกหลายแสนหลัง ที่เสียหายจากเกิดแผ่นดินไหวในประเทศจีน โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อจำกัดของที่อยู่อาศัย และศึกษาความสัมพันธ์ของบ้าน วิถีชีวิต กับสิ่งแวดล้อม ก็จะสร้างชุมชนใหม่ที่สามารถใช้ชีวิตฝ่าข้อกำจัดทั้งหมดไปได้ และใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน http://credit-n.ru/offers-zaim/joymoney-srochnye-online-zaymi.html http://www.tb-credit.ru/our-company.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด