เมนู

Fun House บ้านไม้ที่มีแต่พื้นที่สนุกให้ลูกได้เรียนรู้

บ้านไม้สองชั้น

บ้านไม้ที่เพลิดเพลินสำหรับทุกคน

เคยบ้างไหมที่ผ่านบ้านหลังหนึ่งไปแล้วทำให้รู้สึกว่า “อยากอยู่บ้านหลังนี้จัง” อาจจะด้วยดีไซน์ที่ชอบพอดี หรือเป็นความอบอุ่นที่แผ่พลังงานออกมา สำหรับบ้านหลังนี้ต้องบอกว่าเป็นบ้านอีกหนึ่งหลังที่ผู้เขียนรู้สึกว่าน่าอยู่ ด้วยวัสดุที่ทำจากไม้แต่ดูไม่เชยกับเส้นสายตาที่คมชัดแบบบ้านโมเดิร์น มีทั้งความผ่อนคลายอ่อนโยนจากงานไม้ เมื่อได้เห็นภายในจะรับรู้ถึงความใส่ใจในการออกแบบพื้นที่ให้ทุกคนในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันในทุกกิจกรรม และเด็ก ๆ ของบ้านนี้ได้เล่นสนุกอย่างเต็มที่เหมือนมีสนามเด็กเล่นในบ้าน

ออกแบบ : Kodikodi
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านไม้สองชั้นหลังคาจั่วองศาไม่เท่า

บ้านสองชั้นหลังนี้สร้างอยู่ในเมือง Susono จังหวัด Shizuoka ประเทศญี่ปุ่น พื้นที่ทั้งหมด 144.04 ตร.ม ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของครอบครัวที่มีเด็กกำลังซน 3 คน ชื่อบ้าน “FUN! HOUSE!” นั้นมีที่มา เริ่มจากการพูดคุยกันระหว่างนักออกแบบกับเจ้าของบ้านซึ่งเป็นผู้เปิดตัวโซฟาแบรนด์ “MANUAL graph” ด้วยแนวคิด “FUN! SOFA!” ที่มีสโลแกนว่า “อยากส่งมอบความสนุกให้ทุกคนผ่าน SOFA” ดังนั้นในภาพรวมก็อยากให้บ้านเป็นพื้นที่สนุกสำหรับทุกคนด้วย

บ้านไม้สองชั้นร่วมสมัยในญี่ปุ่น

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

หากมองจากภาพรวมหน้าบ้าน เราคงเดาไม่ออกว่าภายในจะซ่อนฟังก์ชันที่ใช้ชีวิตได้อย่างสนุกสนานอย่างไร เพราะเนื้อไม้ที่ตีรอบตัวบ้านอย่างเรียบร้อยประณีต แต่บ้านก็เหมือนหนังสือที่เราไม่อาจตัดสินได้เพียงแค่มองหน้าปก คงต้องเปิดประตูบ้านเข้าไปชมแล้วหล่ะ

ประตูหน้าบ้าน

บ้านตกแต่งโทนสีอ่อนๆ และไม้

FUN! สำหรับแต่ละคนคืออะไร เป็นโจทย์ที่สถาปนิกต้องตีให้แตก สำหรับคุณแม่บ้านของที่นี่มุมโปรดมุมสนุกอยู่ที่การได้เข้าครัวที่มีครบฟังก์ชัน สามารถทำอาหารอร่อยๆ ให้สมาชิกครอบครัวได้หลากหลาย การใช้งานต้องง่าย ตกแต่งให้มีความรู้สึกน่ารักอบอุ่น ซึ่งทีมงานก็จัดให้ครบถ้วน แถมยังมีความเชื่อมโยงกับมุมใช้ชีวิตอื่นๆ อย่างโต๊ะทานข้าว มุมนั่งเล่น เพิ่มความรู้สึกมีส่วนร่วมกับทุกคนได้ในระหว่างที่คุณแม่ทำอาหาร

มุมทานข้าว

ครัวเล็ก ๆ โทนสีขาวตกแต่งไม้

ครัวสีขาวครีม เข้ากันได้ดีกับท็อปเคาน์เตอร์ไม้ วางเครื่องใช้ในครัวขนาดกะทัดรัด เลือกดีไซน์และสีที่ให้ความรู้สึกแบบมินิมอล เสริมกระถางปลูกต้นไม้ประดับเล็ก ๆ สร้างบรรยากาศความสดชื่นใกล้ชิดธรรมชาติ มองไปทางไหนก็ชอบ หันไปทางไหนก็น่าใช้ แบบนี้จะไม่รู้สึกสนุกในการทำครัวอย่างไรไหว

เตาผิงในบ้าน

ห้องครัวต่อเชื่อมกับห้องนั่งเล่น

มุมนั่งเล่นโถงสูง

สำหรับบ้านนี้คำนิยามคือคำว่า “อยู่ท่ามกลางสิ่งที่ชอบ”  ส่วนของคุณพ่อนั้นอยู่ตรงพื้นที่ที่โซฟาที่ผลิตเอง และของที่คัดสรรมาอย่างดีที่ทุกคนช่วยกันเลือกซื้อมา จะหลอมรวมเข้ากับชีวิตประจำวันของทุกคน โดยเฉพาะในมุมนั่งเล่นที่ทุกคนในครอบครัวจะมานั่งทานของว่าง ดื่มเครื่องดื่มถ้วยโปรด อ่านหนังสือ นั่งพักให้คลายเหนื่อย หรือนอนเล่นก็ยังได้ เป็นการสร้างพื้นที่ FUN! HOUSE! ในแบบที่คุณผู้ชายจินตนาการไว้ให้ออกมาชัดเจนเป็นรูปธรรม พร้อมกับส่งมอบความสนุกให้ทุกคนผ่าน SOFA

มุมนั่งเล่นโถงสูง

ระเบียงทางเดิน

ในชั้นล่างที่เป็นส่วนใช้งานในชีวิตประจำวัน ที่เติมเต็มความสัมพันธ์ของคนในบ้าน แต่สถาปนิกก็ยังรู้สึกว่าต้องมี “บางอย่าง” ที่เหนือกว่าความเพลิดเพลิน เพราะคุณเจ้าของบ้านพูดออกมาคำหนึ่งว่า “Enjoy! House!” จึงได้แนวคิดให้มีพื้นที่ที่เด็กสามารถเล่นและให้ความรู้ได้อย่างปลอดภัย ด้วยการจัดพื้นที่ระเบียงทางเดินในชั้นสองเชื่อมต่อกับชั้นลอยที่ล้อมด้วยราวเหล็กกันตก ทำเป็นมุมเด็กเล่นที่แค่มองก็น่าตื่นเต้นแล้ว เด็ก ๆ จะสนุกกับการนั่งเล่นและปีนป่ายห้อยโหน ซึ่งตรงจุดนี้ผู้ปกคปรงสามารถมองเห็นเด็ก ๆ ได้จากชั้นล่างและชั้นใต้หลังคาส่วนห้องทำงานแบบไม่คลาดสายตา

พื้นที่เด็กเล่นบนชั้นลอย

ห้องใต้หลังคา

ห้องทำงานใต้หลังคา

ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแม้จะเหลือพื้นที่ใต้หลังคาเพียงเล็กน้อย ก็สามารถใช้ประโยชน์เป็นห้องทำงานเงียบๆ เอาไว้สร้างสรรค์ผลงานออกแบบ หรือนั่งเล่นดนตรีให้ผ่อนคลายยามที่คิดไอเดียใหม่ๆ ไม่ออก

ห้องน้ำ

ประตูห้องนั่งเล่นเปิดเชื่อมต่อสวน

ไม่เพียงเฉพาะพื้นที่ในบ้านเท่านั้นที่เป็นส่วนใช้ชีวิตร่วมกัน สถาปนิกออกแบบยังให้มีชานนั่งเล่นกลางแจ้งสบายๆ ที่เชื่อมต่อกับห้องนั่งเล่นได้ผ่านประตูบานเลื่อนกระจก ทำให้เราชื่นใจไปกับทัศนียภาพของแต่ละฤดูกาล เช่น ดอกไม้ที่เขียวสดและใบไม้เปลี่ยนสี ในวันที่อากาศเย็นๆ แดดร่มรำไร ก็ออกมานั่งเปลี่ยนบรรยากาศทานข้าวนอกบ้าน เหมือนได้ไปปิกนิกนอกสถานที่กัน เด็ก ๆ จึงอยู่บ้านได้ทุกวันไม่มีเบื่อ

โต๊ะทานข้าวในสวน

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ในบ้านยุคใหม่จะให้ความสำคัญกับสมาชิกทุกคนที่อยู่อาศัย ดังนั้นการจัดฟังก์ชันจึงพยายามให้เกิดความโปร่ง โล่ง และเชื่อมต่อมากที่สุดทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง (กรณีที่บ้านมีมากกว่า 1 ชั้น) ไม่ให้ใครตกสำรวจหรือคลาดสายตา ยิ่งในบ้านที่มีด็กเล็กยิ่งต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย หากมีชั้นสองหรือชั้นลอยต้องมีราวที่สูงมากพอที่จะกันด็กพลัดตก การทำบ้าน open plan ลดผนังที่ไม่จำเป็นรวมพื้นที่หลัก ๆ ที่เด็กและผู้ปกครองใช้ด้วยกัน หรือเจาะเพดานออกบางส่วนสร้างพื้นที่โถงสูงก็ช่วยให้สามารถมองเห็นกันได้ง่ายก็มีส่วนช่วยได้เช่นกัน

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด