เมนู

ต่อเติมบ้านกล่อง เปลือกสีดำแต่ภายในอบอุ่น

ต่อเติมบ้านกล่อง

ต่อเติมพื้นที่ใหม่ ๆ ให้ครอบครัวใช้งาน

การปรับปรุงและขยายบ้านแต่ละหลังความยากง่ายต่างกันไปตามโจทย์การใช้งาน ลักษณะของบ้านและที่ดิน  สำหรับบ้านในประเทศออสเตรเลียที่มีกฎหมายเรื่องการต่อเติมที่ต้องขออนุญาตมากมาย โดยเฉพาะในเขตอนุรักษณ์สถาปัตยกรรมยิ่งต้องมีรายละเอียอดปลีกย่อยค่อนข้างมาก เพราะต้องดีไซน์แบบให้มีความกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมในชุมชนควบคู่กันไปด้วย ในขณะที่ต้องใช้งานได้ตรงกับความต้องการของผู้อยู่อาศัย

ออกแบบChan Architecture
เนื้อหาบ้านไอเดีย

ทางเดินเชื่อมต่อบ้านเก่า-ใหม่

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ต่อเติมพื้นที่ใหม่ ๆ อย่างเคารพอาคารเก่า

การต่อเติมบ้านที่เดิมสร้างในสไตล์วิคตอเรียทั่วไปมักจะสร้างความท้าทายที่ไม่เหมือนใคร เพราะรูปลักษณ์ที่เต็มไปด้วยรายละเอียดอ่อนช้อย ลักษณะพื้นที่หน้าแคบลึก จึงไม่สามารถแก้ไขหรือต่อเติมด้านหน้าได้ โดยมากจึงจัดฟังก์ชันห้องนอนส่วนตัว ห้องทำงาน ให้อยู่ในโซนย้อนยุคที่ด้านหน้า แล้วสร้างพื้นที่ทางเดินเชื่อมต่อนำไปสู่อาคารใหม่สไตล์โมเดิร์นเรียบ ๆ  เป็นห้องแฟมิลี่ใช้งานร่วมกันในครอบครัวด้านหลัง ซึ่งความสูงของส่วนต่อเติมจะไม่มากไปกว่าอาคารเก่า เพื่แแสดงให้เห็นความเคารพต่ออาคารเดิม

ต่อเติมห้องแฟมิลี่

ผนังที่แตกต่างนำจากเก่าไปสู่ใหม่

จากบ้านเก่าที่อยู่ส่วนหน้า สถาปนิกทำทางเดินต่อเนื่องมาถึงอาคารใหม่ มีบันไดสูง 3 สเต็ปและผนังที่ใช้คนละสีเพื่อบ่งบอกถึงขอบเขตที่แตกต่าง ผนังเส้นไม้สีดำมีประตูห้องน้ำสองห้องซ่อนอยู่ฝั่งตรงกันข้ามอย่างแนบเนียน  เมื่อผ่านทางเดินที่ปกคลุมด้วยสีดำก็จะสร้างความประทับใจด้วยแสงสว่างจ้าในห้องแฟมิลี่ เป็นการเปลี่ยนจากส่วนเก่าของบ้านไปสู่ความใหม่อย่างราบรื่น

ห้องนั่งเล่น ครัว และโต๊ะทานข้าว

พื้นที่ใช้สอยใหม่เป็นห้องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่  รวมเอาฟังก์ชันที่สามารถใช้งานร่วมกันพร้อม ๆ กันได้ไว้ในจุดเดียว เช่น ครัว มุมนั่งเล่นดูทีวี โต๊ะทานอาหาร สร้างความรู้สึกเปิดโล่งกว้างขวางและเต็มไปด้วยแสงสว่างด้วยผนังกระจกขนาดใหญ่ที่เปิดได้กว้าง เชื่อมต่อกับสนามหลังบ้านได้อย่างแนบสนิท ดึงสมาชิกของบ้านออกมาจากห้องส่วนตัวเพื่อมาใช้เวลาดี ๆ ร่วมกัน

ห้องแฟมิลี่ที่สว่างและอบอุ่น

พื้นบ้านที่ปูด้วยวัสดุแผ่นลามิเนตที่ให้ลวดลายและความรู้สึกของไม้จริง ช่วยเติมบรรยากาศที่อบอุ่นให้ห้อง และยังให้สัมผัสนุ่มนวลเวลาเดิน ไม่รู้สึกเย็นเท้าในช่วงฤดูหนาวด้วย ทั้งนี้สถาปนิกได้นำหลักการออกแบบบ้านระบบ Passive System เป็นบ้านประหยัดพลังงานมาใช้ ตั้งแต่การเลือกใช้กระจกสองชั้นทางทิศเหนือเพื่อปกป้องตัวบ้านความร้อนในฤดูร้อน และหน้าต่างขนาดใหญ่ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของบ้าน เปิดได้กว้างเพื่อรับแสงแดดในฤดูหนาว และเอื้อต่อการระบายอากาศตามธรรมชาติ บนหลังคาติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตพลังงานใช้เองในบ้าน ทั้งหมดนี้รวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยที่แทบจะไม่ต้องใช้ความร้อนหรือความเย็นแบบเทียมเลย

ชั้นวางทีวีและตู้เก็บของบิวท์อิน

มุมดูทีวีบิวท์อินบนผนัง มีช่องว่างสำหรับวางทีวี รอบ ๆ เต็มไปด้วยชั้นวางและช่องเก็บของ ซึ่งทำให้พื้นที่จัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นการใช้พื้นที่แนวตั้งอย่างมีประสิทธิภาพ จึงไม่จำเป็นต้องมีตู้หรือชั้นวางบนพื้นเพิ่มอีก ช่วยเพิ่มพื้นที่สัญจรในบ้านแล้วยังดูแลทำความสะอาดง่ายด้วย

ปูพื้นบ้านด้วยลามิเนตเคาน์เตอร์ครัวและตู้บิวท์อิน

โซนครัวที่อยู่ชิดติดผนังอีกด้านหนึ่งของห้อง ออกแบบให้มีเส้นสายเรียบง่ายด้วย 3 โทนสี ขาว ดำ และน้ำตาลจากไม้ จัดเรียงฟังก์ชันการใช้งานทั้งเตาปรุง ซิงค์ล้าง ตู้เก็บเครื่องใช้ในครัวไว้ที่เคาน์เตอร์ ทำให้ใช้งานง่ายไม่ต้องหันไปมา ส่วนไอส์แลนด์ตัวใหญ่นอกจากใช้เตรียมปรุงอาหาร ก็ยังใช้รองรับเมื่อมีแขกมาปาร์ตี้ที่บ้านเพิ่มเติมได้อีก

ห้องน้ำ

ตกแต่งห้องน้ำ

ห้องน้ำที่แยกส่วนเปียกและแห้งทำให้มีความปลอดภัย ประตูแบบ Pocket Door เลื่อนเก็บด้านข้างที่เปิดได้กว้างใช้งานง่าย ไม่ต้องออกแรงเท่าบานผลัก ไม่กินพื้นที่ด้านหน้าและในห้องน้ำ รถเข็นสามารถเข้าได้ จึงเหมาะในการใช้งานสำหรับเด็กและผู้สูงวัย

ห้องนอนเด็ก

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การต่อเติมบ้านในประเทศซีกโลกตะวันตกแบบใหม่ ๆ นิยมเพิ่มพื้นที่ใช้งานสาธารณะที่ทุกคนสามารถมาใช้งานร่วมกันได้ในจุดเดียว อาทิ ห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร ห้องครัว วางเรียงกันไปโดยไม่มีผนังกั้น และแยกพื้นที่ส่วนตัวออกไปอีกหนึ่งอาคาร วิธีแบบนี้จะแบ่งสัดส่วนการใช้งานที่ชัดเจน และทำให้สมาชิกในบ้านได้มีช่องว่างระหว่างกันในขณะที่ยังมีพื้นที่ได้ใช้เวลาร่วมกัน ซึ่งแนวคิดนี้ก็น่านำมาทดลองปรับใช้ในบ้านเราดูเช่นกันครับ

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน สไตล์โมเดิร์น


โพสต์ล่าสุด