เมนู

ลดข้อจำกัดที่ดินแคบลึก อยู่สบายไร้กรอบเหมือนบ้านหน้ากว้าง

บ้านไม้โมเดิร์น

บ้านไม้โมเดิร์นมินิมอล

ถ้าพูดถึงความกล้าที่จะแตกต่างในงานสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าจะต้องมีชื่อของประเทศญี่ปุ่นอยู่ด้วยในอันดับต้นๆ เราจะเห็นการทดลองวัสดุ แนวคิด และมุมมองที่มีต่อที่อยู่อาศัยด้วยการตั้งคำถามหรือสิ่งที่คาดหวัง เช่น หากบ้านมีผนังโปร่งใสทั้งหลังจะเป็นอย่างไร งานไม้สามารถตีความในรูปแบบใดได้บ้าง การอยู่ในบ้านแคบๆ ที่รู้สึกกว้างขึ้นทำได้ด้วยวิธีไหน อย่างบ้านนี้สถาปนิกชาวญี่ปุ่น Nori Architects ได้สร้างบ้านมินิมอลในเมืองโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น ให้เป็น “ต้นแบบที่อยู่อาศัยในเมืองแบบใหม่” ที่ออกแบบมาเพื่อลดของเสียจากการก่อสร้าง และสามารถซ่อมแซมหรือปรับเปลี่ยนได้ง่ายในอนาคต พร้อมกับสร้างความรู้สึกกว้าง มีความเป็นอิสระ แต่ก็เป็นส่วนตัวได้เมื่อต้องการ

ออกแบบ : Nori Architects
ภาพถ่ายJumpei Suzuki
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านไม้สองชั้นผนังโปร่งแสง

บ้านสองชั้นขนาดกะทัดรัดที่โดดเด่นด้วยโครงสร้างไม้เปลือยและการตกแต่งภายในและภายนอกที่เรียบง่าย ออกแบบสำหรับครอบครัวคู่หนุ่มสาวที่มีลูกสองคนในเมืองโตโยต้า จังหวัดไอจิ ไซต์ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่ยาวและแคบจากทิศตะวันออกไปตะวันตก มีการจราจรหนาแน่นทางด้านตะวันตกของถนน และมีอาคารที่อยู่ติดกันด้านทิศเหนือและทิศใต้ จึงต้องเพิ่มความรู้สึกเป็นอิสระไม่อึดอัดให้บ้านหน้าแคบลึก ด้วยการสร้างบ้านเป็นกล่องขนาดกะทัดรัดด้านหน้ากว้าง 3.6 เมตร x ความลึก13.6 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร ด้านหน้าโปร่ง ด้านข้างมีส่วนที่ไม่ทึบ โครงสร้างภายในแบ่งออกเป็นสามระดับ

มุมมองบ้าน bird eye view

คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านโมเดิร์นมินิมอลผนังโปร่งแสง

จุดมุ่งหมายของโครงการคือการนำท้องฟ้าสีฟ้าและแสงธรรมชาติให้สาดส่องเข้ามาในบ้าน เพื่อทำให้ได้บ้านที่น่าอยู่ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา จึงช่องเปิดกว้างทะลุไปทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอาคารบนชั้นสอง ที่ไม่มีเพื่อนบ้านใกล้ ทำให้เกิดการเชื่อมต่อที่มองเห็นได้กับภูมิทัศน์ที่ว่างในด้านนั้น ด้านยาวทางทิศเหนือปกคลุมด้วยกำแพงที่ทำจากวัสดุกระเบื้องโปร่งแสง ทำให้เกิดทางเดินเล็กๆ สู่ทางเข้าที่ ‘ให้ความรู้สึกถึงระยะห่างจากตัวเมือง’ อย่างไรก็ตาม แสงธรรมชาติที่ถูกกรองจากกระเบื้องก็อนุญาตให้ความสว่างท่วมพื้นที่ภายใน

ผนังโปร่งแสง

บ้านวัสดุกระเบื้องโปร่งแสง

ในยุควิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก บ้านนี้ก็ตั้งใจจะเป็นหนึ่งหลังที่ช่วยลดปัญหา จึงพยายามสร้างบ้านที่เต็มไปด้วยแสง ลม และใช้วัสดุเป็นมิตรกับธรรมชาติ หาง่าย ราคาถูก และเหลือของเสียน้อยด้วยเช่นกัน เพื่อรับประกันความสบายและการประหยัดพลังงานตลอดทั้งปี บ้านจำเป็นต้องมีเปลือกและอุปกรณ์ที่ใช้ภายนอกที่คิดมาอย่างดีในงบประมาณต่ำ สถาปนิกต้องคิดค้นวิธีที่จะทำให้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพสูงด้วยการผสมผสานวัสดุที่ใช้งานได้จริงในราคาไม่สูง

มุมมองบ้านจากชั้นบน

มุมทานอาหารโต๊ะไม้

ภายนอกและภายในใช้วัสดุกระเบื้องโปร่งแสง ตาข่ายโลหะ กระจก และไม้เป็นตัวเอก ผลที่ได้คือสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและเป็นกันเอง โดยภายในยังปล่อยให้พื้นที่บ้านมีสเปซโล่งกว้าง โชว์โครงสร้างไม้ ฐานราก ท่อ และสายไฟโครงสร้างทั้งหมดเป็นไปตามรูปแบบที่เรียบง่าย ให้ผู้อยู่อาศัยสามารถซ่อมแซมหรือปรับเปลี่ยนได้ง่ายในอนาคต

บ้านสองชัั้นทำจากไม้สไตล์มินิมอล

สำหรับ ‘Minimum House in Toyota’ ทีมออกแบบพยายามที่จะให้บ้านมีความโปร่งรับแสงธรรมชาติได้มาก โดยไม่กระทบต่อความเป็นส่วนตัว โดยบางส่วนที่ต้องการพรางสายตาแต่แสงผ่านได้ก็ใช้กระเบื้องลอนแบบโปร่งแสง สลับกับกระจกใสในส่วนที่สามารถโชว์ได้ ภายในทำเพดานโถงสูง Double Space เผยให้เห็นตัวเองในสามระดับแบบสลับเล่นระดับ จึงให้ความรู้สึกเหมือนขยายพื้นที่ขึ้นสู่ชั้นบนเป็นส่วนเดียว ทำให้บ้านดูเหมือนกว้างขึ้นอีก ชั้นล่างสุดรองรับห้องครัวและพื้นที่รับประทานอาหารและพื้นที่เสริมบางส่วน

บ้านไม้ผนังกระจก มองเห็นวิวมุมกว้าง

บ้านไม้ผ้าม่านสีขาวสไตล์มินิมอล

ชั้นถัดไปเชื่อมต่ออย่างหลวม ๆ แทบไม่มีผนังกั้น โดยมีความแตกต่างระดับที่ 2 เมตร เมื่อเดินขึ้นบันไดจะพบกับห้องนั่งเล่นโล่งๆ และห้องน้ำ ส่วนผนังติดกระจกใสเป็นแนวตัว L ให้มานั่งชมวิวท้องฟ้า วิวเมืองได้ ความใสของกระจกยังทำให้บ้านดูเป็นอิสระมากกว่าการใช้วัสดุทึบรอบ ๆ บ้าน เมื่อต้องการความเป็นส่วนตัวก็เพียงเลื่อนผ้าม่านโปร่งๆ มาปิดเอาไว้ ก็ใช้ชีวิตในบ้านได้ตามปกติ

บันไดไม้

ผนังวัสดุโปร่งแสงพื้นเหล็กโปร่งๆ

ที่ชั้นบนสุดประกอบด้วยพื้นที่นอน ห้องนอนหลักเห็นเฉลียงซึ่งสร้างขึ้นบนแกนแนวตั้งของระเบียง เป็นที่ว่างแนวตั้งที่ล้อมรอบด้วยผนังโปร่งแสงและตาข่ายโลหะ ทำให้รู้สึกเป็นส่วนตัวและปลอดภัยแม้จะมีส่วนที่เปิดโล่งอยู่ก็ตาม

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ความเป็นส่วนตัวของบ้านสามารถทำได้ในหลายระดับ ตั้งแต่การเปิดโล่งหมด ติดตั้งผนังกระจกใสจะไม่มีความเป็นส่วนตัวใด ๆ (นอกจากเพิ่มม่าน, มู่ลี่) ซึ่งวัสดุโปร่งใส เป็นตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้หมดหรือเกือบทั้งหมดอย่างเป็นระเบียบ สามารถมองทะลุได้ชัดเจน เช่น กระจกใส แก้ว  แผ่นพลาสติกใส  ซึ่งจะมาพร้อมกับความร้อนไนชนิดวัสดุที่ไม่มีแต่หากต้องการความเป็นส่วนตัวในขณะที่อยากได้แสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวบ้านด้วย ควรเลือกวัสดุโปร่งแสง ที่ยอมให้แสงผ่านได้บ้าง (กี่ % แล้วแต่ชนิดของวัสดุและความโปร่งแสง) เช่น กระจกฝ้า  แผ่นฟิล์มกรองแสง แผ่นพลาสติกขุ่น กระเบื้องโปร่งแสง เมทัลชีทโปร่งแสง บล็อกแก้ว เป็นต้น

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด