เมนู

บ้านเขตร้อน แบ่งอาคารกับที่ว่างอย่างละครึ่ง

ออกแบบหลังคารับลม

บ้านเขตร้อน

Misol House ตั้งอยู่ใน Denpasar Barat ประเทศอินโดนีเซีย  เริ่มแรกได้รับการออกแบบมาเพื่อนำมาใช้ในรูปแบบสถาปัตยกรรมอเมริกันคลาสสิก ตามความต้องการของเจ้าของที่เป็นนักบิน โดยอาชีพที่เดินทางตลอดก็ได้รับแรงบันดาลใจจากบ้านในประเทศที่เขาไปเยี่ยม แต่ในฐานะที่ปรึกษา สถาปนิกมีความรับผิดชอบทางจรรยาบรรณในการแนะนำลูกค้าว่า รูปแบบสถาปัตยกรรมอเมริกันคลาสสิกไม่เหมาะสมกับภูมิอากาศแบบเขตร้อนของอินโดนีเซีย จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจและหาข้อสรุปตรงกลางที่ลูกค้ารับได้ เพื่อปรับแบบบ้านให้อยู่สบายและมีความสุข

ออกแบบSomia Design
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านสองชั้นหลังคาจั่วไม่สมมาตร

บ้านที่มีตัวอาคาร 50 % และที่ว่าง 50%

แทนที่สถาปนิกจะเลือกตามใจลูกค้า แต่ Somia Design Studio กลับเสนอความคิดของบ้านในเมืองเขตร้อน ที่เหมาะสำหรับการตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศเขตร้อนในบาหลีมากกว่าบ้านแบบอเมริกัน  ความท้าทายอีกประการคือ การสร้างบ้านพื้นที่ใช้สอย  352 ตารางเมตร ในพื้นที่แคบและเพื่อนบ้านใกล้เคียงหนาแน่น ซึ่งแก้ไขโดยการปรับอัตราส่วนระหว่างตัวอาคารกับพื้นที่เปิดโล่งออกสู่ท้องฟ้า (open space) 50/50 การเปิดพื้นที่เปิดโล่งถึงครึ่งหนึ่งของตัวบ้านมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นจุดดูดซับน้ำฝนได้สูงสุด รวมถึงการเพิ่มพื้นที่ปลูกต้นไม้เพื่อลดปริมาณคาร์บอนที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ยังสามารถลดอุณหภูมิโดยรอบและเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของที่ว่างลดความแออัดของเมือง

บ้านเจาะหลังคาให้ต้นไม้โต

โมเดลบ้านที่ทำให้เห็นภาพรวมของบ้านว่านักออกแบบทำหลังคาจั่วสูงแบบไม่สมมาตร ด้านหนึ่งองศาลาดเอียงน้อย อีกด้านหนึ่งลาดเอียงสูงเลยลงมาคลุมตัวบ้าน ทำให้น้ำฝนไหลลงได้ดีและเร็ว บนหลังคาไม่ได้ปิดทึบหมด แต่เลือกเจาะส่วนหนึ่งให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เพื่อรับน้ำฝนและเป็นช่องทางรับอากาศ ระบายความชื้นไปพร้อม ๆ กัน ชั้นล่างจัดเป็นคอร์ดปลูกต้นไม้ขนาดกลาง ๆ รายล้อมให้บ้าน คน ธรรมชาติยิ่งชิดใกล้


ห้องนั่งเล่นผนังกระจก

ห้องทานข้าวผนังกระจก

ช่องว่างมากมายช่วยระบายร้อน

Misol House ช่องว่างมากมายภายในบ้าน ช่วยให้แสงแดดส่องผ่าน เป็นแหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศตามธรรมชาติ ห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหาร ตั้งอยู่ที่ชั้นล่างได้รับการออกแบบผนังให้เป็นกระจกสูงเต็มรูปแบบจากพื้นจรดเพดานหลาย ๆ ด้าน เพื่อปรับแสงธรรมชาติให้เหมาะสม การใช้ผนังกระจกทำให้สถาปัตยกรรมมีชีวิตชีวาด้วยการเปิดเผยกิจกรรมภายในบ้านโดยที่ยังมีมุมมองที่เป็นส่วนตัว และสามารถเปิดออกได้กว้างอากาศจึงถ่ายเทได้สะดวก


ผนังไม้เลื้อย

ห้องทำงานสีขาว

โทนสีขาวเทา บ้านสะอาดตาแต่ไม่น่าเบื่อ

ลูกค้าต้องการให้บ้านทั้งหลังเป็นสีขาวเพื่อสร้างความน่าประทับใจในความสะอาด แต่สถาปนิกเสนอแนวคิดในการใช้สองสีเป็นสีขาวและสีเทา วิธีนี้จะทำให้บ้านสะอาดเรียบง่าย เงียบสงบ และสดใส ตามที่เจ้าของบ้านอยากได้ โดยไม่ทำให้บ้านดูน่าเบื่อ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น หรือครัว

ครัวสีขาวตกแต่งกระเบื้องยาแนวสีดำ

ครัวแยกออกจากห้องรับประทานอาหาร เป็นห้องขนาดใหญ่พอที่จะรองรับการทำอาหารหนักที่ลูกค้าชอบทำในชีวิตประจำวัน พื้นที่ครัวแยกต่างหากยังมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนไปยังห้องอื่น ๆ จากกลิ่นที่เกิดจากกิจกรรมการทำอาหาร

ห้องน้ำแต่งกระเบื้องยาแนวสีดำ

สวนกรวดบนดาดฟ้า

พื้นที่ส่วนตัวน้อย ๆ พื้นที่ส่วนรวมเยอะ ๆ

บ้านนี้แยกสัดส่วนการใช้งานส่วนรวมและแยกนอนใหญ่พร้อมห้องน้ำในตัวตั้งอยู่ชั้นล่างในขณะที่ห้องนอนอีกสองห้องตั้งอยู่ชั้นบนพร้อมห้องน้ำรวม ห้องนอนได้รับการออกแบบไม่ใหญ่เกินไป เนื่องจากผู้ใช้ต้องการมีความคล่องตัวสูงและห้องนอนส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการพักผ่อนและนอนหลับเท่านั้น จึงทำห้องนอนขนาดพอดี ๆ แล้วไปเพิ่มพื้นที่ในส่วนอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกันแทน อย่างเช่น สวนชั้นล่าง และลานกรวดชั้นบน

เจาะหลังคาทำคอร์ดในบ้าน

pocket garden หรือสวนขนาดเล็กในชั้นล่าง ปลูกต้นไม้ขนาดกลางสร้างร่มเงาได้ในอนาคต องค์ประกอบพื้นที่สีเขียวที่อยู่ตรงกลางของบ้านช่วยเพิ่มความรู้สึกสงบ สดชื่น และมีชีวิตชีวาให้กับบ้านได้เป็นอย่างดี

บ้านผนังกระจกหลังคาขนาดใหญ่

ช่องว่างบนหลังคาได้รับการออกแบบมาในองศาที่คิดว่าอย่างดีแล้วว่า คนที่ยืนอยู่บนระเบียงจะไม่เห็นเพื่อนบ้านในระดับชั้นเดียวกัน เพื่อนบ้านเองก็ไม่สามารถมองทะลุเข้ามาเห็นการใช้ชีวิตในส่วนนี้ได้เช่นกัน ทุกองค์ประกอบทั้งหมดของนี้เป็นการผสมผสานระหว่างความต้องการของลูกค้า การใช้งานได้จริง และคุณค่าทางศิลปะ Misol House ไม่เพียงแต่สะดวกสบายและกะทัดรัดเท่านั้น แต่ยังเป็นบ้านที่สร้างความผ่อนคลายทางสายตาและจิตใจของผู้อยู่อาศัยให้บรรเทาความเครียดจากความวุ่นวายในเมืองได้เป็นอย่างดี

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การสร้างบ้านนั้นไม่เพียงแต่ต้องดูที่ดีไซน์ที่สวยงามเท่านั้น แต่อย่าลืมพิจารณาความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศด้วย เพราะแบบบ้านบางหลังสวยงามถูกใจแต่ไม่สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ ทำให้อยู่ไม่สบายอย่างที่คิด อย่างแนวคิดบ้านเขตร้อนชื้นจะสัมพันธ์กับช่องว่าง เพื่อให้บ้านรับอากาศใหม่ ๆ เข้ามาและระบายความร้อนออกจากตัวอาคารได้มาก สร้างสภาวะสบายภายในบ้านได้ดี จึงต้องออกแบบบ้านให้มีประตูหน้าต่างที่เปิดได้กว้าง เป็นต้น

แปลนบ้าน

http://credit-n.ru/offers-zaim/webbankir-online-zaim-na-kartu.html http://www.tb-credit.ru/zaimy-na-kartu.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด