เมนู

บ้านหลังคาจั่วหันคนละด้าน แยกสัดส่วนบ้านและออฟฟิศ

บ้านจั่วหน้ากว้าง

บ้านหลังคาจั่ว

การออกแบบบ้านไม่ใช่เพียงดีไซน์อาคาร แต่เป็นการจัดรูปแบบวิถีชีวิตไปพร้อมๆ กัน นั่นเป็นเพราะสถาปนิกไม่ได้มองว่าบ้านคือสิ่งไม่มีชีวิต แต่กลับมองว่า “บ้าน” เป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่จะต้องมองภาพความเคลื่อนไหวของสมาชิกในบ้านให้อยู่อาศัยสบาย ใช้งานได้จริงตามโจทย์ที่ต้องการบ้านญี่ปุ่น เหมือนบ้านหลังคาจั่วหลังนี้ที่เปรียบเสมือนพื้นที่อเนกประสงค์ที่บางครั้งก็ถูกปรับไปเป็นสตูดิโอจัดงานศิลปะ ในขณะที่ยังมีพื้นที่ส่วนตัวสำหรับใช้ชีวิต จึงต้องออกแบบอย่างระมัดระวังเพื่อจัดวางความสัมพันธ์ของการใช้งานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับขนาดของพื้นที่จริงและการใช้งาน

ออกแบบMYA
ภาพถ่ายHiroshi Tanigawa
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านหลังคาจั่ว 2 ระดับ

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านหลังคาจั่ว 2 ระดับ

บ้านหลังนี้อยู่ในจังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 140 ตารางเมตร เป็นบ้านที่สร้างอาคารหลังคาจั่วสองหลังเข้าด้วยกัน การออกแบบเริ่มต้นจากการวางแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือส่วนของพื้นที่อยู่อาศัยและส่วนของสตูดิโอ โดยสถาปนิกจัดวางให้หันหน้าไปคนละด้าน ทางเข้าแยกออกจากกัน ความสูงของหลังคาไม่เท่ากัน แต่ละส่วนของบ้านทั้ง 2 ทั้งหมดประกอบด้วยรูปแบบที่เรียบง่าย ส่วนที่โครงหน้าจั่วทั้งสองมาบรรจบกันเป็นพื้นที่เปิดโล่งตรงกลาง ใช้เป็นทั้งจุดร่วมทำสถานที่สำหรับครอบครัวมารวมตัวกัน และเป็นจุดแบ่งระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและออฟฟิศ

ภายในโล่งโปร่งมินิมอล

บ้านตกแต่งไม้โชว์โครงสร้างหลังคา

ภายในสตูดิโอศิลปะ “ARTIMEET”จะมีห้องทำงานที่ค่อนข้างปิดขนาด 8 เสื้อทาทามิ  (ประมาณ 12.4 ตารางเมตร) เป็นพื้นที่ต้อนรับลูกค้าเล็กๆ และมีพื้นที่สำหรับจัดเวิร์กช็อปได้ประมาณ 10 คนสำหรับพ่อแม่และลูก หรือครอบครัวของเพื่อนสนิทที่แวะมาทำกิจกรรม ซึ่งผู้มาเยือนสามารถออกมานั่งผ่อนคลายผ่านห้องอาหารที่เป็นช่องว่างขนาดใหญ่เชื่อมต่อครัว ซึ่งสถาปนิกได้คิดค้นวิธีการปกป้องชีวิตส่วนตัวของเจ้าของบ้านไว้แล้วผ่านความแตกต่างในระดับการเปิด ช่องว่างในบ้านและประตูกระจกรอบ ๆ บ้านทำให้เกิดเป็นความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายในอาคารด้วยกันเอง และความสัมพันธ์กับบริบทโดยรอบ

พื้นไม้ประตูกว้าง

บ้านโชว์โครงหลังคา

สำหรับส่วนของบ้านตกแต่งอย่างเรียบง่ายตามแบบฉบับบ้านโมเดิร์นในญี่ปุ่น วัสดุที่ใช้เน้นคอนกรีตไม้ กระจก เป็นหลัก โดยแทบไม่ต้องปรุงแต่งอะไรลงบนเนื้อวัสดุ เน้นความปร่งโล่งไม่มีสิ่งของประดับตกแต่งที่ไม่มีความจำเป็น อีกหนึ่งจุดเด่นคือ หลังคาที่โชว์โครงสร้างไม้ที่เหมือนถูกถักสานไปมาดูแข็งแรงแต่ก็อบอุ่น

ครัวตกแต่งไม้สีธรรมชาติ

เหนือครัวเป็นชั้นลอยใช้งานอเนกประสงค์ไม่มีผนังกั้น เหมือนเป็นเวทีอยู่ใจกลางบ้าน ถัดขึ้นไปก็เป็นชั้นต่างระดับไม่ได้เทพื้นหรือเพดานปิดแยกชั้นล่างและชั้นบนจากกัน ทำให้เกิดสเปซว่าง ๆ เอื้อให้คนที่อยู่ในพื้นที่ใช้งานต่างระดับยังคงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างใกล้ชิด และยังทำให้แสงธรรมชาติเดินทางได้ดี อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ง่าย

บรรยากาศบ้านช่วงค่ำ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การแบ่งระดับชั้นแบบ split-level หรือบ้านเล่นระดับมีชั้นที่ลดหลั่นกันไป นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศฝั่งซีกโลกตะวันตก ซึ่งจะเหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่แนวยาวและแคบ  และต้องการการแบ่งห้องที่เป็นสัดเป็นส่วน แต่พื้นที่โปร่งโล่ง  ไม่ทึบตัน  และอากาศไหลเวียนได้สะดวก ซึ่งการแบ่งระดับบ้านเป็นสองฝั่งค่อย ๆ ไต่ระดับสู่แต่ละห้องทีละครึ่งชั้น ความสูงประมาณ 4-5 ขั้นบันได  โดยไม่ต้องมีผนังกั้นห้องเป็นอีกทางเลือกที่ดี เพราะใช้การยกพื้นแยกพื้นที่ใช้งานชัดเจน แต่ยังดูเป็นสเปซเดียวกัน 

แปลนบ้าน

1Fplan

2Fplan

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด