เมนู

A Frame House เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของเนินดิน

บ้านผนังติดดิน

บ้านหลังคาจั่ว องศาลาดเอียงต่ำ

แนวคิดในการสร้างบ้านใหม่ๆ ไม่ได้ตีกรอบเฉพาะว่า “บ้าน” เป็นแค่ที่อยู่อาศัย แต่มีการตีความแยกย่อยออกไปได้มากมายความความคาดหวังของผู้ใช้งานด้วย อย่างสถาปนิก Mcterra Architects ได้ทำงานร่วมกับเจ้าของบ้านในอินเดีย จนได้ข้อสรุปออกมาว่า “บ้าน” คือการยกระดับและแสดงศิลปะของสถาปัตยกรรมไว้ในที่เดียว นอกจากนี้ ภายนอกและภายในยังเชื่อมต่อกันเพื่อขับเน้นความสงบและความสุข ให้บ้านเป็นทั้งมุมผ่อนคลายใช้ชีวิตในแบบที่ชอบ และใส่ลูกเล่นในการออกแบบเส้นสายที่น่าสนุก

ออกแบบ : Mcterra Architects
ภาพถ่าย : Justin Sebastian Photography
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านหลังคาจั่วชายคาต่ำทรง A Frame

Bizarre เป็นที่พักอาศัยที่สวยงามขนาดพื้นที่ 487 ตารางเมตร ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวขจีแวดล้อมภูมิทัศน์อันสวยงามในเมือง Ernakulam รัฐ Kerala ประเทศอินเดีย ออกแบบอย่างประณีตโดยสถาปนิก Colin Jose Thomas จาก McTerra Architects & Designers ซึ่งใส่แนวคิดให้ภายในบ้านมีทั้งสุนทรียศาสตร์แบบดั้งเดิม ในขณะที่มีบางส่วนตีความในรูปแบบร่วมสมัย ด้วยรูปทรงบ้านหลังคาจั่วลาดเอียงลงมาต่ำ ๆ เหมือนรูปตัว A  สนามหญ้ากว้าง และชุดสีเอิร์ธโทนให้บรรยากาศที่ทันสมัย

บ้านกลางธรรมชาติ

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านหลังคาจั่วทรง A Frame

สถาปนิกจะนำความลาดชันที่เป็นจุดเด่นของที่ดิน มาผสานที่พักอาศัยเข้ากับภูมิทัศน์ ทำให้บ้านกับธรรมชาติกลายเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างแนบสนิท ด้วยการสร้างอาคารเป็นชุดรูปร่างตัว A หรือสามเหลี่ยมหลาย ๆ อาคาร ให้ส่วนตัวอาคารจะปักลงไปเป็นส่วนหนึ่งของสนามหน้าที่เป็นเนินรับกันพอดี มองดูจากภายนอกเหมือนมีแต่หลังคาจั่วโผล่ขึ้นมาจากดิน

สวนหน้าบ้านสไตล์โมเดิร์น

จากถนนทางเข้าจะมีวงเวียนและสนามหญ้าเขียวๆ วางแผ่นคอนกรีตทางเดินสั้นบ้างยาวบ้าง เมื่อมองดูจากด้านบนลงมาแบบ Bird’s eyes view จะเห็นรูปร่างเรขาคณิตเหมือนสัญลักษณ์ลึกลับบางอย่างที่น่าสนใจ

เฉลียงบ้านต่อเชื่อมไปสระว่ายน้ำ

ห้องทานข้าวตกแต่งโทนสีขาวเทา

อาคารหลักที่อยู่หลังสระว่ายน้ำนั้น จะเป็นโซนสาธารณะที่รวมเอาห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ครัว และห้องน้ำ เข้าไว้ด้วยกันในจุดเดียว เป็นห้องโถงแบบ open plan ใหญ่ ๆ สมาชิกในบ้านสามารถเข้ามาใช้งานได้พร้อมๆ กันหลายคนได้ ตกแต่งบ้านด้วยอิฐในโทนสีขาว เทา ตัดด้วยงานไม้สีน้ำตาลซึ่งเป็นวัสดุพื้นถิ่น สิ่งที่น่าสนใจหลัก ๆ นอกจากการจัดฟังก์ชันแบบใหม่ๆ ให้เข้ากับวัสดุที่คุ้นตาและหาได้ในท้องถิ่นแล้ว ยังใส่รูปร่างเรขาคณิตในรูปแบบที่หลากหลายลงในตัวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเส้นบนผนัง ทางเดิน หรือผนัง ประตูที่เป็นรูกลมๆ

ห้องนั่งเล่น

เพดานตกแต่งไม้เป็นซุ้มกลางบ้าน

ห้องนั่งเล่นที่อยู่ตรงกลาง เปิดผนังกว้างเชื่อมต่อไปยังสระว่ายน้ำและคอร์ทยาร์ทข้างหลัง ทำให้บ้านต่อเชื่อมได้ทั้งสองด้าน ดูเหมือนเป็นอิระไร้ขอบเขต ใส่จุดโฟกัสสายตาตรงนี้ด้วยการกรุเพดานด้วยไม้และต่เอนื่งเป็นเสาไม้ลงมา 4 เสา เหมือนเป็นซุ้มอยู่กลางบ้าน เน้นพื้นที่ที่อยากให้มองยิ่งโดดเด่นเห็นรูปร่างหลังคาชัดเจนจากจุดอื่นๆ

ห้องนั่งเล่นเปิดผนังเชื่อมต่อคอร์ทยาร์ด

เคาน์เตอร์ล้างมือในห้องน้ำ

หลังทำครัวเสร็จแล้ว กำลังอยากล้างมือหรือเปล่า ที่นี่มีมุมล้างมือที่ไม่เหมือนบ้านไหน ๆ เพราะเคาน์เตอร์เป็นคอนกรีตยาววางอ่างล้างมือ 2 ชุด ให้ใช้งานได้หลายคนพร้อมกัน ในขณะที่กำลังล้างมือให้ถึง 20 วินาที เพื่อสุขอนามัยที่ดี ก็ทอดสายตาออกไปชมวิวสวนสีเขียวผ่านกระจกใสไปเพลิน ๆ ในวันที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศทานข้าว ทำงาน อ่านหนังสือ หรือ live ก็แวะเวียนมาใช้พื้นที่ที่เหลือข้างๆ ได้

บ้านนี้เป็นโครงการที่ขนาดค่อนข้างใหญ่ ประกอบด้วยหลายอาคาร เพื่อรองรับลักษณะการอยู่อาศัยสไตล์อินเดียที่อยู่รวมกันหลายครอบครัวในพื้นที่เดียว ซึ่งแม้จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันในครัวเรือน แต่ก็ยังต้องการพื้นที่ส่วนตัว นอกจากอาคารหลักที่เป็นพื้นที่สาธารณะแล้ว ยังมีอีก 2 อาคารที่เรียงยาวขนานกันและใส่คอร์ทคั่นตรงกลาง เป็นห้องนอนแบบ Private ที่ไม่ปะปนกับโซน Public

ผนังช่องลมกลมๆ

ภาพรวมของ Public zone ที่แต่ละฟังก์ชันถูกออกแบบให้มีความโปร่ง โล่ง ไม่มีผนังก่อปิดทึบกั้นระหว่างห้อง ทำให้ทุกส่วนของบ้านเข้าถึงกันได้ทั้งหมด สามารถรองรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน และวันรวมญาติในโอกาสพิเศษที่จะมีสมาชิกมาเพิ่มได้อีกนับสิบ ๆ คน หากบริเวณในตัวอาคารดูแออัด ก็ขยับขยายเปิดประตูบ้านออกไปเชื่อมต่อกับสวนได้อีก

บรรยากาศบ้านช่วงค่ำ

ห้องนอนเปิดเชื่อมต่อเฉลียงได้

บ้านหลุงคาจั่วองศาาดเอียงลงมามากกว่าปกติ ทำให้ได้ประโยชน์หลายประการ ไม่ว่าจะทำหน้าที่เป็นเป็นชายคาให้ร่มเงาปกป้องห้องต่างๆ ที่ใช้วัสดุกระจกจากแสงแดดที่ค่อนข้างรุนแรงในช่วงกลางวัน กันฝนสาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างพื้นที่ใต้ชายคา เป็นเฉลียงขนาดใหญ่ที่ใช้งานเพิ่มเติมแบบกึ่งกลางแจ้งได้

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การจัดบ้านแบบ Open Plan ที่ไม่มีผนังแบ่งกั้นห้องหรือใช้ผนังให้น้อยที่สุดนั้น จะช่วยเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ ภายในบ้านให้เข้าถึงกันได้มากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าบ้านดูมีพื้นที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ภายในสัญจรง่าย โล่งโปร่งสบาย ไม่อึดอัด นอกจากนี้ยังช่วยให้ทุกคนในครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีและสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้ในคราวเดียว 

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด