เมนู

จากหลังมือเป็นหน้ามือ รีโนเวทร้านเก่าเป็นบ้านน่าอยู่

รีโนเวทบ้านหน้าแคบ

รีโนเวทอาคารเก่า

มีใครบ้างไม่อยากอยู่ในบ้านที่สวยงาม ถูกใจ และใช้ชีวิตสบาย ๆ เมื่อมีโอกาสและงบประมาณก็ได้เวลารื้อบ้านเก่าเปลี่ยนโฉมหน้าให้บ้านใหม่ ตัวอย่างร้านค้าในเวียดนาม เดิมเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ติดถนนที่ภายนอกทรุดโทรมและเสื่อมสภาพ ภายในชื้นและมืด เจ้าของจึงตัดสินใจปรับปรุงบ้าน โดยตั้งโจทย์ว่าทำอย่างไรก็ได้ให้อยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม แม้ที่ดินหน้าแคบแต่อยากให้บ้านดูกว้างขวางและโดดเด่น ทีมงานออกแบบจึงใช้ประโยชน์จาก “พื้นที่” ทุกตารางเมตรอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้เปลืองพื้นที่ใช้สอย และดีไซน์ให้สอดรับกับทุกโจทย์ที่เจ้าของคาดหวังในงบประมาณ 850 ล้าน (ดอง) หรือประมาณ 1.18 ล้านบาทครับ

ออกแบบ : TNG Architects – Da Nang
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านเก่าก่อนปรับปรุง

สภาพอาคารก่อนทำการปรับปรุง

จากการสำรวจโครงสร้างอาคารขนาด 4.6×14 เมตรนี้ ทีมงานเห็นว่าผนังด้านข้างบางส่วนยังใช้งานได้จึงไม่ได้ทุบทิ้งทั้งหมด งานปรับปรุงเริ่มด้วยการรื้อส่วนต่อเติมด้านหน้า ทำผนังหน้าบ้านใหม่ ใส่กำแพงบล็อกช่องลมหน้าบ้านและทำระแนงเหล็กเชื่อมต่อขึ้นไปยังชั้นดาดฟ้า วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้บ้านที่ติดถนน โดยยังสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกได้ไม่ตัดขาดจากชุมชน ผนังบ้านรับแสงและลมได้ อีกทั้งยังเป็นการใส่พื้นที่กันชนให้ความปลอดภัยกับบ้านที่ไม่มีรั้วได้ดี

ขณะกำลังปรับปรุงบ้าน

เจ้าของบ้านทั้งคู่มีความหลงใหลในความน่ารัก หวาน มินิมอล ก่อนเริ่มการออกแบบสถาปนิกจึงได้หารือกับเจ้าของอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อทำความเข้าใจความต้องการ ความสนใจ และความต้องการของคู่รัก ทันทีที่เจ้าของเห็นภาพ 3 มิติดราฟแรก ก็พอใจกับการออกแบบ และในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรมาก บ้านสร้างในช่วงเวลาค่อนข้างเร่งด่วน แม้จะมีแรงกดดันด้านเวลา แต่ทีมออกแบบและก่อสร้างยังคงพยายามทำงานให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อให้เจ้าของสามารถเฉลิมฉลองเทศกาลเต๊ด (Tet) ซึ่งเป็นเทศกาลอรุณแรกแห่งปี หรือชาวเวียตนามที่บ้านใหม่ของพวกเขาได้

บ้านหลังทำการปรับปรุง

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ฟาซาดหน้าบ้านและประตูทางเข้า

ห้องนั่งเล่น

เมื่อด้านหน้าปกป้องตัวเองออกจากสายตาของผู้คนที่ผ่านไปมาแล้ว ตัวบ้านจึงเปิดผนังโปร่ง ๆ ได้เต็มที่ โดยใช้กระจกใสเป็นส่วนประกอบของประตู หน้าต่าง เพื่อให้บ้านรับแสงได้มากขึ้น ขจัดข้อด้อยของบ้านหน้าแคบและช่องแสงด้านข้างน้อยได้ดีขึ้น

ห้องนั่งเล่นและชั้นลอย

มุมนั่งเล่น

นัอออกแบบวางพื้นที่ใช้สอยส่วนกลางอยู่ที่ชั้น 1 ออกแบบให้เปิดโล่งแบบไม่มีรอยต่อ ให้ความรู้สึกถึงการระบายอากาศที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่บนพื้นที่ขนาดเล็ก สถาปนิกออกแบบห้องนั่งเล่นและห้องครัวในพื้นที่เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น ๆ รวมทั้งทำให้พื้นที่โดยรวมกว้างขวางและสะดวกสบายมากขึ้น เฟอร์นิเจอร์ทันสมัยและเรียบง่ายด้วยสีอ่อน สีสันพาสเทลบนฉากพื้นหลังสีขาวที่ในมุมนั่งเล่น ครัว ยังช่วยเสริมจุดเด่นของบ้าน ซึ่งมาจากการที่เจ้าของบ้านชอบความสว่างและสีพาสเทล  เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งยังมีเส้นที่อ่อนโยน เส้นโค้งที่ละเอียดอ่อน เพรียวบาง จะช่วยให้ภายในบ้านมีความนุ่มนวลมากขึ้น

ครัวและมุมทานข้าว

ครัวเล็ก ๆ

ห้องครัวเป็นรูปตัว L ตู้ครัวชิดเพดานเพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บของในครัว ผนังห้องครัวยังปูด้วยกระเบื้องเซรามิกสีเขียวใสๆ ตู้ครัวที่มีการออกแบบที่ชาญฉลาดและเป็นวิทยาศาสตร์ สะดวกมากสำหรับการใช้เครื่องล้างจาน โต๊ะทานอาหารขนาดกะทัดรัด เหมาะสำหรับครอบครัวเล็กๆ ที่มีสมาชิกไม่มาก พื้นที่รับประทานอาหารยังเป็นพื้นที่แบ่งห้องนั่งเล่นและห้องครัวอีกด้วย

บันไดขึ้นชั้น 2

ตัวบ้านดูอบอุ่นด้วยโทนสีส้ม-น้ำตาล ผสมผสานอย่างลงตัวกับเฟอร์นิเจอร์ไม้สีอ่อน บันไดลวดลายไม้เช่นกัน บริเวณที่ว่างบ้านบันไดออกแบบให้เป็นโถงสูงยังช่วยให้เพดานห้องนั่งเล่นสูงขึ้น ให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง เติมความรู้สึกพิเศษให้กับบ้าน

ชั้นวางทีวีข้างบันได

โถงบันไดมีช่องแสงโค้งๆ

เมื่อเดินตามบันไดขึ้นมาจะพบกับที่ว่างบนชั้นลอย ซึ่งค่อนข้างสงบไม่มีความเคลื่อนไหวมากมาย จึงจัดเป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณและการสักการะของครอบครัว

ห้องน้ำและพื้นที่ซักล้าง

ห้องซักรีดแบบบูรณาการพร้อมห้องสุขาบนชั้นลอย ผนังของบริเวณนี้ทาสีฟ้าโทนเย็น และพื้นกระเบื้องหินขัดก็สร้างจุดเด่นที่แตกต่างออกไปให้กับพื้นที่นี้ ซึ่งค่อนข้างแปลกเพราะปกติบ้านทั่วไปมักจัดห้องซักล้างไว้ชั้นล่าง

ตกแต่งห้องนอน

ห้องนอนสีน้ำตาลอ่อนจากไม้ สลับกับสีฟ้าเพิ่มบรรยากาศของความผ่อนคลาย มีหน้าต่างทำให้ห้องโปร่งสบายขึ้น เนื่องจากพื้นที่จำกัด ตู้เสื้อผ้าจึงถูกรวมเข้ากับตู้เก็บกระเป๋ารองเท้าของคุณผู้หญิง หน้าบานตู้เป็นงานสานกลิ่นอายท้องถิ่นโปร่ง ๆ ทำให้ตู้เสื้อผ้าไม่มีกลิ่นอับ

ตู้เสื้อผ้า

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : อาคารเก่าที่มองจากภายนอกดูทรุดโทรม แต่ถ้าตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอาจพบว่ามีความแข็งแรงอยู่ ไม่ได้เสื่อมสภาพลงไปทั้งหมด ในการรีโนเวทบางครั้งจึงไม่จำเป็นต้องรื้อ หรือทุบทั้งหมด ช่วยประหยัดงบประมาณในการปรับปรุงบ้านได้มาก อย่างไรก็ตาม การจะเพิ่มหรือตัดโครงสร้างในบ้านที่มีผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ของบ้าน เช่น ผนัง เสา ครัวคอนกรีตขนาดใหญ่ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญอย่างสถาปนิก วิศวกร มาตรวจสอบให้ละเอียด หากทำการรื้อถอนในจุดที่รับน้ำหนักจะทำให้บ้านพังได้ หรือการต่อเติมที่น้ำหนักมากกว่าฐานรากจะรองรับก็ทำให้บ้านทรุดได้เช่นกัน

ชมบ้านบนที่ดินหน้าแคบกันต่อ :https://www.banidea.com/norow-home-by-quang/

แบบบ้านชั้นเดียว

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด รีโนเวทบ้าน


โพสต์ล่าสุด