เมนู

เติมความสดใหม่ ให้ทาวน์เฮาส์เก่าอายุ 89 ปี

รีโนเวททาวน์เฮาส์

ทาวน์เฮาส์เก่ารื้อใหม่ให้สวย

89 ปี ถ้าเทียบกับคนก็อยู่ในวัยที่ร่างกายทรุดโทรมไปมาก บ้านที่ Studio Glume ทำการรีโนเวทนี้ก็เช่นกัน เป็นทาวน์เฮาส์ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1930 ใน Changning เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน บ้านทั้งหมดในชุมชนนี้ก่อสร้างด้วยอิฐและไม้เป็นหลัก ภายในและเค้าโครงภายนอกของแต่ละอาคารก็เหมือนๆ กันหมด ผนังบ้านที่ติด ๆ กันทำให้มีข้อจำกัดเรื่องแสง ต้องระมัดระวังเรื่องขั้นตอนในการปรับปรุงไม่ให้กระทบบ้านหลังอื่น ๆ  แต่ยังมีข้อดีคือโครงสร้างอาคารโดยรวมยังพอใช้ได้ แม้จะขาดทั้งคุณภาพการออกแบบและการก่อสร้าง การออกแบบตกแต่งใหม่จึงเป็นงานที่ถือว่าค่อนข้างหนักทีเดียว เพราะต้องปรับปรุงอาคารให้เป็นอิสระจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ ทั้งในแง่ของรูปลักษณ์ภายนอกและการใช้ชีวิตภายใน

ออกแบบStudio Glume
เนื้อหาบ้านไอเดีย

รีโนเวททาวน์เฮาส์

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ทาวน์เฮาส์ 30 ตารางวาที่ออกแบบให้โปร่งสบาย

หลังจากปรับปรุงใหม่ หน้าบ้านดูโมเดิร์นขึ้นด้วยเส้นสายเรียบง่าย ทาสีขาวดูสะอาดตาโปร่งสว่างด้วยผนังกระจก ให้ความรู้สึกแตกต่างจากบ้านข้าง ๆ อย่างสิ้นเชิง ขนาดบ้านเพียง 30 ตารางวาหน้าไม่กว้าง โครงสร้างภายในเดิมของบ้านแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อยซับซ้อนมาก การวางแปลนพื้นที่ที่มีความวุ่นวายแบบนี้ทำให้การใช้งานไม่สะดวกสบาย แต่ละชั้นถูกตัดขาดออกจากกัน ทำให้เปลืองทรัพยากรในพื้นที่ บ้านขาดแสงเพราะมีช่องทางรับแสงจากด้านหน้าและด้านข้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น


ตกแต่งห้องครัว

ตกแต่งห้องครัว

สถาปนิกเริ่มปรับปรุงภายในด้วยการรื้อผนังบ้านออกบางจุด เพื่อเปิดเชื่อมต่อพื้นที่ให้เป็นห้องโถงโล่ง ๆ ทำแบบนี้ทั้ง 3 ชั้น ชั้นล่างเมื่อเปิดประตูบ้านเข้ามาจะพบกับส่วนของครัวและพื้นที่ทานอาหาร ชั้นที่ 2 เป็นส่วนพักผ่อนนั่งเล่น และชั้นบนสุดเป็นห้องนอน โทนสีที่ใช้เลือกใช้สีขาวเป็นหลัก เพื่อสร้างบรรยากาศให้บ้านดูทันสมัย สว่าง และพรางตาให้บ้านดูเหมือนกว้างขึ้น ตัดด้วยสีดำ และงานไม้ที่เพิ่มความรู้สึกอบอุ่น

ตกแต่งไฟบนผนัง

จากประตูหน้าบ้านเมื่อเปิดเข้ามาจะตรงกับบันได ซึ่งทีมงานได้เพิ่มความเป็นส่วนตัวจากสายตาบุคคลภายนอก ด้วยการสร้างผนังขึ้นมาปิดเอาไว้ และใส่ลูกเล่นเป็นหลอดไฟ LED แสงสีวอร์มเอาไว้บริเวณขอบบนและขอบล่าง ช่วยเพิ่มความสว่างขณะขึ้นบันได แสงสว่างยังช่วยสร้างมิติให้ผนังดูเหมือนลอยได้ จากแผ่นผนังที่ดูหนาหนักจึงดูเบาลอยขึ้น

Double space ตกแต่งไฟเพดาน

ใช้พื้นที่เล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในแง่ของพื้นที่เก็บของ สถาปนิกทิ้งรูปแบบของการแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเดิม ๆ ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้ เพราะจะทำให้กินพื้นที่บ้าน แล้วเปลี่ยนมารวมเฟอร์นิเจอร์เข้ากับโครงสร้างของบ้าน เช่น การบิวท์ตู้เก็บในครัวให้เรียบเนียนไปกับผนัง การใช้พื้นที่ว่างใต้บันได  การรวมกันของหลังคาและตู้เสื้อผ้าในห้องนอน เป็นต้น  การออกแบบที่เรียบง่ายและใช้งานได้จริงเหล่านี้ไม่เพียงเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้กับพื้นที่เท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับปรัชญาการออกแบบที่เรียบง่ายของนักออกแบบ หลาย ๆ ท่าน อย่าง Harald Szeemann และ Tadao ที่เน้นความเรียบและง่ายแต่มีความลึก ใส่ความหมายแฝงอยู่มากมาย

นักออกแบบจัดทำโครงสร้างแนวตั้งของบ้านใหม่ โดยเจาะเพดานออกบางส่วน เพื่อเปิดเป็นโถงสูง Double space จากด้านล่างไปถึงบนชั้นสองและสาม ลักษณะเช่นนี้จะทำให้เกิดช่องว่างในอาคารปล่อยให้แสงและอากาศเข้าถึงพื้นที่บ้านได้มากขึ้น  และยังสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสายตาระหว่างชั้นบนและชั้นล่างให้สามารถโต้ตอบสื่อสารกันได้ แม้จะอยู่ต่างระดับชั้น

ตกแต่งบ้านโทนสีขาวตัดสีดำ

ห้องนั่งเล่นโทนสีขาวตัดดำ

ช่องแสงใหญ่ โถงสูง Double space 

ขึ้นมาบนชั้น 2 จะเป็นห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ ไม่ต้องมีผนังกั้นแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อยจึงใช้งานได้สะดวกและยืดหยุ่น ผนังห้องด้านหนึ่งบิวท์ชั้นวางของสูงจากพื้นจรดเพดาน สามารถวางของใช้ ของโชว์ หนังสือ ได้ตามใจโดยไม่ต้องพึ่งตู้ที่วางกับพื้นเพิ่มเติม ส่วนผนังอีกด้านหนึ่งเจาะเป็นช่องว่างขนาดใหญ่เชื่อมต่อกับระเบียง รับแสงสว่างและอากาศภายนอกเข้ามาในบ้านได้เต็มที่

ผนังสีขาวดำ

ผนังกระจกขนาดใหญ่

พื้นที่ติดระเบียงไม่ปล่อยว่างให้เปล่าประโยชน์ ด้วยการบิวท์เป็นสเต็ปบันไดคล้ายเวทีเล็ก ๆ ให้เปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งเล่นชมวิวได้  จุดนี้ยังบิวท์เชื่อมต่อกับบันไดขึ้นสู่ห้องนอนด้วย ที่พิเศษเพิ่มขึ้นอีกคือทีมงานรื้อเพดานห้องออกในส่วนที่อยู่เหนือสเต็ปออก เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ชั้นบนสุดและรับแสงจากด้านบนลงมาได้ด้วย

ห้องนอนหลังคาเจาะช่องแสงสกายไลท์

skylight ส่องแสงโดยตรงสู่ห้องนอน

ห้องนอนอยู่ที่ชั้นบนสุด จากผนังด้านขวามือจะมองเห็นชั้นห้องนั่งเล่นบางส่วนและสื่อสารกับคนที่อยู่ชั้นล่างได้โดยที่ไม่ต้องเดินลงไป บนเพดานเจาะช่องแสงสกายไลท์รับแสงธรรมชาติเข้ามาสู่หเองจากด้านบนโดยตรง ช่วยให้ห้องนอนสว่างในช่วงกลางวันจนแทบไม่ต้องเปิดไฟฟ้าส่องสว่าง ส่วนของตู้เก็บของ ตู้เสื้อผ้า จะบิวท์ติดผนังไปตามรูปร่างของหลังคา ฝ้าเพดานติดหลอดไฟ LED เน้นเส้นสายโครงหลังคาให้ชัดเจนและน่าสนใจขึ้นในช่วงกลางคืน

ตกแต่งไฟตามกรอบเพดาน

ตกแต่งห้องน้ำ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ปัญหาที่บ้านแบบทาวน์เฮาส์มักจะพบคือ ผนังที่ติดกับบ้านอื่น ๆ ทั้ง 2 ด้าน ทำให้สร้างช่องแสงได้น้อย ภายในบ้านจึงขาดแสงที่เพียงพอต่อความต้องการ การแก้ไขด้วยการเจาะพื้นและเพดานออกบางส่วน สร้างความเชื่อมต่อระหว่างชั้น การเพิ่มขนาดช่องแสงแล้วใส่ผนังกระจก พร้อมกับเติมช่องแสง Skylight ให้บ้านรับแสงเพิ่มได้จากด้านบน นับตามตัวอย่างในการจัดการเรื่องแสงได้เป็นอย่างดี

อ่างล้างมือ

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด