เมนู

บ้านเปิดผนังโล่ง สร้างจังหวะชีวิตใหม่ ๆ ภายใน

ฟังก์ชันใต้ถุนบ้าน

ต่อเติมบ้านแบบ Open Plan

ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ที่มีวัฒนธรรมการอยู่อาศัยแบบครอบครัวใหญ่ มีผู้คนหลายเจเนอเรชันอยู่ร่วมกันในบ้านหลังเดียว ในออสเตรเลียก็มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องนี้ เราจะสังเกตว่าเดิมพื้นที่บ้านในประเทศนี้จะค่อนข้างกว้าง จึงนิยมสร้างบ้านในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้เครือญาติพี่น้อง พ่อแม่ ปู่ยาตายาย ได้อยู่ด้วยกัน แต่ในกรณีที่ครอบครัวเริ่มขยายแต่พื้นที่ไม่มากพอจะเพิ่มแยกต่างหากไปอีกหลัง ก็จะเลือกใช้วิธีการต่อขยายบ้าน โดยพยายามใส่ความเชื่อมต่อโดยไม่ลดทอนคุณค่าของบ้านเดิมลง

ออกแบบNIC BRUNSDON
ภาพถ่าย : Dion Robeson
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

ต่อเติมปรับปรุงบ้านเก่า

บ้านขนาด 299 ตารางเมตร ที่เรียกว่า East Fremantle House หลังนี้อยู่ในย่านชานเมืองเพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย เป็นของเจ้าของบ้านที่อยู่กับลูกๆ สองคนของพวกเขา (อายุ 4 ขวบและเด็กแรกเกิด) ปัจจุบันอาศัยอยู่บริเวณอาคารด้านหน้าที่ดูอันอบอุ่นสบาย แต่เมื่อเด็กๆ โตขึ้น หรือถ้าปู่ย่าตายายย้ายเข้ามาอยู่ด้วยกัน จะมีพื้นที่ใช้สอยไม่พอ จึงต้องการห้องชุดหลักแยกต่างหากที่ด้านหลัง บ้านหลังนี้จึงถูกปรับปรุงและต่อเติมมาสำหรับจังหวะในการใช้ชีวิตใหม่ๆ ของครอบครัว

กันสาดรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าบ้าน

“เจ้าของบ้านต้องการสร้างบ้านที่พวกเขาสามารถอยู่ได้นาน” สถาปนิก Nic Brunsdon กล่าว  เพราะฉะนั้นบรันส์ดอนจึงได้ปรับปรุงกระท่อมที่เป็นมรดกดั้งเดิมที่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบออสซี่คลาสสิกมาเป็นบ้านแบบร่วมสมัย และได้เพิ่มส่วนต่อขยายด้านหลัง เป็นที่ผสมผสานปูนปั้นสีขาวและไม้อันอบอุ่นอย่างสนุกสนาน การดีไซน์เน้นเส้นสายที่เรียบง่าย วัสดุทนทาน พื้นที่ภายในเน้นความโปล่งโล่งให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ง่ายในอนาคต

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ห้องนั่งเล่นโชว์คานไม้

บ้านนี้มีทางเข้าสองด้าน คือ ด้านหน้าผ่านบ้านเดิมและทางเข้าด้านข้างที่ทำขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะมีผนังคอนกรีตพ่นทราย texture ขรุขระ และไม้รูปทรงสามเหลี่ยมเหนือประตูนั่นเอง เมื่อเปิดเข้ามาจะพบกับผนังวิธีนี้จะทำให้ห้องนอนด้านหน้ามีพื้นที่ส่วนตัวที่แยกตัวจากห้องในสวน โดยมีทางเข้าอิฐสีเข้ม ๆ ทำหน้าที่แยกพื้นที่ส่วนตัวและสาธารณะที่เพิ่มขึ้นมาออกจากกัน โค้งๆ ตกแต่งกระเบื้องแนวตั้งสีเทายังเป็นการตอบรับและตอบสนองต่ออิฐแนวนอนแบบดั้งเดิมหลากสีที่เรียงรายอยู่ด้านหน้าอาคารของบ้านด้วย

บ้านรูปตัว L เปิดล้อมสนามหญ้า

สำหรับ Brunsdon สิ่งสำคัญที่สุดของบ้านคือ “สเปซที่ไม่ได้สร้างขึ้น” ด้วยการปล่อยตัวบ้านถูกกำหนดโดยพื้นที่เปิดโล่ง เมื่อเดินผ่านโถงทางเดินอิฐตรงกลางจึงนำไปโซนใช้งานส่วนสาธารณะที่สว่างและโปร่งสบาย ให้ลมพัดผ่านช่องว่างเข้าสู่ภายในบ้านได้โดยตรง บรันส์ดอนเรียกบริเวณนี้ว่า “ห้องในสวน”  เพราะเลย์เอาต์บ้านที่วางอาคารเป็นตัว L เปิดได้กว้างนี้จะโอบล้อมพื้นที่กลางแจ้งไว้ แล้วประตูบานเลื่อนขนาดยักษ์เชื่อมต่อพื้นที่นั่งเล่นในร่มกับลานสีเขียว ช่วยให้บ้านกับสนามหญ้าต่อเนื่องจนเหมือนเป็นพื้นที่เดียวกัน

ห้องทานข้าวเปิดผนังโล่งเชื่อมต่อสนามหญ้า

ผนังบ้านเลื่อนเปิดออกได้กว้าง

อาคารที่ต่อเติมเต็มไปด้วยช่องว่างขนาดใหญ่ จากประตูบานเลื่อนกระจกที่เปิดออกได้หมดจนเหมือนไม่มีผนัง เป็นการหันไปใช้รูปแบบที่ง่ายที่สุดของเทคโนโลยีของมนุษย์ที่เราได้พัฒนาขึ้น นั่นคือการทำความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางของแสงอาทิตย์ ทิศทางลมที่พัดผ่าน เพื่อจัดการระบายอากาศและมวลความร้อน บ้านหลังนี้จึงสร้างห้องที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ความพยายามในการมองหาวัสดุที่เหมาะสม มีโซลูชันที่เอื้อต่อการสร้างสภาวะสบายแบบต้นทุนไม่สูง เปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยในการเชื่อมต่อโดยตรงกับบริบทและสภาพแวดล้อมในทันที  เป็นการทำสิ่งที่ยากที่สุดด้วยสิ่งที่ง่ายที่สุด

ครัวและห้องทานข้าวเปิดผนังโล่งไปยังสนามหญ้า

ครัวโมเดิร์นมินิมอลสีขาว

ในชั้นล่างของอาคารใหม่นี้จะรวมพื้นที่นั่งเล่นพักผ่อนผิงไฟ ต่อเนื่องกับห้องทานข้าวและครัว ซึ่งจัดแปลนแบบ open plan ไม่มีผนังแบ่งกั้นแยกเป็นห้อง ๆ ทุกคนในครอบครัวจึงสามารถเข้ามาใช้งานร่วมกันได้หมด โดยไม่รู้สึกว่าบ้านอึดอัดหรือคับแคบ ในขณะที่คุณแม่กำลังทำอาหารก็ยังสามารถพูดคุยกับเด็ก ๆ ที่วิ่งเล่นอยู่ในสนามหญ้า และมองเห็นคุณพ่อที่นั่งอ่านหนังสือในมุมนั่งเล่น หรือจะเลยไปทางขวามือที่ห้องพักผ่อนส่วนตัวต่างระดับในอีกปีกของบ้าน ก็ยังสังเกตเห็นกันได้ แม้บ้านจะกว้างแต่กลับรู้สึกว่าได้สื่อสารกันอย่างใกล้ชิด ความยืดหยุ่นและลื่นไหลทำให้ทุกคนในบ้านความสามารถกำหนดจังหวะ รูปแบบ และคุณภาพของชีวิตประจำวันได้ตามใจชอบ

ครัวโมเดิร์นมินิมอลสีขาว

ห้องน้ำตกแต่งอิฐสีขาวมี skylight

ห้องนั่งเล่นต่างระดับลงไป

ในบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นมุมพักผ่อนที่มีลักษณะเป็นหลุมลงไปมากนัก แต่สำหรับบ้านชาวต่างชาติจะมีให้เห็นทั่วไป นอกจากจะให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ทำให้บ้านมีลูกเล่นมากขึ้นแล้ว พื้นที่ที่เป็นหลุมลงไปยังรู้สึกอบอุ่นเหมือนได้รับการโอบอุ้ม ทำให้นั่งนอนเล่นได้อย่างผ่อนคลาย

บันไดและราวไม้

บันไดเก๋ ๆ และโถงทางขึ้นชั้นสอง

อีกหนึ่งมุมน่าสนุกในบ้านคือบันได ที่มีทั้งการเล่นระดับสูงต่ำลงไปยังโซนนั่งเล่นแล้วยังใช้ความต่างของวัสดุอย่างคอนกรีต ไม้ เส้นสายของราวจับมาทำให้ต้องกันกลับมาโฟกัสบริเวณเล็ก ๆ นี้ซ้ำ ๆ

ห้องนอนใต้หลังคา

ห้องน้ำตกแต่งกระเบื้อง subway สีแดง

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย :  ในบ้านที่ต้องการจัดแปลนบ้านสองชั้น (หรือชั้นเดียว) ให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน เพื่อรองรับจำนวนสมาชิกที่มีหลาย อาจจะใช้การแบ่งโซนหลัก ๆ เป็นสองส่วนคือ โซนใช้งานคงที่และโซนเคลื่อนไหว (ซึ่งจะคล้ายกับการจัดพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ) โซนคงที่หมายถึงส่วนที่ต้องการความสงบเคลื่อนไหวน้อยๆ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ที่แยกออกไปต่างหาก และโซนเคลื่อนไหวซึ่งจะมีการประกอบกิจกรรมมากกว่า อาทิ ห้องนั่งเล่น ทานขาว ครัว จัดไว้ในบริเวณเดียวกันเป็นโถงโล่งๆ กว้างๆ ไม่ต้องก่อผนังแยกเป็นห้องเล็กห้องน้อย แบบที่เราเรียกว่า open plan ทำให้บ้านดูกว้าง มีความยืดหยุ่นลื่นไหล และสามารถใช้งานทุกฟังก์ชันได้พร้อมกันหลายๆ คน

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ตกแต่งบ้าน


โพสต์ล่าสุด