
นอนดี หลับสบาย ด้วยเครื่องเติมอากาศดี SCG Active AIR Quality
“นอนน้อย..แต่นอนนะ” คำนี้เหมือนเป็นการพูดเล่นขำ ๆ แต่จริง ๆ แล้วจำนวนชั่วโมงการนอนหลับที่น้อยมากต่อวัน หรือการอดนอนอย่างต่อเนื่อง มีผลโดยตรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากสมองจะอ่อนล้า มีปัญหาเรื่องความจำ ตื่นนอนมาแล้วไม่สดชื่น ระบบภูมิคุ้มกันก็ลดลง แถมพ่วงความเสี่ยงเป็นโรคความดัน เบาหวาน โรคหัวใจถึง 2 เท่า !!! ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจกับสิ่งที่มีผลต่อการนอนหลับ เพื่อให้สามารถนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เดิมทีเราทราบมาว่าความเครียด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือมีคาเฟอีน และเสียงรบกวน เป็นปัจจัยหลักที่มีผลอย่างมากต่อการหลับ แต่ทราบหรือไม่ว่า มีการวิจัยในหลายประเทศระบุว่า ต้นตอการหลับไม่สนิทส่วนหนึ่งมาจากคุณภาพอากาศภายในบ้านของเรานั่นเอง เนื้อหานี้บ้านไอเดีย ขอยกตัวอย่างมลพิษทางอากาศที่มีผลต่อคุณภาพการนอนและสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางให้แต่ละบ้านได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดกันครับ
สนับสนุนโดย: SCG Smart Living
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศและสารก่อภูมิแพ้ ไม่ได้พบได้แค่ภายนอกบ้าน เพราะภายในบ้านเองก็หนีไม่พ้น โดยเฉพาะตอนนอนหลับที่มักสูดอากาศที่ปนเปื้อนมลพิษเข้าไป ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการหายใจผิดปกติในการนอนหลับได้ครับ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักมลพิษทางอากาศที่พบได้บ่อยในบ้านกันก่อนครับ
- PM 2.5 ฝุ่นละอองโมเลกุลเล็กจิ๋ว
มีงานวิจัยจากหลายประเทศเปิดเผยว่า การสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ปริมาณมากนั้น มีโอกาสสูงที่ประสิทธิภาพการนอนหลับจะด้อยลง อย่างเช่นในประเทศจีน ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทางอากาศกับความผิดปกติของการนอนหลับ กับมลภาวะในชั้นบรรยากาศ 3 ชนิด (PM2.5, PM10, NO2) ว่าสัมพันธ์กับความผิดปกติของการนอนหลับหรือไม่ ผลสรุป คือ การสัมผัสกับ PM2.5, PM10 และ NO2 เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาการนอนหลับได้เหมือนกัน *
นอกจากปัญหาประสิทธิภาพในการนอนที่ลดลงแล้ว การหายใจนำฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในขณะหลับ ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วย ซึ่งมีงานวิจัยของสหรัฐอเมริกาศึกษาไว้จากกลุ่มตัวอย่าง 1,974 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี (โดยตัดความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับด้านอื่น ๆ ออกไป) พบว่า การหายใจเอาทุก ๆ 5 μg/m3 ของฝุ่น PM 2.5 จะเพิ่มความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับถึง 60%** ซึ่งเป็นปัญหาที่อันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรง
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂ )
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในบ้านมาจากทางไหน? คำตอบคือ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การหายใจเข้าออกในที่ปิด ไม่มีช่องทางระบายอากาศ ทำให้ไม่มีการแลกเปลี่ยนของอากาศ ยิ่งจำนวนคนมาก ออกซิเจนก็จะค่อย ๆ ลดลง ขณะที่ปริมาณ CO₂ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจเกินเกณฑ์มาตรฐานได้ (ปริมาณ CO₂ ภายในอาคารปกติต้องไม่สูงเกิน 950 ppm) หากเกินจากเกณฑ์ปกติจะเริ่มส่งผลเสียต่อร่างกาย มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อึดอัด ไม่มีสมาธิ ซึ่งพบได้ว่าในห้องนอนที่ปิดประตูหน้าต่าง อัตราการระบายอากาศมักจะต่ำมากจนระดับ CO₂ อาจเกิน 2,500 ppm ได้ หากถึงระดับนี้จะเริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพและกระทบกับคุณภาพการนอนโดยตรง
- ก๊าซพิษอื่น ๆ เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)
ฟอร์มัลดีไฮด์ภายในบ้าน ส่วนใหญ่มาจากวัสดุที่ใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์และการก่อสร้างใหม่ เช่น กาว ไม้อัด ปาติเกิลบอร์ด เฟอร์นิเจอร์ สารเคลือบต่าง ๆ หากไม่ได้รับการจัดการที่ดีระดับฟอร์มัลดีไฮด์จะยังคงสูงขึ้นอย่างเป็นอันตรายนานถึง 15 ปี ส่วนสารอินทรีย์ระเหยง่าย เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก ระเหยเป็นไอได้ง่าย กระจายตัวไปในอากาศได้ในอุณหภูมิห้องและความดันปกติ VOCs ที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สีทาบ้าน ควันบุหรี่ น้ำยาย้อมผม สารฆ่าแมลง ที่เป็นไอระเหยปะปนในอากาศ การสูดดมหายใจในห้องนอนนาน ๆ จะทำให้แสบโพรงจมูก เจ็บคอ หายใจไม่สะดวกจนรบกวนการนอน
ปรับคุณภาพอากาศ แก้ปัญหาการนอนหลับ
1.เพิ่มต้นไม้ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษ
วิธีดูดซับสารพิษที่ลงทุนน้อยที่สุด คือ การปลูกต้นไม้ที่มีคุณสมบัติดูดซับสารพิษในอากาศได้ ซึ่งมีงานวิจัยรองรับผลการทดสอบ มีต้นไม้หลายชนิด เช่น กวักมรกต ซานาดู ลิลลี่ หรือเดหลี พืชเหล่านี้สามารถที่จะดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าไปทำปฎิกิริยาในกระบวนการสังเคราะห์แสงของมันได้ แต่ต้นไม้ทำงานช้ากว่าการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์ ยิ่งภายในบ้านที่อยู่กันหลายคนก็ยิ่งมีประสิทธิภาพลดลง ต้องเพิ่มจำนวนต้นไม้ให้มากขึ้น
2. ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ลดมลพิษภายในบ้าน
เป็นอีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่รวดเร็วและเห็นผลชัดเจนกว่าการปลูกต้นไม้ โดยเครื่องฟอกอากาศ (Air purifier) จะทำงานโดยใช้หลักการที่ว่า ภายในห้องหรือบ้านมีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกในอากาศอยู่แล้ว เมื่อเปิดเครื่องฟอกอากาศ จะทำหน้าที่ดึงอากาศเสียเหล่านั้นผ่านแผ่นกรองก่อนปล่อยอากาศที่กรองแล้วออกมา ทำให้อากาศภายในบ้านสะอาดขึ้น แต่หากค่าฝุ่น PM2.5 สูงมาก ๆ จะไม่สามารถใช้ได้ทั้งพื้นที่หรือทั้งบ้าน อาจต้องเพิ่มจำนวนเครื่องให้ทำงานร่วมกัน
3. ติดตั้งเครื่องเติมอากาศดี ปรับคุณภาพอากาศให้ดีตั้งแต่ก่อนเข้าบ้านและช่วยเจือจาง CO₂ ด้วยการเติมออกซิเจนเข้ามาแทนที่
การป้องกันย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการแก้ไข ซึ่งเครื่องเติมอากาศดีก็ตอบโจทย์มากในข้อนี้ เครื่องเติมอากาศดีใช้หลักการทำงานเป็นระบบ อย่างเช่น เครื่องเติมอากาศดี เอสซีจี หรือ SCG Active AIR Quality ระบบที่ช่วยปรับคุณภาพอากาศภายในบ้านตั้งแต่ต้นทาง ด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอน
ดึงอากาศใหม่จากภายนอก ผ่านด่านกรองด้วยฟิลเตอร์คุณภาพสูง 5 ชั้น
SCG Active AIR Quality ทำงานโดยเริ่มจากการดึงอากาศใหม่ภายนอกเข้ามาในบ้านผ่านช่องเติมอากาศติดผนัง ซึ่งอากาศที่ดึงเข้ามาก็อาจประกอบด้วยฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซต่าง ๆ สิ่งปนเปื้อนในอากาศอย่าง เชื้อโรค และอื่น ๆ ทั้งหมดจะต้องผ่านด่านตัวกรอง (Filter) ที่มีประสิทธิภาพถึง 5 ชั้น โดยมี Carbon Filter ช่วยป้องกันไม่ให้กลิ่นจากภายนอก เช่น กลิ่นขยะ กลิ่นควัน กลิ่นก๊าซและสารระเหย รวมถึงยับยั้งไม่ให้อนุภาคสารเคมีอันตราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งเข้าสู่บ้านได้ นอกจากนี้ยังมี HEPA H13 Filter แผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง กรองฝุ่นโมเลกุลขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 เชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส รวมถึงไวรัสกลุ่มโคโรน่าได้ 99.97% และแผ่นกรองเคลือบสารยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรน่า SARs-CoV-2 สามารถกำจัดเชื้อ SARs-CoV-2 สาเหตุของโรค Covid-19 ได้ 99% ภายใน 5 นาที*
*จากการทดสอบกับสายพันธุ์ Delta โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยมาตรฐาน ISO 18184 โดยอากาศที่ผ่านการกรองจากเครื่องเท่านั้นที่ปราศจากเชื้อ SARs-CoV-2 สาเหตุ Covid-19
ทั้งนี้ เครื่องเติมอากาศดี SCG Active AIR Quality ในรุ่นท๊อป อย่าง XA150i ยังเพิ่มตัวกรองมากขึ้นอีก 1 ชั้น ได้แก่ Medium Filter ที่มีคุณสมบัติช่วยดักจับอนุภาคขนาดกลาง ทำให้ประสิทธิภาพการกรองทำได้ดียิ่งขึ้นไปอีก
เติมออกซิเจนภายในบ้านลดปริมาณ CO₂
วิธีการที่จะลดระดับ CO₂ ได้ก็คือการเติมออกซิเจนเข้าไปแทนที่ โดยปกติบ้านจะได้รับออกซิเจนจากภายนอกเข้ามาภายในด้วยการเปิดประตู หน้าต่าง และช่องเปิดอื่น ๆ แต่ในช่วงที่มีมลภาวะทางอากาศ หลายบ้านต้องการหนีจากฝุ่น ควัน ก๊าซจะปิดบ้านทุกช่องทาง เมื่อเราหายใจสูดออกซิเจนเข้าไป แล้วหายใจออกมาเป็น CO₂ ตลอดเวลาในบ้านที่อากาศไม่ถ่ายเท จะทำให้ปริมาณออกซิเจนเบาบางลง ในขณะที่คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น จึงต้องเพิ่มการหมุนเวียนของอากาศในบ้านแบบไม่ต้องเปิดประตูหน้าต่าง โดย SCG Active Air Quality จะช่วยเติม O₂ จากอากาศภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านเรื่อย ๆ เพื่อรักษาระดับออกซิเจน พร้อมกับดันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป
สร้าง Positive Pressure อากาศดีด้วยแรงดันบวก ดันอากาศเสียออกจากบ้าน
ขั้นตอนต่อไปจะมีระบบสร้าง Positive Pressure เหมือนห้องปลอดเชื้อตามโรงพยาบาล นั่นคือ เมื่อเครื่องเติมอากาศใหม่เข้ามาเรื่อย ๆ ในห้องปิด จะทำให้ห้องเกิดแรงดันสะสม จนอากาศภายในบ้านมีแรงดันเป็นบวก ซึ่งแรงดันอากาศภายในที่มากกว่านอกบ้าน จะดันเอาอากาศเสียคงค้างออกจากบ้านตามช่องว่างต่าง ๆ อาทิ ขอบประตู หน้าต่างตลอดเวลา ทำให้ฝุ่น ก๊าซ เชื้อโรค สิ่งปนเปื้อนจากภายนอกบ้านแทรกซึมเข้าสู่ตัวบ้านได้ยาก
เมื่อคุณภาพอากาศภายในบ้านดี ก็เป็นตัวช่วยส่งเสริมให้คุณภาพการนอนหลับดีไปด้วย สำหรับผู้อ่านท่านใดสนใจติดตั้งเครื่องเติมอากาศดี SCG Active AIR Quality เพื่อให้บ้านมีอากาศสะอาด มีระบบการไหลเวียนอากาศที่ดี โดยไม่ต้องกังวลเรื่องฝุ่น PM 2.5 และก๊าซ CO₂ ที่รบกวนคุณภาพชีวิต สามารถติดต่อสอบถาม หรือเข้าชมระบบตัวอย่างได้ที่ได้ที่ SCG Experience, SCG Home Solution มีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การสำรวจหน้างาน ประเมินราคา ตลอดจนการติดตั้งที่รวดเร็วได้มาตรฐาน
รายละเอียดเพิ่มเติม
เว็บไซต์ : SCG Smart Living | โทร. : 02-586-2222