เมนู

เปลี่ยนบ้านไม้เก่า เป็นแหล่งไลฟ์สไตล์ใหม่สุด Cool by BodinChapa

รีโนเวทบ้านไม้เก่า

รีโนเวทบ้านไม้เก่า

Tamarind Bistro and Music House ร้านอาหารบรรยากาศสบายๆ ช่วงค่ำมี live music ดีๆ ให้ฟัง ณ เชียงรายนี้ เป็นผลงานการออกแบบรีโนเวทโดย BodinChapa Architects ที่เข้ามาชุบชีวิตบ้านไม้สองชั้นสองหลังที่มีอายุ 50 ปี ใจกลางเชียงรายให้กลับมามีชีวิตชีวาและส่งต่อคุณค่านี้ให้คนรุ่นหลังได้ดู ซึ่งคอนเซ็ปนี้ถือเป็นงานถนัดของทีมงานเห็นได้จากงานออกแบบโปรเจ็คป่าซางคาเฟ่ในเชียงรายที่หลายคนคงเคยเห็นมาก่อนหน้านี้ ที่เน้นถ่ายทอดตัวสถาปัตยกรรมให้ยังคงความเป็นพื้นถิ่นเเละร่วมสมัยไปพร้อม ๆ กัน

ออกแบบBodinChapa
เนื้อหาบ้านไอเดีย

tamarind-bistro-and-music-house

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

tamarind-bistro-and-music-house

รีโนเวทบ้านเก่าให้คงเอกลักษณ์

ความท้าทายของการออกแบบโปรเจ็คนี้มีอยู่หลายประการ อันดับแรกคือ การปรับปรุงบ้านที่ต้องตีความอย่างระมัดระวัง ให้พี่น้องชาวปรับเปลี่ยนมุมมองบ้านไม้เก่าที่คุ้นเคยในฐานะแหล่งไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ อย่างน่าสนใจโดยไม่บิดเบือนคุณค่าเดิม สถาปัตยกรรมต้องสามารถดึงดูดกลุ่มคนหลายช่วงอายุให้กล้าเข้ามาใช้พื้นที่แบบไม่ต้องกลัว เนื่องจากพื้นที่เดิมเป็นอาคารไม้เก่าที่มีอายุมากกว่า 50 ปีทำให้สภาพภายในและภายนอกค่อนข้างโทรมและผุพังไปตามกาลเวลา ในขณะที่การใช้งบประมาณการก่อสร้างต้องน้อยที่สุดแต่ดีที่สุด

ปรับปรุงบ้านสไตล์ชนบทให้ร่วมสมัย

หลังจากรวบรวมรายละเอียดของอาคารเดิมและตรวจสอบโครงสร้างว่าส่วนไหนที่สามารถเก็บไว้คงเดิมและนำมาใช้ใหม่ได้ สถาปนิกก็ลงมือร่างแบบโดยพยายามดึงเอกลักษณ์ของสิ่งที่มีอยู่ออกมา ทีมงานพบว่าจุดเด่นของบริเวณนี้คือ บ้านไม้และต้นไม้ใหญ่เก่าแก่รูปทรงสวยงามที่ให้ร่มเงาแก่พื้นที่โดยรอบ สองสิ่งนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะสร้างเอฟเฟกต์ในรูปแบบที่หลากหลายให้กับโครงการ  ทำให้นักออกแบบพยายามเชื่อมต่อพื้นที่ภายในและภายนอกเพื่อลดความทึบของอาคาร และใช้ความความโปร่งนี้เป็นตัวประสานอาคารเข้ากับต้นไม้

ตีความใหม่แต่ไม่ทิ้งคุณค่าเดิม

บริเวณภายในประกอบด้วยสองอาคารมีลานคั่นอยู่ตรงกลาง สถาปนิกเริ่มต้นงานด้วยการด้วยการแทรกวัสดุที่ทันสมัยโปร่งแสงเข้าไปในสร้างกรอบในรูปแบบใหม่ให้บ้าน เช่น การถอดผนังไม้ชั้นบนของเดิมออกแล้วใช้แผ่นโพลีคาร์บอเนตมาตัดเป็นชิ้นขนาดเท่าแผ่นไม้แป้นแล้วใช้รูปแบบการติดตั้งล้อไปกับผนังเก่า ส่วนผนังชั้นล่างของบ้านทางซ้ายมีอีกจุดเด่นที่สะดุดตาทันทีที่มองเข้ามาคือ การใช้บล็อกแก้วใสแทนที่ผนัง บันไดข้างนอกเปลี่ยนจากไม้มาเป็นเหล็กทาสีน้ำตาลแดงดูคล้ายบันไดไม้เข้ากันได้กับราวระเบียงที่ทำจากไม้เช่นกัน บล็อกแก้วนอกจากมีราคาไม่แพงแล้ว ยังช่วยให้อาคารที่ก่อทึบมีความโปร่งแสง สามารถดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในอาคารได้ดี วิธีการก่อสร้างยังเป็นมิตรกับช่างในพื้นที่อีกด้วย

ระหว่างอาคารทั้งสองเป็นลานกว้าง ๆ สถาปนิกจึงจัดภูมิทัศน์ล้อมรอบลานที่มีต้นไม้ใหญ่ เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างอาคารสร้างพื้นที่ทานอาหารเอาท์ดอร์บรรยากาศสบายภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ที่สวยงาม

ปรับปรุงบ้านก่าให้ร่วมสมัย

ลักษณะอาคารโดยรวมสามารถเพิ่มความน่าสนใจของพื้นที่ได้มากขึ้น โดยที่รูปลัษณ์ไม่แตกต่างแปลกแยกออกจากบริบทแวดล้อมโดยรอบ ตอบสนองความต้องการของการเปลี่ยนแปลงของอาคารด้วยงบประมาณจำกัด ตรงตามโจทย์ที่เจ้าของต้องการทุกข้อ

ผนังไม้เก่าผสมแผ่นโปร่งแสง

ปรับปรุงและตกแต่งชั้นล่าง

copy ต้นแบบไว้ใส่วัสดุใหม่ล้อของเดิม

พื้นที่ภายในอีกอาคารหนึ่งก็คงคอนเซ็ปการปรับปรุงและตกแต่งเหมือนๆ กัน คือ copy สไตล์ของอาคารดั้งเดิมแล้วนำมาจัดระเบียบใหม่ โดยพยายามคงโครงสร้าง วิธีการตีฝาผนัง รูปแบบทำช่องแสง บานหน้าต่างให้คงเดิมมากที่สุดแต่เปลี่ยนวัสดุใหม่ ๆ ในบางจุด อย่างผนังบางส่วนเปลี่ยนจากไม้มาเป็นวัสดุโปร่งแสงเพื่อให้เห็นเงาการสะท้อนจากต้นไม้ที่อยู่ด้านนอก เพียงแค่เปลี่ยนวัสดุก็สามารถเชื่อมโยงกับภายนอกและภายในของอาคารและยังเพิ่มความน่าสนใจของอาคารในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่แสงผ่านทะลุออกมาได้ด้วย

พื้นที่แสดงดนตรีชั้นล่าง

ชั้นล่างมีส่วนของพื้นที่นั่งทานอาหาร และส่วนของพื้นที่แสดงดนตรีสดที่เจาะเพดานเป็นโถงสูงทะลุขึ้นไปชั้นบน รอบ ๆ ที่ว่างนี้ทำเป็นชั้นลอยที่สามารถมองเห็น live ได้โดยไม่ถูกตัดขาดออกจากกัน

พื้นที่นั่งฟังเพลงชั้นบน

ในชั้นบนจะเห็นชัด ๆ ว่าผนังทำจากแผ่นไม้และแผ่นโพลีคาร์บอเนตที่อยู่ด้วยกันบนแผงผนังเดียวกันอย่างกลมกลืน สถาปนิกเลือกใช้วิธีการติดเป็นแผ่นเล็ก ๆ แนวนอนตีซ้อนเกล็ดแบบการตีฝาบ้านดั้งเดิม ทำให้ของใหม่แอบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัสดุเก่าได้แบบไม่ขัดตา ภาพรวมของบ้านไม่ดูแปลกแยกและมีความเท่ ดีไซน์และแนวคิดที่สร้างสรรค์นี้จึงถูกใจวัยรุ่นวัยทำงาน ในขณะที่มุมมองของลูกค้าวัยกลางคนขึ้นไปที่มองเข้ามาก็ยังเข้าใจได้ไม่ติดขัด

บรรยากาศรอบร้านยามค่ำ

ภาพของร้านในช่วงกลางวันที่เราคิดว่าสวยแปลกตาแล้ว เมื่อยามค่ำคืนมาถึงเราจะเห็นบรรยากาศในอีกหนึ่งมุมมองที่เปลี่ยนไปอย่างน่าประทับใจ ด้วยระดับของแสงที่ทะลุผ่านวัสดุผนังได้ต่างกัน ทำให้อาคารเรียบๆ ดูเปล่งประกายสว่างไสวเหมือนตะเกียงดวงใหญ่ระยิบระยับกลางดงไม้ เมื่อมารวมเข้ากับการจัดแสงไฟในสวน ไฟที่ซ่อนตามกรอบทางเดิน ไฟตกแต่งต้นไม้ ยิ่งทำให้ที่นี่พิเศษขึ้นจนต้องแวะมาเยือนให้ได้สักครั้ง

การจัดตกแต่งแสงไฟยามค่ำ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : หากต้องการเพิ่มมิติใหม่ ๆ ให้กับผนัง โดยที่ยังสามารถสื่อสารกับภายนอกได้บ้าง อาจทำได้ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีความโปร่งแสงในระดับต่าง ๆ  อาทิ หากต้องการส่วนตัวกลาง ๆ การใช้บล็อกแก้วสี่เหลี่ยม (Glass Block) เป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งผนังที่ตอบโจทย์ เพราะบล็อกมีความใสและโปร่งแสงแต่แข็งแีง กันแดดกันฝนได้ สามารถปล่อยให้แสงสว่างทะลุผ่านได้ 40-75% (แบบใส 75, แบบสี 40) วัสดุอีกชนิดที่โปร่งแสงเหมือนกันแต่แสงทะลุได้มากกว่าและมีความเป็นส่วนตัวน้อยกว่า เช่น แผ่นโพลีคาร์บอเนต แผ่นอะคริลิก เป็นต้น ทั้งนี้การเลือกใช้วัสดุชนิดใดก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการติดตั้งส่วนไหนของบ้าน ต้องการความแข็งแรงและความเป็นส่วนตัวระดับไหน แล้วนำมาใช้ให้เหมาะสม

แปลนบ้าน

http://www.tb-credit.ru/kredit-na-kartu.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด รีโนเวทบ้าน


โพสต์ล่าสุด