เมนู

หน้าแคบ 3 เมตร ไม่ใช่ข้อจำกัดของบ้านมีดีไซน์

บ้านหน้าแคบ

ทลายข้อด้อย ใส่ข้อดีให้บ้านน่าอยู่

บ้านไม้ที่สร้างบนพื้นที่หน้ากว้างเพียง 3 เมตรตัวบ้านไต่ไล่ระดับหลังนี้ แม้จะมีพื้นที่ที่ท้าทายด้วยความแคบ ลักษณะที่ดินเป็นทางลาดลงเนิน ถูกขนาบด้วยที่ดินผืนข้าง ๆ แต่ Cox Rayner Architects ก็กระโจนเข้าใส่โอกาสที่จะลงมือทำบ้านหลังนี้ เติมส่วนขยายที่ทำได้ ปฏิเสธทุกข้อจำกัด จนได้ผลงานที่สะท้อนถึงปรัชญาของสถาปนิกในการทำที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับพื้นที่และผู้อยู่มากที่สุด แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่สามารถทำได้บนพื้นที่ว่างที่เหลือเล็กในตัวเมือง จนกลายมาเป็นบ้านสำหรับพ่อแม่และเด็กสองคนครับ

ออกแบบcox architecture
เรียบเรียงบ้านไอเดีย

คลิกที่ภาพใดๆ เพื่อรับชมภาพในขนาดใหญ่

โครงการนี้เริ่มต้นจากการรีไซเคิลกระท่อมไม้ขนาดเล็กที่มีอยู่ก่อน ให้กลายเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของบ้าน จากนั้นจึงเติมส่วนขยายทั้งด้านหน้าและด้านหลังที่มีความกว้าง 3 และ 5 เมตรตามลำดับ กระท่อมเดิมเปิดให้เป็นพื้นที่สำหรับรับประทานอาหารและเชื่อมต่อกับส่วนหลังอย่างลื่นไหล บ้านด้านหลังจะสร้างไหลลงไปตามความลาดเทของที่ดิน แต่ยกตัวบ้านขึ้นสูงเปิดด้านล่างบางส่วนให้เป็นใต้ถุนโล่ง ๆ

เมื่อก้าวเข้าสู่ตัวบ้านด้านหลัง จะสัมผัสถึงความโปร่งโล่งเพราะภายในทำเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ มีบันไดและระเบียงทำหน้าที่เป็นเหมือนสะพานเล็ก ๆ ทำห้องสมุดเลียบไปกับทางเดิน และเชื่อมต่อห้องครัวและห้องนั่งเล่น พื้นที่ห้องโถงเป็นจุดเด่นของการออกแบบบ้านนี้ สถาปนิกต้องการให้ผู้อยู่ได้รับความรู้สึกของการเปิดกว้างและแสงที่สะท้อนส่องให้บ้านแคบ ๆ ดูกว้างขึ้น โปร่งเบา สบาย นอกจากนี้ยังใส่พื้นที่มัลติฟังก์ชั่น เช่น บันไดสามารถใช้เป็นที่นั่งได้ เป็นต้น

พื้นที่นี้จะปรับตามสภาพภูมิอากาศในฤดูต่าง ๆ ได้ง่าย ในฤดูหนาวก็รับแสงได้มากจากช่องแสงด้านบน หน้าร้อนก็เปิดบานหน้าต่างที่ติดอยู่เต็มแนวผนัง ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะหน้าต่างด้านนอกเท่านั้น ด้านในก็ติดบานหน้าต่างอีกชั้น

การเพิ่มความเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้านในบริเวณใกล้เคียงทำได้ด้วยการติดฉากเหล็กหลายรูปแบบ ตัวบานออกแบบมาให้เป็นรูพรุนลายคล้าย ๆ รอยถลอกของสีบนกระดาน เพื่อให้สามารถรับแสงและเว้นที่ว่างให้อากาศลอดผ่านได้ นอกจากติดเพื่อเติมความเป็นส่วนตัวแล้ว จึงช่วยป้องกันบ้านจากแสงอาทิตย์เมื่อจำเป็น ในฤดูร้อนก็เปิดบานหน้าต่างรับลมได้ตามที่ต้องการ ซึ่งส่วนนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สถาปนิกได้คิดใหม่ว่าควรสร้างความเป็นส่วนตัวอย่างไร ให้ยังคงเชื่อมต่อกับชุมชนได้

พื้นที่บันไดเจาะเป็นโถงสูงแบบดับเบิ้ลสเปซ (Double Space) ความสูงที่มากกว่าปกติทั่วไปเพิ่มพื้นที่หายใจให้กับบ้าน ช่วยให้มีความโปร่งตามากขึ้น ความร้อนระบายขึ้นที่สูงออกจากตัวบ้านตามธรรมชาติได้ดี จึงลดความร้อนที่สะสมภายในสร้างสภาวะสบายภายใน ในแง่ของมุมมองก็ดูสวยงามและมีสไตล์เพิ่มความน่าสนใจให้จุดนี้ของบ้าน

แม้ว่าบ้านจะใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของบ้านเจาะทำโถงสูง แต่สถาปนิกก็ยังเติมฟังก์ชั่นการใช้งานพื้นที่ได้ โดยใส่พื้นที่นั่งเล่นและทำโฮมออฟฟิศเล็ก ๆ บนชั้นลอย จึงไม่เสียพื้นที่ไปเปล่า ๆ

การตกแต่งภายในผสมผสานระหว่างไม้ กระจก และเหล็ก โดยเน้นความรู้สึกอบอุ่นของไม้เป็นหลัก ทำให้บ้านไม่ดูแข็งกระด้าง เสริมบรรยากาศให้เหมือนบ้านในชนบท

Left Over Space เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการนำพื้นที่ในเมืองที่ดูเหมือนจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ มาสร้างเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่เป็นเอกลักษณ์และน่ารื่นรมย์ ความหนาแน่นในเมืองที่มากขึ้นทุกวัน เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่บ้านไม่จำเป็นต้องปิดและดูอึดอัดตามเมืองไปด้วย ถ้าได้รับการออกแบบมาอย่างดี ความกระทัดรัดของพื้นที่ก็ไม่ได้ทำให้เราต้องอยู่แบบถูกบีบอัด ซึ่งบ้านนี้พิสูจน์ได้อย่างดี

แปลนบ้าน

http://credit-n.ru/offers-zaim/oneclickmoney-zaim-na-kartu.html http://www.tb-credit.ru/microkredit.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด