เมนู

บ้านขนาดกะทัดรัด ใช้งานสบายกว่าที่คิด

บ้านหลังเล็กและแคบ

บ้านเล็กหน้าแคบลึก

บ้านนอกจากจะมีหลากดีไซน์แล้วยังมีหลายขนาด ในหนึ่งชุมชนเราอาจขับรถไปเจอบ้านหลังใหญ่มหึมา หรือบ้านหน้าแคบลึกมองจากด้านหน้าอาจจะกว้างเพียง 2.5-3 เมตรเท่านั้น ก็พลอยทำให้นึกสงสัยว่า บ้านพื้นที่แคบแบบนี้จะอยู่อาศัยอย่างไร ภายในรู้สึกอึดอัดบ้างไหม คำถามนี้อาจจะอยู่ในใจของหลาย ๆ คน ซึ่งต้องบอกว่าถ้าการออกแบบบ้านดี การเลือกวัสดุเอื้อต่อการเปิดมุมมองของบ้าน สถาปนิกมีความเชี่ยวชาญในการจัดการสเปซ แสง ลม บ้านพื้นที่เล็ก ๆ ก็ใช้งานได้สบายเหมือนบ้านหลังอื่นๆได้เช่นเดียวกันครับ

ออกแบบ : Architect George
ภาพถ่ายClinton Weaver
เนื้อหาบ้านไอเดีย

มุมนั่งเล่นกลางแจ้งในบ้านหน้าแคบ

Newton House ตั้งอยู่ที่ใจกลาง Newtown ทางตะวันตกชั้นในของซิดนีย์ เป็นหนึ่งโครงการปรับปรุงบ้านเก่าที่ตอบข้อสงสัยว่าพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ สามารถสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร สถาปนิกอธิบายว่าบ้านนี้ว่าเป็น ‘หนึ่งในไซต์ที่เล็กที่สุดที่คุณจะเจอ’ และเขาไม่ได้พูดเกินจริง เพราะบ้านในออสเตรเลียส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่มาก แต่พื้นที่นี้มีเพียง 68 ตร.ม. ทั้งบล็อกมีขนาดเล็กกว่าอพาร์ตเมนต์แบบสองห้องนอนเสียอีก ซึ่งนอกจากขนาดจะมีความท้าทายแล้ว ยังมีบางส่วนเฉียงเป็นมุมแหลม ด้านหน้าติดถนนทางรถไฟ ข้าง ๆ เป็นทาวน์เฮาส์ติด ๆ กัน การออกแบบจึงพิถีพิถันเพื่อจะได้ ‘บ้านเล็กที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว’

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

โจทย์ที่เจ้าของบ้านต้องการ คือ บ้านสองชั้น 2 ห้องนอน 2 ห้องนอน ที่เชื่อมต่อกับแสงแดด ความเขียวขจี และพื้นที่ใช้ชีวิตกลางแจ้ง สถาปนิกใช้ข้อดีของไซต์ให้เป็นประโยชน์ เช่น ทิศทางที่ดินทำให้บ้านได้รับประโยชน์จากแสงแดดที่ดีและอยู่ใกล้กับสิ่งอำนวยความสะดวกในเมือง ซึ่งรวมถึงสวนสาธารณะ สวนผักของชุมชน และโบสถ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกที่มีต้นไม้ล้อมรอบ จึงนำมากำหนดกรอบมุมมองและสร้างการเข้าถึง โดยเว้นพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเอาไว้สร้างมุมนั่งเล่นกลางแจ้งที่เชื่อมต่อพื้นที่ภายในผ่านประตูบานกระจก ทำให้บ้านได้รับแสงทั้งจากด้านหน้าและด้านหลัง

ผนัง

ภายในเห็นร่องรอยของการปรับปรุงอาคารเดิมอยู่บ้าง อย่างเช่น ผนังอิฐกะเทาะซีเมนต์เห็นร่องรอยแนวอิฐหยาบ ๆ ที่ทาสีขาวทับ สถาปนิกได้ใช้ประโยชน์จากพื้นผิวที่หลากหลายที่มีอยู่ในบ้านเดิม เข้ากับเส้นตรงที่เฉียบคมของงานเหล็กและงานไม้ เพื่อให้บริบทโดยรอบเต็มไปด้วยพื้นผิววัสดุและสีสันที่แตกต่างกัน แผนผังชั้นล่างที่มีอยู่ถูกปรับโดยรื้อผนังที่ไม่ต้องการออก ส่งผลให้ภายในดูโล่งโปร่งมองเห็นทะลุกันหมด ห้องน้ำเดิมด้านหลังก็ทุออกเพื่อให้เกิดลานที่มีแสงแดดส่องถึง สามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่ใช้สอยได้ทางมิติของสายตาและมิติของพื้นที่จริงๆ ด้วย

ครัว

ห้องครัวที่ใช้พื้นที่ใต้บันได พื้นที่หมุนเวียนเพียงแห่งเดียวคือพื้นที่ขนาดเล็กครึ่งตารางเมตรที่ลงจอดที่ชั้นหนึ่ง “ขนาดจริงของบ้านไม่ได้มีความสำคัญต่อลูกค้ามากนัก พวกเขาเลือกคุณภาพมากกว่าปริมาณ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น” เขากล่าวเสริม “บ้านที่ยั่งยืนและกะทัดรัดหมายความว่าพื้นที่นั้นมีเอกลักษณ์และมีคุณภาพสูงมากกว่าขนาดที่ใหญ่ขึ้น”

หน้าต่างบานเกล็ดข้างเคาน์เตอร์ครัว

บันไดขึ้นบนชั้นสอง

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อบรีฟสำหรับพื้นที่เพิ่มเติมที่ต้องการกำหนดขอบเขตฟังก์ชันโดยไม่มีผนังทึบกั้น ทีมงานจึงได้เพิ่มวอลลุ่มบริเวณชั้นหนึ่งใหม่ ด้วยการไล่ระดับลงมาเล็กน้อย เหมือนค่อย ๆ ถอยกลับจากมุมทานข้าวลงไปที่ครัวและห้องนั่งเล่น ส่วนของโทนสีเลือกสร้างความรู้สึกสว่างด้วยสีอ่อน ๆ โดยเฉพาะสีขาวที่ทาเป็นบริเวณกว้างที่สะท้อนแสงได้ดี ช่วยพรางตาให้รู้สึกว่าบ้านกว้าง และดึงสภาพแวดล้อมที่หลากหลายให้โดดเด่นขึ้นท่ามกลางฉากสีขาว

บันไดไม้ขึ้นสู่ชั้น 2

บันไดซ่อนฟังก์ชันตู้เก็บของ

สถาปนิกจอร์จใช้พื้นที่ว่างทุกมิลลิเมตรอย่างชาญฉลาด เพื่อให้ใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างเช่น บริเวณตรงข้ามเคาน์เตอร์ครัวจะใช้พื้นที่ใต้บันไดบิลท์เป็นตู้เก็บของ ช่วยลดพื้นที่วางตู้และชั้นที่ไม่จำเป็นลงได้พอสมควร

โต๊ะทานอาหารมองเห็นครัว

เมื่อจัดสัดส่วนของฟังก์ชันที่จำเป็นสำหรับผู้อยู่อาศัย เจ้าของบ้านต้องการเน้นพื้นที่กลางแจ้งหลังบ้านมาก ห้องน้ำคอนกรีตบล็อกที่ทำขึ้นใหม่จึงมีขนาดเล็กลงกว่าเดิม และถูกบีบไว้ภายในมุมเล็ก ๆ ซึ่งจะเป็นส่วนสามเหลี่ยมของไซต์ สถาปนิกจึงทำผนังให้โค้งโอบไปตามรูปร่างที่ดิน วิธีนี้ทำให้หลังบ้านเหลือสเปซกลางแจ้งที่มากขึ้นตามที่ต้องการ เมื่อรวมขนาดลานกลางแจ้งจะเกือบเท่า ๆ พื้นที่ใช้งานในอาคารเลยทีเดียว

มุมมองที่นั่งเล่นจากด้านบน

ห้องนอน

ห้องนอนที่ติดระเบียงสไตล์จูเลียตด้านหลังมีประตูบานสไลด์กระจกใสติดผาม่านสีน้ำตาล ทำให้อาคารสามารถ ‘เปิด’ ไปยังสวนสาธารณะด้านหลังและชุมชนเมืองหรือ ‘ปิด’ เมื่อต้องการความเป็นส่วนตัว ห้องพักทุกห้องยังมีหน้าต่างบานใหญ่ที่หันไปทางทิศเหนือ ทำให้มองเห็นทิวทัศน์สีเขียวอันเป็นที่ชื่นชอบจากเตียง

ห้องนอน

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : บ้านที่มีรูปทรงหน้าแคบลึก มักจะมีข้อจำกัดที่คลาสสิคเหมือน ๆ กัน คือ การขาดแสงช่วงกลางอาคารและไม่มีช่องทางระบายอากาศ ซึ่งสถาปนิกจะมีแนวทางแก้ไขหลายวิธี เช่น การทำช่องแสง skylight รับแสงจากด้านบน การจัดแปลนบ้านแบบ open plan เรียงฟังก์ชันใช้งานร่วมกันให้ต่อเนื่องไปแบบไม่ก่อปิดแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อย หรืออีกวิธีหนึ่งคือ แบ่งอาคารออกเป็นสองส่วน (ครึ่งหน้าและครึ่งหลัง) แล้วใส่สวนคั่นตรงกลาง ทำให้บ้านรับแสงรับลมได้จากช่องเปิดออกสู่ท้องฟ้าตรงกลาง เป็นต้น

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด