เมนู

ปรับปรุงบ้านเก่าอย่างไร ให้ปลอดภัยกับงานโครงสร้าง

ปรับปรุงบ้านเก่าด้วยวัสดุน้ำหนักเบา

ผ่านพ้นปีใหม่กันอีกปี ผู้อ่านอยู่บ้านหลังเดิมหลังนี้เป็นปีที่เท่าไหร่แล้วครับ เชื่อว่าใครก็ตามที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ อย่างน้อย ๆ ต้องอยู่บ้านหลังเดิมเกิน 1 ปี เพราะหลังจากอยู่อาศัยจริงมาสักระยะแล้ว เราจะเห็นจุดที่ยังขาด ยังเกิน ยิ่งหากอยู่มานานนับสิบปี ฟังก์ชันที่เคยคิดว่าดีอาจไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน จึงต้องการเพิ่มฟังก์ชันใหม่ เพิ่มพื้นที่การใช้งาน หรือปรับปรุงซ่อมแซมให้บ้านหลังเดิมกลับมาน่าอยู่ยิ่งขึ้นอีกครั้ง

แต่การปรับปรุงบ้านไม่ได้เป็นเรื่องที่คิดจะทำอะไรก็ทำได้โดยภาระการทันที จำเป็นต้องตรวจเช็คอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะงานโครงสร้างซึ่งมีผลต่อความปลอดภัยโดยตรง เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” นำแนวทางการปรับปรุงบ้าน ที่ไม่มีผลกับโครงสร้างเดิม รองรับการรีโนเวทต่อเติมเล็ก ๆ โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขงานโครงสร้างใหม่มาฝากกันครับ

สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand

ก่อนและหลังปรับปรุงบ้าน

การปรับปรุงหรือรีโนเวทบ้าน มีสเกลงานที่กว้างพอสมควรครับ หากปรับปรุงเบา ๆ เช่น ทาสีบ้าน ซ่อมแซมจุดที่สึกหรอ การปรับปรุงลักษณะนี้จะไม่ยุ่งยาก เจ้าของบ้านสามารถเรียกช่างฝีมือเฉพาะทางมาดำเนินการได้ทันที หรือหากใครพอจะมีทักษะด้านช่างก็สามารถทำเองได้ แต่หากเป็นการปรับปรุงใหญ่ ที่มีการรื้อถอนหรือขยายเพิ่มพื้นที่ใช้สอย มีการปรับเปลี่ยนโฉมบ้านใหม่ ลักษณะนี้จะต้องมีสถาปนิกช่วยดูความเหมาะสมด้านดีไซน์ และจำเป็นต้องมีวิศวกรตรวจสอบโครงสร้างด้วยเสมอ

ส่วนเนื้อหานี้ จะเหมาะกับเจ้าของบ้านที่ต้องการปรับปรุงบ้านระดับกลาง ๆ มีการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งานให้สอดคล้องกับการอยู่อาศัยที่ดียิ่งขึ้น แต่ไม่กระทบกับงานโครงสร้างเดิม โดยนำวัสดุเบามาช่วยในงานปรับปรุง เจ้าของบ้านสามารถปรึกษาผู้รับเหมาหรือช่างที่มีประสบการณ์โดยตรงให้ดำเนินการได้ทันทีครับ

หลังคาน้ำหนักเบา

ภาพ : rivcocob

เปลี่ยนหลังคาใหม่ด้วยวัสดุที่เบากว่า หลังคาเดิม

เมื่อไม่กี่ปีมานี้เกิดเหตุโครงหลังคาบ้านถล่ม ทับเจ้าของบ้านได้รับบาดเจ็บที่จังหวัดปทุมธานี คาดว่าเป็นเหตุมาจากโครงสร้างหลังคาเดิมรับน้ำหนักหลังคาใหม่ไม่ไหว ทำให้เห็นได้ชัดว่าการปรับเปลี่ยนวัสดุหลังคาทั้งผืนนั้น สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือต้องคำนึงถึงการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาเดิมด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าบ้านจะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงหลังคา ควรมีวิศวกรมาตรวจเช็คงานโครงสร้างก่อน หรือมองหาวัสดุมุงที่มีน้ำหนักเบากว่ากระเบื้องหลังคาเดิม เช่น แผ่นเมทัลชีท ซึ่งเป็นแผ่นโลหะรีดลอนที่มีความหนาเพียง 0.3-0.5 ม.ม. จึงให้น้ำหนักเบากว่าวัสดุอื่น ๆ

เมทัลชีทมีน้ำหนักประมาณ 2.82 กิโลกรัม/ตารางเมตร ในความหนาที่ 0.35  มม. ในขณะที่กระเบื้องหลังคาคอนกรีตมีน้ำหนักประมาณ 40-50 กิโลกรัม/ตารางเมตร เมื่อวัสดุมุงหลังคาใหม่มีน้ำหนักน้อยกว่าวัสดุมุงหลังคาเก่า การติดตั้งใหม่จึงไม่มีผลกับโครงสร้างเดิม และด้วยขนาดของเมทัลชีทที่สามารถสั่งตัดตามความยาวหลังคาได้ จึงทำให้ติดตั้งได้ง่าย รวดเร็ว ปัจจุบันหลาย ๆ กรณี ไม่เพียงแค่ปูแทนหลังคาเดิมเท่านั้น แต่ยังนำไปปูทับหลังคาเดิมได้ด้วยครับ

ผนังเบา

ภาพ : outdoortroop

เปลี่ยนพื้นบ้านที่บางเบา

พื้นบ้านเป็นอีกจุดที่หลายบ้านมักปรับเปลี่ยนใหม่ภายหลัง เพราะลวดลายที่เคยสวยทันสมัยเมื่อ 20 ปีก่อน อาจเป็นลวดลายที่เชยในยุคปัจจุบัน อีกทั้งพื้นเป็นจุดที่ต้องรับแรงกระแทกในทุก ๆ วัน ทั้งการเดิน การเคลื่อนย้ายสิ่งของ หากวัสดุไม่แกร่งพอ อาจมีร่องรอยขีดข่วนแตกร้าวรบกวนสายตา การเปลี่ยนพื้นบ้านใหม่ยุคปัจจุบันมีความหลากหลายและสะดวกมากครับ มีทั้งงานแผ่นพื้นลามิเนต พื้นไวนีล พื้น SPC วัสดุเหล่านี้มีความบางและน้ำหนักเบามาก ไม่มีผลกระทบใด ๆ กับโครงสร้าง ทั้งยังติดตั้งง่าย บางรุ่นมีแบบคลิกล็อค เจ้าของบ้านสามารถปูทับพื้นกระเบื้องหรือพื้นคอนกรีตเดิมได้เลย

กั้นห้องภายในด้วยผนังเบา

หากบ้านไหนมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น จำนวนห้องที่มีอยู่เดิมอาจจะไม่พอรองรับ หรือมีความต้องการฟังก์ชันใหม่ ๆ ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสตูดิโอสำหรับอัดเสียงหรือห้องเก็บของ อาจต้องการกั้นห้องใหม่ ทั้งนี้ในการต่อเติมผนังกั้นห้องนั้น เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มักคิดเอาเองว่าการต่อเติมโครงสร้างใหม่เพิ่มห้องเดียว ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว การออกแบบโครงสร้างของบ้านเดิม วิศวกรอาจไม่ได้เผื่อน้ำหนักโครงสร้างสำหรับงานต่อเติมเอาไว้ ยิ่งหากเพิ่มผนังด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ซึ่งมีน้ำหนักมาก จะยิ่งเพิ่มภาระให้กับโครงสร้างเกินความจำเป็น

การกั้นห้อง ปรับเปลี่ยนฟังก์ชันภายในบ้านจึงแนะนำให้ใช้เป็นผนังเบาครับ  เช่น แผ่นยิปซัม, วีว่าบอร์ด แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์หรือสมาร์ทบอร์ด ผนังลักษณะนี้จะเป็นผนังที่ใช้โครงคร่าวไม้หรือเหล็กกัลวาไนซ์มาเป็นโครงสร้างหลัก จากนั้นก็ใช้วัสดุผนังเบาตีปิดทับ ทำให้ติดตั้งได้ไว ต่อเติมบ้านง่าย ไม่ยุ่งยากประหยัดทั้งเวลาและค่าก่อสร้างต่ำ แถมยังทำสีได้เรียบเนียนกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนด้วยครับ

หรือใช้ผนังเมทัลชีทแบบ sandwich panel ที่มีอุปกรณ์เสริมในการติดตั้งแบบสำเร็จรูป ส่งผลต่อโครงสร้างน้อยกว่าการก่ออิฐฉาบปูนแบบทั่วไป ติดตั้งได้ไวไม่ยุ่งยาก มีสีสันสวยงามไม่หลุดร่อน รูปลอนดีไซน์ได้หลากหลาย ทำความสะอาดได้ง่ายและเป็นผนังปลอดสารตะกั่ว สารปรอทปลอดภัยต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัย และด้วยคุณสมบัติความเป็นฉนวนของเมทัลชีทแบบ sandwich panel ยังช่วยรักษาอุณภูมิภายในห้องและช่วยประหยัดไฟฟ้าเมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย

เปรียบเทียบน้ำหนักการใช้วัสดุผนัง

เปรียบเทียบน้ำหนักการใช้วัสดุผนังอิฐมอญ-อิฐมวลเบา-ผนังเบา-เมทัลชีท

ผนังบ้านเมทัลชีท

ภาพ: design-milk

ผนังภายนอกก็เบาได้

กรณีงานต่อเติมที่มีผลกับภายนอก เช่น ระเบียงเดิมกั้นเป็นห้อง, เพิ่มห้องบนชั้นดาดฟ้า หรือเพิ่มพื้นที่ใช้งานใด ๆ ส่วนใหญ่จะต้องเพิ่มทั้งงานผนังและหลังคาบ้าน กรณีดังกล่าวจะมีผลกับการรับน้ำหนักที่เยอะเป็นพิเศษ จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีวิศวกรคอยควบคุมงาน และงานดังกล่าวยังมีผลกับผนังภายนอก ที่ต้องเผชิญทั้งแดดและฝน จึงไม่อาจนำผนังเบาของงานภายในมาใช้งานได้

ไม่ต้องกังวลไปครับ ปัจจุบันผนังบ้านมีตัวเลือกใหม่ ๆ มากมายที่รองรับกับงานภายนอก อาทิ ผนังโฟม EPS ที่สามารถก่อผนังได้ทั้งหลัง ฉาบทาสีได้เหมือนผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป แต่ให้น้ำหนักเบาและป้องกันความร้อนได้ดีกว่า, ผนังซีเมนต์บอร์ด ติดตั้งได้ง่ายด้วยงานโครงคร่าว หลักการเดียวกับผนังเบาภายใน และล่าสุด ผนังเมทัลชีทแบบแซนวิช หรือ แซนวิชพาเนล Colorbond® For Panel จากแบรนด์ BlueScope ที่ช่วยให้จบงานง่ายในคราวเดียว ทั้งผนังฝั่งด้านในและด้านนอก โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาทาสีใด ๆ อีกเลย

Colorbond-For-Panel-BlueScope

เมทัลชีทแซนวิช BlueScope รุ่น Colorbond For Panel

ปกติเราจะคุ้นเคยกับเมทัลชีทที่ใช้มุงส่วนหลังคา แต่ BlueScope แบรนด์ผู้นำเมทัลชีทในไทย ได้ผลิตแผ่นเมทัลชีทที่ใช้สำหรับงานผนังด้วย เป็นเมทัลชีทแบบฉนวนแซนวิช ชื่อรุ่น  Colorbond® For Panel มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีชั้นโลหะที่เคลือบสีหลายชั้นหนาเป็นพิเศษเหมือนลักษณะของแซนวิช ผิวด้านบนใช้เทคโนโลยีเทอร์มาเทค (Thermatech Technology) ช่วยในการสะท้อนความร้อน และเทคโนโลยี คลีน (Clean Technology) ทำให้ผนังสะอาด สีจึงคงความสวยงามได้ยาวนานไม่ซีดจาง ในส่วนของชั้นสีด้านล่างพัฒนาขึ้นมาพิเศษ ให้คุณสมบัติยึดติดกับฉนวนได้ดียิ่งขึ้น ไส้ในฉนวนกันความร้อนสามารถใช้ PU, PIR หรือฉนวนอื่น ๆ ตามขนาดความหนาที่ต้องการ ทุกองค์ประกอบแต่ละชั้นผลิตขึ้นในโรงงาน จึงหมดกังวลเรื่องฉนวนหลุดล่อนภายหลัง รับประกันอายุการใช้งานนานถึง 30 ปี

ผนังบ้านเมทัลชีท

เห็นผนังบ้านเบา ๆ แบบนี้แต่สามารถป้องกันเสียงได้ และยังมีข้อดีด้านความรวดเร็วในงานติดตั้งกว่างานก่ออิฐฉาบปูนมาก นอกจากนี้ผนังมีความบางและเบากว่าผนังอิฐ จึงช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในได้มากกว่าเดิม และลดอัตราการรับน้ำหนักของอาคารได้ดี ต่อเติมห้องบนดาดฟ้าหรือใด ๆ ที่ต้องทำผนังเพิ่มก็ไม่ต้องกังวลเลยครับ


ผู้อ่านท่านใดสนใจนำเมทัลชีทแบบแซนวิชมาใช้งานตกแต่งผนังภายในและภายนอก หรืองานหลังคา สามารถศึกษาข้อมูลวัสดุ สอบถามผู้เชี่ยวชาญจากแบรนด์ BlueScope ได้โดยตรงที่

เว็บไซต์ : https://bit.ly/3oKcaxi  | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด