เมนู

ประกาศ พ.ร.ฎ. เลิกใช้ส้วมนั่งยอง ใช้ส้วมนั่งราบ ชักโครกแทน

ยกเลิกส้วมซึม

เลิกใช้ส้วมนั่งยอง เฉพาะห้องน้ำสาธารณะ

ก่อนอื่นต้องขอย้ำว่า อ่านกันให้จบก่อนนะครับ นำข่าวสารมาฝากกันเล็กน้อยนะครับ เนื่องจากทางบ้านไอเดีย เห็นว่า ข้อมูลดังกล่าวนี้ เกี่ยวข้องกับผู้สร้างบ้าน ตกแต่งบ้าน โดยเป็นข่าวเกี่ยวกับ พ.ร.ฎ. เลิกใช้ส้วมนั่งยอง โดยให้ใช้แบบนั่งราบแทน นั้นอาจเป็นข่าวที่ไม่เป็นความจริงทั้งหมด และอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะได้มีการเผยแพร่กันอย่างมาก ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (อ่านด้านล่างต่อด้วยนะครับ)

ส้วมนั่งราบ ชักโครก

ข่าวที่อาจทำให้เข้าใจผิด

(26 เม.ย.) มีรายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ได้มีพระราชราชกฤษฎีกา ปรับเปลี่ยนสุขภัณฑ์ในห้องน้ำใหม่จากส้วมแบบราบ หรือ ส้วมนั่งยอง หรือ ส้วมซึม ให้เป็นแบบที่มีชักโครกแทน หรือ ส้วมนั่งราบ โดยประกาศดังกล่าวให้มีผลทันทีในอีก 120 วัน นับตั้งแต่วันประกาศ คือวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งการประกาศดังกล่าวเป็นไปตามแผนแม่บทที่ทางรัฐบาล ต้องการพัฒนาส้วมให้มีมาตรฐาน และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากประชาชนได้ถ้ามีคุณภาพต่ำ รวมไปถึงส่งเสริมให้คนไทยมีพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะที่ถูกสุขลักษณะ และ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล โดยตั้งเป้าให้ทุกครัวเรือนมีชักโครกทุกหลังในปี 2559

พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวชื่อว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2556” โดยมาตรา 3 ระบุว่า ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.792 – 2554 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4380 (พ.ศ. 2554) โดยมีหมายเหตุว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และ อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอนามัยของประชาชนได้ หากมีคุณภาพต่ำ จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดแก่ประชาชน

สำหรับที่มาที่ไปเรื่องดังกล่าว คือเมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ในหลักการแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 พ.ศ. 2556 – 2559 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนแม่บทไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายความสำเร็จที่กำหนดไว้ สาระสำคัญ คือ เพื่อพัฒนาส้วมครัวเรือนให้เหมาะสมในการรองรับต่อการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ ป้องกันโรคข้อเสื่อม เพื่อให้ประเทศมีส้วมสาธารณะได้มาตรฐาน สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะที่ถูกสุขลักษณะ ส่งเสริมให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

เป้าหมายความสำคัญ มีดังนี้ให้ครัวเรือนไทยใช้ส้วมแบบส้วมนั่งราบ หรือ ชักโครก ร้อยละ 90 ภายในปี พ.ศ. 2559 สถานบริการสาธารณะ และ สถานที่สาธารณะมีบริการส้วมนั่งราบอย่างน้อย 1 ที่ ประเทศไทยมีส้วมสาธารณะที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายภายในปี พ.ศ. 2559 คนไทยมีพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 90 ของผู้ใช้บริการในปี พ.ศ. 2559 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2559

โดยกลุ่มเป้าหมายส้วมครัวเรือน และ ส้วมสาธารณะ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยว ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาดสด สถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ ศาสนสถาน ส้วมสาธารณะ ริมทาง และ ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า/ดิสเคานต์สโตร์

ทั้งนี้ อ่านต่อให้จบ เพราะข่าวข้างต้นนี้ เป็นข้อมูลที่อาจทำให้เข้าใจผิดกัน ประกาศดังกล่าวนี้ มีผลเฉพาะกับห้องน้ำสาธารณะ เช่น ปั้มน้ำมัน เป็นต้น แต่ยังไม่มีผลกับบ้านเรือนทั่วไป โดยทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาแก้ข่าวแล้ว ดังนี้

วันนี้ (26 เม.ย. ) นพ.ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะที่รับผิดชอบเรื่องส้วม กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตหลายแห่ง ระบุว่า มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกส้วมซึม ภายใน 120 วัน ให้หันใช้ชักโครกแทน ว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการจับแพะชนแกะ ไม่รู้นำมาผูกโยงกันได้อย่างไร ตนก็ยังงงอยู่ ไม่ใช่แล้ว เพราะเป็นการโยงพระราชกฤษฎีกากับ มติ ครม.เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2556 ที่เห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทยระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) ซึ่งการนำเสนอเรื่องนี้ต่อ ครม.ก็เพื่อส่งเสริมให้ส้วมสาธารณะ 12 ประเภท หันมาใช้ส้วมนั่งราบ และชักโครก เท่านั้น

“คนเข้าใจผิดคิดว่าจะมีการไปออกกฎหมายบังคับให้ครัวเรือนให้ใช้ส้วมนั่งราบแทนส้วมนั่งยองหรือส้วมซึม ขอเรียนว่าไม่เป็นความจริง เราไม่สามารถไปออกกฎหมายบังคับชาวบ้านได้ เพียงแต่การนำเสนอของกระทรวงสาธารณสุขต่อ ครม.เพื่อต้องการให้ส้วมสาธารณะ 12 ประเภท คือ แหล่งท่องเที่ยว ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาดสด สถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ ศาสนสถาน ส้วมสาธารณะริมทาง และ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ดิสเคานต์สโตร์ อย่างน้อยต้องมีส้วมนั่งราบ เพื่อรองรับผู้สูงอายุ คนท้อง คนน้ำหนักเกิน ไม่ให้มีปัญหาเรื่องเข่าเสื่อม หรือหน้ามืด ตรงนี้ไม่ได้เป็นกฎหมาย และไม่สามารถไปบังคับชาวบ้านได้ ไม่สามารถไปละเมิดสิทธิประชาชนได้ ไม่มีกฎหมายให้ทำเช่นนั้นได้ ”นพ.ณัฐพร กล่าว

รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวอีกว่า ในส่วนที่มีการออกกฎหมายบังคับแล้วคือ ในส่วนของปั๊มน้ำมัน และสถานที่จำหน่ายอาหาร คือ ร้านอาหารใหญ่ ๆ มีการบังคับว่าจะต้องมีส้วมนั่งราบ 1 ห้อง ไม่ใช่ว่า ห้องน้ำทุกห้องต้องเปลี่ยนมาเป็นแบบนั่งราบ หรือชักโครกหมด แต่ขอให้มีอย่างน้อย 1 ห้อง ส่วนชาวบ้านนั้นอยากรณรงค์ให้หันมาใช้ส้วมนั่งราบหรือชักโคกมากกว่าเพราะส่วนใหญ่มีผู้สูงอายุอยู่ หากทุกบ้านเปลี่ยนมาเป็นนั่งราบได้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาข้อเข่าเสื่อม รวมถึงคนท้อง คนอ้วน

นพ.ณัฐพร กล่าวต่อว่า เรื่องพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2556 เป็นคนละส่วนกับแผนแม่บทที่จะรณรงค์ให้สถานที่ 12 ประเภทหันมาใช้ส้วมแบบนั่งราบ หรือชักโครก เมื่อถามว่า ขณะนี้คนไทยทั่วประเทศมีส้วมนั่งราบ หรือชักโครกใช้มาน้อยเพียงใด นพ.ณัฐพร กล่าวว่า ไม่ถึง 20% เพราะส่วนใหญ่เป็นส้วมซึมหรือนั่งยอง เพราะบ้านนอกหรือบ้านจัดสรรรุ่นเก่าล้วนใช้ส้วมแบบนั่งยอง แต่ถ้าบ้านรุ่นใหม่เป็นชักโครกหมดแล้ว. http://www.tb-credit.ru/microzaim.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ตกแต่งห้องน้ำ


โพสต์ล่าสุด