เมนู

บ้านในเมืองกึ่งชนบท ให้ความเย็นสบายตามวิถีธรรมชาติ

บ้านทรอปิคอลโมเดิร์น

สร้างบ้านไม้โมเดิร์น

ภูมิปัญญาไทยโบราณที่สร้างบ้านได้ตอบสนองสภาพภูมิประเทศแและภูมิอากาศได้ดี ทำให้เกือบทุกภาคนิยมสร้างบ้านใต้ถุนสูง เพื่อให้ลมระบายได้ดีในหน้าร้อน เลี่ยงภาวะน้ำท่วมในฤดูฝนและช่วงน้ำหลาก บางคนอาจจะมองว่าบ้านใต้ถุนสูงดูเชยไปแล้วในยุคใหม่ แต่ไม่เสมอไป เห็นได้จากตัวอย่างบ้านหลังนี้ ซึ่งสร้างในประเทศสิงคโปร์ที่อยู่ในโซนร้อนชื้นเช่นกัน แม้จะออกแบบอิงแนวแบบบ้านทรอปิคัล แต่ลดรายละเอียดเส้นสายให้ชัดเจนขึ้น จัดพื้นที่ใช้สอยให้เชื่อมต่อภายนอกภายในได้ลื่นไหล ทำให้บ้านโมเดิร์นใต้ถุนสูงหลังนี้ใช้งานได้ตอบโจทย์ยุคสมัยมากขึ้น

ออกแบบAtelier-M+A
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

คลิกที่ภาพใด ๆ เพื่อรับชมในขนาดใหญ่ขึ้น

บ้านสองชั้นหลังนี้ออกแบบโดย Atelier-M+A  ที่ได้รับการโจทย์มาว่าต้องการบ้านที่ตอบสนองต่อสภาพอากาศเขตร้อนในสิงคโปร์  บ้านจึงต้องไม่เก็บความร้อน ระบายลมได้ดี มีพื้นที่กลางแจ้งที่ร่มรื่น เช่น ลานเฉลียงและดาดฟ้า (แต่มีหลังคาคลุม) ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเพลิดเพลินกับกิจกรรมกลางแจ้งได้ในขณะที่ยังได้รับการปกป้องจากแสงแดด



บ้านสองชั้นมองจากด้านหน้าจะเห็นเหมือนเป็นหนังคา Slab แต่จริง ๆ แล้วเป็นหลังคาทรงจั่วเทลาดลงด้านหลัง ช่วยให้การระบายน้ำฝนทำได้ดี  ชั้นล่างมีชายคาเรียบ ๆ ยื่นออกมาเป็นหลังคาโรงรถ มีพื้นที่ว่างหน้าบ้านเป็นลานโล่งให้นั่งเล่นรับลมสบาย ๆ ใต้ชายคา ส่วนผนังชั้นล่างเป็นกระจกที่เปิดได้กว้างหลายเมตร จึงดูเหมือนเป็นบ้านใต้ถุนสูงแบบไร้ผนัง ส่วนชั้นบนติดแผ่นไม้แนวตั้งโดยรอบเพิ่มบรรยากาศและสัมผัสของบ้านสุดอบอุ่นแบบเอเชีย ตัดเส้นสายตาให้คมชัดแบบโมเดิร์นด้วยกรอบประตูหน้าต่างสีดำ

ทางเดินจากประตูปูพื้นด้วยอิฐสีแตกต่าง สร้างมิติทางสายตาที่เป็นเอกลัษณ์ของอิฐแต่ละก้อน ให้ความรู้สึกว่าใช้ธรรมชาติเป็นตัวดึงนำสายตาเข้าสู่ตัวบ้าน

ภายในบ้านตกแต่งให้ดูโอโถงต่างจากความถ่อมตัวภายนอก เป็นผลมาจากการสร้างบ้านเจาะโถงสูงแบบ Double Space ทำให้พื้นที่เพดานสูงถึง 8.5 เมตร ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยความโล่งสบายตา โถงสูงแบบนี้นอกจากช่วยในเรื่องการทำให้บ้านดูโปร่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้การระบายอากาศตามธรรมชาติ ที่อากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงทำได้ดีขึ้น บ้านมีช่องว่างให้บ้านได้หายใจเพิ่มขึ้น

อีกหนึ่งคุณประโยชน์ในการทำโถงสูงคือ สามารถเชื่อมต่อพื้นที่ภายในได้หลายช่องทางทั้งแนวนอนแนวตั้ง ผ่านชั้นลอยโปร่ง ๆ ที่ทำให้คนที่อยู่ต่างชั้นมองเห็นกันได้ ช่วยให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวทำได้ง่ายขึ้น ไม่ถูกปิดกั้นแต่ละชั้นด้วยเพดานทึบเหมือนบ้านอื่น ๆ

ชั้นล่างจัดพื้นที่แบบเปิด รวมโซนห้องครัว พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องนั่งเล่น ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้ชีวิตของคนในครอบครัวเอาไว้ด้วยกันในจุดเดียว โดยไม่มีผนังมาแบ่งกั้นห้อง ช่วยให้ใช้งานพื้นที่ได้ลื่นไหล ยืดหยุ่น และเอื้อให้แต่ละคนในบ้านทำกิจกรรมที่ชอบซึ่งอาจมีความแตกต่างได้ในพื้นที่เดียวกัน

ห้องนอนในยุคนี้มักดีไซน์ให้ด้านใดด้านหนึ่งเปิดได้กว้าง และเชื่อมมุมมองต่อเนื่องกับพื้นที่สวน เพื่อให้รับรับอากาศบริสุทธิ์เข้ามาภายในได้ตั้งแต่ยามตื่นนอน และบอกลาวันด้วยความสดชื่นจากธรรมชาติเช่นเดียวกัน

ชั้นบนจะมีพื้นที่ใช้งานเพียงด้านเดียว เพราะอีกด้านหนึ่งหนึ่งแบ่งพื้นที่เป็นส่วนบันได พื้นที่ห้องปูพื้นไม้กั้นระหว่างห้องด้วยผนังกระจกติดประตูกระจกบานไลด์ กระจกจะเป็นตัวกลางช่วยเบลอขอบเขตการใช้งานระหว่างห้องดูต่อเนื่องกัน จึงเหมือนเป็นชั้นลอยที่ดูเป็นอิสระ ประตูและหน้าต่างออกแบบให้กว้างและจัดในจังหวะที่เหมาะสม ช่วยให้ลมเข้าและระบายออกได้หลายทิศทาง

ห้องนอนชั้นบนตกแต่งเรียบง่ายที่สุด ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่จำเป็น ด้วยการวางเตียงนอนเพียงชุดเดียว บิวท์ตู้เสื้อผ้าบานไม้ติดผนัง ติดหน้าต่างตลอดแนวผนังช่วยระบายอากาศและเปิดวิสัยทัศน์ให้สามารถมองเห็นวิว และความเคลื่อนไหวของชุมชนด้านนอกได้

ชั้นล่างที่โล่งโปร่งเปิดออกรับอากาศสบาย ๆ ให้กลิ่นอายวิถีชีิวิตแบบชาวเอเชียในยุคก่อนวนเวียนอยู่ในตัวบ้าน แต่ใส่รายละเอียดภายนอกภายในให้ตอบโจทย์ยุคสมัยได้ดีขึ้น

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด