เมนู

บ้านในเมืองหลวง มองเห็นฟ้า ใกล้ชิดสวน

บ้านในกรุงเทพ

บ้านโมเดิร์นทรอปิคอล

ในชีวิตของคนเราจะมีหลายช่วงที่ต้องเผชิญกับความท้าทายให้ก้าวผ่าน สำหรับสถาปนิกน่าจะเป็นอีกอาชีพที่ต้องเจอกับสถานการณ์อย่างที่ว่าตลอดเวลา เพราะการสร้างบ้านแต่ละหลังก็มีข้อจำกัดต่าง ๆ กัน บ้านในพื้นที่หน้าแคบลึก เป็นหนึ่งโจทย์ที่จะพบมากขึ้น เนื่องจากที่ดินในเมืองที่เริ่มแออัดจะถูกตัดแบ่งแปลงย่อย ๆ อย่างบ้านที่ชื่อโปรเจ็ค “วชิรธรรม” หลังนี้ที่สร้างอยู่ในกรุงเทพฯ ก็มีข้อจำกัดของพื้นที่ของ คือ หน้าแคบและลึกยาว มีสิ่งก่อสร้างขนาบ 2 ด้านเป็นทาวน์เฮาส์ 4 ชั้นอยู่ด้านขวาและบ้าน 2 ชั้นด้านซ้าย จึงเพิ่มความท้าทายเข้าไปอีกระดับที่ต้องเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ใช้สอยอย่างมีคุณภาพไปพร้อมกันด้วย

ออกแบบA+Con Architects
ภาพถ่าย : Rungkit Charoenwat
เนื้อหาบ้านไอเดีย

เรียบง่ายข้างนอกสดชื่นด้านใน

ในซอยวชิรธรรมสาธิต สุขุมวิท 101/1 ที่พลุกพล่าน มีบ้านสองชั้นสีขาวขนาด 48 ตารางวา ที่มีรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมโมเดิร์นเรียบง่ายตั้งอยู่ให้เห็นโดดเด่นมาแต่ไกล ด้วยหน้าที่ดินกว้างเพียง 8 เมตร ลึก 24 เมตร แถมยังถูกขนาบด้วยบ้านทั้งสองด้าน ยังไม่รวมหน้าบ้านที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งค่อนข้างร้อน คุณกอล์ฟเจ้าของบ้าน ซึ่งสถาปนิกจาก A+Con Architects จึงออกแบบบ้านภายใต้คอนเซ็ปต์ “Machine for living in the garden” ให้บ้านมีความสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศในเขตร้อนชื้น ด้วยการเปิดมุมมองโล่ง ๆ ทั้งด้านหน้าและด้านข้างในชั้นล่าง ให้ลม flow ได้ดี เพิ่มความเป็นอิสระให้บ้านจนลืมไปว่านี่คือบ้านหน้าแคบ

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ช่วงที่พระอาทิตย์เดินอ้อมใต้ประมาณเดือนมีนาคม-กันยายน บ้านหันหน้าไปทางทิศใต้จะได้รับแสงแดดค่อนข้างมากแต่มีลมดี สถาปนิกจึงทำผนังบ้านจากบานเกล็ด วางเรียงสลับแนวตั้งและแนวนอน หน้าต่างนี้หมุนปรับองศาได้ ทำให้บ้านยังรับลมได้ดี ในขณะเดียวกันแนวแผ่นกระจกฝ้าก็ช่วยกรองแสง นอกจากจะทำให้บ้านมีมิติของผนังหน้าบ้านที่แปลกตาแล้ว ยังมีประโยชน์ในการแก้ไขเรื่องความร้อนไปด้วยในตัว

คอร์ดยาร์ทกลางบ้าน

สวนทรอปิคอลสาดชีวิตชีวาให้บ้าน

จะเป็นอย่างไรเมื่อเข้าบ้านแล้วเจอป่า คำตอบได้มาหลังเข้าสู่ตัวบ้านแล้วปะทะกับสดชื่นจากสวนที่จัดในสไตล์ทรอปิคอล เต็มไปด้วยไม้ใบฟอร์มสวย ไม้ใบเขียวสด ไม้รากอากาศ เฟิน ดูชุ่มชื้น เป็นการต้อนรับการกลับบ้านที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายในทันที จากประตูรั้วเข้ามาจะเป็นลานจอดรถและพื้นที่Transition ก่อนที่จะเข้าสู่พื้นที่อยู่อาศัย มีสเต็ปค่อย ๆ ยกระดับขึ้นจากถนนประมาณ 1.5 เมตร เพื่อให้พื้นที่ใช้สอยส่วนตัวในบ้านขยับห่างออกจากถนน และเพิ่มมุมมองของบ้านให้สูงขึ้น ผนังด้านข้างของชั้นล่างโล่งให้ความรู้สึกเป็นเหมือนใต้ถุนบ้านที่รับได้ทั้งแสงและลมให้ไหลเวียนในบ้านได้เต็มที่

จัดสวนสไตล์ทรอปิคอล

คอร์ดยาร์ทกลางบ้าน

ที่ว่างเปิดสู่ท้องฟ้าคือจุดโฟกัสสายตา

หากยืนอยู่ในสวนแล้วเงยหน้าขึ้นไปจะเห็นว่าตรงนี้เป็นช่องว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้า (open space) ที่สถาปนิกตั้งใจเจาะช่องว่าเชื่อมพื้นที่แนวตั้งทะลุจากชั้น 1 ถึงชั้น 3 รอบ ๆ ช่องว่างเป็นห้องต่าง ๆ ที่มองมายังสวนได้ทั้งหมด ทำให้ความน่าสนใจของบ้านมารวมอยู่จุดนี้  พื้นที่สีเขียวของสวนที่กระจายความสดชื่นไปรอบด้านจึงเป็นเสมือนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนชีวิต ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการอยู่อาศัยที่นี่ สร้างอารมณ์ขัดแย้งที่ลงตัวของความแข็งแกร่งภายนอกและความอ่อนโยนสดชื่นภายใน

ห้องนั่งเล่นผนังกระจกเชื่อมต่อสวน

ครัวเปิดสไตล์โมเดิร์น

จากห้องนั่งเล่นจะมีผนังกระจกและประตูบานเลื่อนกระจก ที่เปิดมุมมองออกสู่สวนได้เหมือนกรอบรูปชิ้นใหญ่ที่พิมพ์ภาพต้นไม้ลงไปจนเต็ม ส่วนอีกด้านหนึ่งของผนังโซนที่ติดกับครัวจะออกแบบให้แปลกตา ด้วยการบิลท์อินช่องเก็บของบานโปร่งแสง ด้านล่างเป็นช่องหน้าต่างแนวนอน ที่กำหนดมุมมองสายตาให้รับวิวสวนได้ในระยะที่พอดีเมื่อนั่งบนโต๊ะทานข้าว และเป็นช่องรับลมได้อีกทาง

ครัวเปิดสไตล์โมเดิร์น

บ้าน open plan

ภายในบ้านบริเวณชั้นล่างจัดแปลนแบบ open plan ไม่มีผนังมาปิดกั้น จึงกลายเป็นเป็นพื้นที่โล่งเชื่อมกันไปหมดแล้วจัดวางฟังก์ชันต่าง ๆ ให้ใช้งานร่วมกันในพื้นที่เดียว เช่น ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร และห้องนั่งเล่น โดยเลือกใช้โทนสีกลาง ๆ อย่างสีเทาของลายแผ่นหินและหินอ่อน ผนังและเพดานสีขาว ตัดเส้นสายตาด้วยสีดำ เติมแต่งสัมผัสธรรมชาติให้เชื่อมต่อกับภูมิทัศน์ภายนอกด้วยงานไม้ให้บ้านอบอุ่น

บันไดขึ้นชั้น 2

ที่ว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้า

ผนังระเบียงกระจกรอบด้าน

ที่ว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้า

facade ที่ทำให้บ้านหายใจได้

บนชั้นสองจะรู้สึกได้ถึงความโปร่งโล่งมากกว่าชั้นล่าง facade ทั้งสองด้านของบ้านเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นที่หาซื้อได้ง่าย ๆ  อาทิ บล็อกช่องลมช่วยกั้นกรองแสง และระบายอากาศในทิศตะวันตก รูพรุนที่มี 3 รูปแบบให้ระดับความเป็นส่วนตัวต่าง ๆ โดยไม่ทำให้รู้สึกว่าถูกตัดขาดจากบริบทโดยรอบ  รูพรุนเหล่านี้นอกจากจะทำให้บ้านไม่ร้อนและหายใจได้รอบทิศทางแล้ว ยังทำให้บ้านมีลูกเล่นของแสงเงาที่ส่องลอดตามช่องว่างและตกกระทบลงบนพื้นผิวในทิศทางที่แตกต่าง ตามการเดินทางของแสงที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงของวัน

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ในประเทศไทยจะเดินทางจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกแบบอ้อมทางใต้นิดๆ เพราะแกนของโลกจะเอียงไปทางขวาเล็กน้อยไม่ได้ตั้งตั้ง ผลที่ตามมาของพระอาทิตย์อ้อมทางใต้ก็คือ ผนังบ้านหรือห้องที่อยู่ทางทิศตะวันตกเยื้องไปทางทิศใต้จะได้รับแสงค่อนข้างมากจากบ่ายถึงเย็นเป็นเวลา 8-9 เดือน (ประมาณเดือนมีนาคม-กันยายน) หากบ้านหันไปสองทิศนี้จึงต้องมีการจัดระบบการปกป้องบ้านจากแสงเอาไว้ให้ดี อาจจะใส่ฟาซาดทึบสลับโปร่ง ใส่ฉาก ผ้าม่าน หรือทำแนวรั้วต้นไม้ให้ร่มเงาบังแสงก็ได้

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด