เมนู

หน้าบ้านเด่น ด้วยมิติของผนังและมิติของแสง

บ้านดีไซน์สวย

บ้านสไตล์โมเดิร์น

ที่ไหน ๆ ในโลกใบนี้ก็มีที่ดินหน้าแคบลึก สถาปนิกในท้องถิ่นจึงต้องสร้างสรรค์บ้านบนข้อจำกัดนี้ด้วยวิธีต่าง ๆ กัน อย่างบ้านในเกาหลีหลังนี้ก็สร้างบนที่ดินรูปทรงแคบและยาว ล้อมรอบด้วยหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ในจังหวัดเชจู ประเทศเกาหลีใต้ ที่เห็นครั้งแรกก็สะดุดตาด้วยความพิเศษของสถาปัตยกรรมที่สร้างเป็น 2 อาคาร ด้านหน้าชั้นเดียวด้านในสองชั้นเชื่อมต่อกัน ซึ่งกลายเป็นพื้นที่พิเศษเพราะสามารถดึงดูดธรรมชาติของเชจูจากภายนอกสู่ภายใน เป็นความลับสำหรับการพักผ่อนที่แสนสบายของบ้านหลังนี้

ออกแบบFormative Architects
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านโมเดิร์นผนังแบบ 3 มิติ

บ้านที่เต็มไปด้วยมิติของเส้นและแสง

เริ่มต้นจากการที่สถาปนิกต้องทำความเข้าใจลักษณะทางภูมิศาสตร์หรือความแตกต่างของเกาะเชจู ที่มีสภาพอากาศแบบชายทะเล ลมค่อนข้างแรง ฝนตกชุก จึงเลือกใช้วัสดุคอนกรีตและวัสดุปิดผิวผนังที่มีคุณสมบัติทนชื้น ทนไอทะเลและกรดเกลือ ทั้งนี้ยังต้องคำนึงถึงทิศทางลม วิว และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นด้วย นักออกแบบจึงจัดสร้างอาคารด้านหน้าเป็นบ้านชั้นเดียวติดถนนในซอย แม้ดีไซน์จะดูโฉบเฉี่ยวเฉียบคมด้วยมิติความลึกของผนังและหลังคาที่ปาดเฉียงเข้าไปด้านใน แต่บ้านยังรักษาระดับเอาไว้ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยไม่โดดออกจากชุมชน  ส่วนอาคารด้านหลังสร้างสูงเหมือนหอคอยหันหน้าไปทางทะเล บางส่วนเปิดผนังโล่ง ๆ ออกรับวิวและบางส่วนก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมแรงหนาทึบเจาะช่องว่างให้บ้านเชื่อมต่อภายนอกได้

บ้านโมเดิร์นกับลูกเล่นของแสง

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่


อาคารตกแต่งกระเบื้องผิวคอนกรีต

อ่างอาบน้ำเอาท์ดอร์

ยกอ่างอาบน้ำออกมาซึมซับบรรยากาศ

ถ้ารอบตัวมีวิวดีบรรยากาศเลิศในจุดที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ทำไมต้องเก็บตัวอาบน้ำในห้องสี่เหลี่ยม บ้านนี้จึงยกอ่างอาบน้ำออกมาอยู่ในสวนกลางแจ้ง ในขณะที่มองออกไปที่ทะเลใน Yeonbukjeong ยามทอดตัวสบายในอ่างอาบน้ำ จะรู้สึกราวกับว่าผิวกายกำลังได้รับปลอบประโลมจากลมทะเล แต่หากรู้สึกการอาบน้ำกลางแจ้งแบบนี้เซ็กซี่เกินไป ต้องการความเป็นส่วนตัวเพิ่มขึ้นก็เลือกปิดผ้าม่านที่ติดตั้งเอาไว้รอบ ๆ ได้

ผนังตกแต่งกระเบื้องผิวคอนกรีต

บ้านวิวทะเล

อาคารสูง 9 เมตรที่ด้านหลังสามารถมองเห็นวิวท่าเรือ Yeonbukjeong และหมู่บ้านชาวประมงได้ในมุมที่สูงและกว้างขึ้น ตัวอาคารที่มี texture ดิบ ๆ ทำให้บ้านไม่แปลกแยกออกจากทัศนียภาพโดยรวมมากจนรู้สึกขัดตา

ห้องทานอาหารที่มองเห็นวิวสองด้าน

ใส่ช่องว่างเชื่อมพื้นที่ เชื่อมมุมมอง

บ้านเล็กเป็นส่วนของห้องครัวและมุมรับประทานอาหาร ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับพื้นที่ภายนอกและส่วนอื่น ๆ ของบ้านผ่านผนังกระจกรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นลานในบ้าน สนามหญ้านอกบ้าน และห้องนั่งเล่นที่อยู่ในอีกอาคาร ทำให้พื้นที่แคบ ๆ ดูกว้างขึ้นและดึงเอาพื้นที่เขียวขจีที่โอบล้อมอยู่มาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านได้อย่างแนบสนิท ไมว่าจะอยู่จุดไหนของบ้านก็ไม่ขาดการติดต่อระหว่างกันและไม่ขาดธรรมชาติ สามารถสัมผัสถึงสายลม แสงแดด กลิ่นอายของเกาะเชจูที่ทำให้รู้สึกสดชื่นมีชีวิตชีวาทุก ๆ วัน

เปิดผนังสร้างความเชื่อมต่อ

เพดานซ้อนทับไปมา

สำหรับการตกแต่งภายในจะเน้นความต่อเชื่อมระหว่างอาคารทั้งสองหลัง ผ่านช่องว่างโปร่ง ๆ ตรงกลางระหว่างห้องนั่งเล่นและห้องครัวที่ติดตั้งประตูบานกระจกพับเก็บได้เอาไว้ ในขณะที่ผนังทำหน้าที่แยกส่วนพื้นที่ใช้งานของสองอาคารออกจากกัน แต่ก็ยังสามารถมองเห็นทะลุถึงกันได้หมดช่วยให้บ้านดูมีอิสระมากขึ้นทั้งในแง่ของพื้นที่และมุมมอง ช่องว่างในบ้านยังช่วยลดแรงปะทะจากลมทะเลในฤดูมรสุมได้ดีด้วย

ห้องนั่งเล่นติดกระจก

ประตูบานสไลด์เปิดผนังกว้าง

บ้านโปร่งสว่างอบอุ่น

แสงและสีช่วยให้บ้านไม่หดหู่

เกาะเชจูมีฤดูฝนที่ทำให้บ้านดูอึมครึมและฤดูหนาวที่หนาวจัดชวนให้หดหู่ การออกแบบบ้านจึงต้องเพิ่มช่องทางรับแสงให้มากขึ้นและกว้างขึ้น เพื่อปรับความรู้สึกภายในบ้านให้อบอุ่นและสว่าง เช่น การใช้ผนังกระจก การใส่ช่องว่างระหว่างอาคารเพื่อรับแสง และการติดตั้งช่องแสงสกายไลท์รับแสงธรรมชาติจากบนหลังคาเข้าสู่ภายใน  เมื่อมาจัดวางประกอบกับพื้นบ้านที่ปูด้วยไม้และสีบนผนังโทนชมพูอมส้ม จะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศความนุ่มนวล สว่าง ให้อุ่นใจขึ้น

ช่องแสงสกายไลท์สามเหลี่ยม

ตกแต่งไฟซ่อนฝ้าในห้องนอน

ไฟซ่อนฝ้าเติมมิติที่น่ามอง

หนึ่งลูกเล่นที่เห็นได้ในหลาย ๆ จุดของบ้าน คือ การทำไฟซ่อนฝ้า ที่สถาปนิกใช้วิธีเจาะฝ้าเพดานให้เป็นช่องแล้วใส่ไฟ LED เข้าไป ทำให้เห็นแสงสีส้มเป็นเส้นสะท้อนสว่างออกมาจากช่องเพดานโดยไม่เหฝ้นหลอดไฟ เป็นการเล่นกับแสงประดิษฐ์ที่เพิ่มมาเพื่อสร้างบรรยากาศตกแต่งให้น่าสนใจได้ทันที

มิติของผนังและมิติของแสงไฟ

สีและเนื้อสัมผัสของของวัสดุตกแต่งอาคารที่ตัดกัน ระหว่างคอนกรีตเรียบสีขาว ผนังคอนกรีตที่มี Texture สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นูนบนผนังอีกข้าง เพดานกรุสีไม้สีน้ำตาลธรรมชาติ ที่เห็นได้ตั้งแต่ไกลเมื่อช่วงกลางวัน ยิ่งถูกแยกให้เห็นสัดส่วนของพื้นที่ชัดขึ้นด้วยแสงไฟซ่อนฝ้าที่สร้างมิติให้บ้านแปลกตาขึ้นทั้งแสง เงา เส้น และพื้นผิว

บรรยากาศบ้านยามค่ำ

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ไฟในบ้านจะมีหลัก ๆ 2 แบบด้วยกันคือ ไฟที่ให้แสงสว่างส่องโดยตรง (Direct Lighting) เป็นการกระจายของแสงจากแหล่งกำเนิดของแสงในบริเวณที่ต้องการใช้งานหรือเพื่อสร้างบรรยากาศตกแต่ง เช่น หลอดไฟในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ไฟประดับผนัง ไฟประดับสวน ซึ่งจะให้ความเข้มของแสงได้ดีเน้นให้ความสว่างแก่พื้นที่ และเห็นหลอดไฟชัดเจน ส่วนแสงอีกแบบ คือ แสงสว่างแบบส่องทางอ้อม (Indirect Lighting) หรือไฟหลืบ ไฟซ่อน ที่ใช้หลักการสะท้อนแสงจากหลอดไฟให้ส่องกระทบบนพื้นที่ระนาบให้มีการส่องสว่าง มักจะใช้เพื่อสร้างบรรยากาศมากกว่าให้แสงสำหรับการใช้งาน ซึ่งไฟแบบนี้จะมองไม่เห็นหลอดไฟที่ซ่อนข้างใน

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด