เมนู

ฟื้นฟูภูมิทัศน์บันได100 ขั้น ด้วยเทคโนโลยีจัดสวนกันดินถล่มได้และแสงไฟ

สวนสาธารณะในจีน

ปรับปรุงภูมิทัศน์รอบบันไดขึ้นเนินสูง

ช่วงนี้ประเทศจีนให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูทั้งสถาปัตยกรรม สุขอนามัย รวมไปถึงภูมิทัศน์ตามสถานที่ต่างๆ ตัวอย่างโครงการนี้ก็เช่นกัน เป็นโปรเจ็คฟื้นฟูภูมิทัศน์ทั้งสองฝั่งของบันไดร้อยขั้นที่มหาวิทยาลัยหวู่ซาน ซึ่งยึดหลักการ “ขจัดอันตรายและป้องกันความเสี่ยง” เป็นแนวคิดพื้นฐาน และ “ผสานเข้ากับธรรมชาติและฟื้นฟูระบบนิเวศน์อย่างกลมกลืน” เป็นวิสัยทัศน์ด้านภูมิทัศน์ โดยมุ่งเน้นที่การอนุรักษ์พื้นที่และอารมณ์ทางสิ่งแวดล้อม แบบ “ซ่อมแซมและรักษาสิ่งเก่า” เพื่อรักษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ ในขณะที่ยังคงรักษาสิ่งแวดล้อมสีเขียวอันอุดมสมบูรณ์ดั้งเดิมไว้

ออกแบบ : SCUTAD
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บันไดร้อยขั้นขณะสร้างเสร็จ

ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของบันไดร้อยขั้น หลังดำเนินการก่อสร้างเสร็จใหม่ๆ

บันไดนี้สร้างขึ้นในปี 1936 ตั้งอยู่กลางถนน Banshanxi การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปนิกสมัยใหม่ชื่อดัง คุณ Yang Xizong ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานด้านสถาปัตยกรรม Lingnan จุดประสงค์หลักในการสร้างบันไดร้อยขั้น คือ การสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาหมั่นเพียรเรียนอย่างขยันขันแข็ง มั่นคง และกล้าหาญในการเดินทาง สภาพแวดล้อมโดยรวมมีบรรยากาศคล้ายกับลานฝึกหัดบนภูเขาแบบดั้งเดิมของจีน

เนินดินสไลด์ทำให้ภูมิทัศน์เสียหาย

สภาพบันไดหลังจากเผชิญกับสภาพอากาศนานถึง 86 ปี พืชพรรณต่างๆ ทั้งสองข้างของบันไดก็สูญเสียความสามารถในการทำให้ดินมีความเสถียรและป้องกันการพังทลายลง เนินเริ่มเสียรูปและไม่มั่นคง ส่งผลให้ดินถูกเปิดออกและถูกกัดเซาะมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจึงเกิดดินถล่มหลายครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของอาคาร 22 บนยอดเขา เพื่อป้องกันไม่ให้เนินเสียรูปและพังทลายลงอีก มหาวิทยาลัยจึงได้เตรียมการเสริมความแข็งแรงแบบฉุกเฉินในปี 2562

model

ในการออกแบบฟื้นฟูใช้ระบบรองรับของคาน ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีวัสดุของการสร้างพื้นที่สีเขียวแบบสามมิติ ผ่านการวางแผนอย่างพิถีพิถัน ทำให้ใช้ประโยชน์จากรูปร่างภูมิประเทศตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ทีมออกแบบได้ทำการสำรวจหน้างานหลายครั้ง คำนวณอย่างละเอียด และพัฒนาโซลูชันที่ครอบคลุม เพื่อรับประกันทั้งความปลอดภัยของอาคารโดยรอบ และการบรรลุจุดประสงค์ของการออกแบบ

บันไดร้อยขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเซาท์ไชน่า

บันไดหลังการปรับปรุงเสร็จเรียบร้อย เป็นบันไดหินที่แข็งแรงมีราวที่มั่นคงด้านข้าง เหลือของที่ระลึกทางประวัติศาสตร์เอาไว้เป็นฐานโคมไฟถนนร้อยขั้นบันไดที่มีมาตั้งแต่แรก

บันไดร้อยขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเซาท์ไชน่า

บันไดร้อยขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเซาท์ไชน่า

เส้นสายสีขาวๆ ที่แทรกสร้างรูปแบบสามมิติสองข้างทางของบันไดอันสวยงามนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อตกแต่งเฉยๆ แต่เป็นโซลูชันที่สำคัญในโครงการนี้ด้วย เพราะเป็นคานกริดที่ใช้ปกคลุมสร้างพื้นที่สีเขียวใหม่ของเนินเขา

model ที่ 1 ถึง 4

เพื่อให้ได้พื้นที่สีเขียวปกคลุมโครงสร้างเนินเขา ทีมออกแบบไม่ได้แค่เข้ามาขุดดินปลูกปลูกเฉยๆ แต่ก่อนหน้านั้นได้ทำการวิจัยในเชิงลึก และพัฒนากลยุทธ์ทางเทคนิครวมถึงแผนภูมิทัศน์ โดยพื้นผิวลาดเอียงจะถูกแบ่งออกเป็นหน่วยๆ รองรับความลาดชันขนาด 3×3 เมตร หลายหน่วยภายในขอบเขตของโครงสร้างคานกริดป้องกันความลาดชัน ความยาวของคานกริดสามารถปรับได้ตามข้อกำหนดของความลาดชันและความสมดุล ระหว่างการเติมและการขุดภายในมาตราส่วนหน่วยนี้ ต่อมาจึงได้สร้างแบบจำลองคานกริดสามมิติที่แตกต่างจากระบบยึดแท่งยึดแบบเดิม (ตามภาพโมเดล 1-4 ข้างบน)

สำหรับความแข็งแรงของดินนั้น ทีมงานได้เพิ่มดินปลูกที่มีธาตุอาหารแบบ solidified matrix planting soil ดินปลูกนี้มีลักษณะเด่น คือ มีน้ำหนักเบาและมีประสิทธิภาพในการก่อสร้างสูง ดินปลูกแบบแยกส่วนนี้จะค่อยๆ แตกตัวและแข็งตัวขึ้น เหมาะกับโพรงปลูกแบบ 3 มิติและแบบกริดบีมที่ซับซ้อน หลังจากยึดดินที่แข็งตัวและกริดบีมแล้วก็จะสรางพื้นที่ปลูกที่พอดีกันบนพื้นผิวลาดเอียง ต้นกล้าพืชจะค่อยๆ แทงรากลึกลงไปในโพรงสัมผัสกับดินที่ลาดเอียงโดยตรงเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของดิน

ตกแต่งสวนเขียวๆ และแสงไฟขนาบทางเดิน

ปรับแต่งภูมิทัศน์ด้วยต้นไม้และแสงไฟ

ในด้านการออกแบบการระบายน้ำ คูระบายน้ำจะถูกวางไว้ที่ด้านบนและด้านล่างของทางลาดเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำฝน ระบบชลประทานแบบติดตามอัจฉริยะจะถูกใช้สำหรับการชลประทานแบบเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยให้แน่ใจว่าดินที่ใช้ปลูกพืชรักษาระดับความชื้นและปริมาณสารอาหารที่เหมาะสม ส่งเสริมการสร้างรากอย่างรวดเร็วและเสถียรภาพของดิน

ฟื้นฟูภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีใหม่

บรรยากาศของบันไดนี้จะเปลี่ยนไปอย่างสวยงามเมื่อเวลากลางคืนมาถึง ด้วยแสงไฟตกแต่งที่ทำให้บันไดโดดเด่นออกมาจากภูมิทัศน์เขียวๆ การออกแบบรองรับทั้งโหมดไฟส่องสว่างประจำวันและไฟส่องสว่างสำหรับเทศกาล โดยติดตั้งโคมไฟติดเสาจำนวน 5 คู่บนพื้นที่ราบของบันได เพื่อให้แสงสว่างพื้นฐานและตอบสนองความต้องการด้านการประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งไฟส่องผนัง LED ทั้งสองข้างของบันได ช่วยเพิ่มความรู้สึกกว้างขวางของทางเดินและเพิ่มบรรยากาศยามค่ำคืนที่ชวนตื่นตาระหว่างเดินขึ้นเขา

ปรับแต่งภูมิทัศน์ด้วยต้นไม้และแสงไฟ

บันไดเชื่อมต่อกับไหล่เขาอย่างไร้รอยต่อ ล้อมรอบด้วยแมกไม้เขียวขจี ทำให้ที่นี่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

แปลน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด บ้านและสวน


โพสต์ล่าสุด