เมนู

ผนังคอนกรีตโค้ง ลดความกระด้างและแรงปะทะกลางแยก

บ้านคอนกรีตในเมือง

บ้านคอนกรีตในเมือง

บ้านที่ดีมักได้รับการอธิบายว่าต้องสวยงาม ใหญ่โตกว้างขวาง สะดวกสบาย หรือแม้แต่หรูหรา แต่ถ้าเป้าหมายอยู่ที่การทำบ้านให้ได้รับความสะดวกสบายเช่นกัน ในพื้นที่ขนาดกะทัดรัด ความรู้สึกขัดแย้งแบบนี้จะเป็นบ้านที่ดีได้ไหม สามารถทำได้จริงไหม หน้าตาบ้านออกมาเป็นอย่างไร คงต้องให้สถาปนิกเป็นผู้ช่วยตอบคำถาม ซึ่งบ้านหลังนี้ในอินเดียในเนื้อหานี้ก็เป็นโปรเจ็คหนึ่ง ที่นักออกแบบพยายามนำเสนอบ้านธรรมดาในพื้นที่น้อย ให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตภายในได้ไม่แพ้บ้านใหญ่ ๆ เช่นกัน

ออกแบบ : Inpractice
ภาพถ่าย : Vivek Eadara
เนื้อหาบ้านไอเดีย

บ้านปูนเปลือยขนาดกะทัดรัด

เมื่อเดินผ่านถนนแคบ ๆ ใน Ahmedabad ประเทศอินเดีย ซึ่งมีประชากรหนาแน่น ในทุกวันจะเห็นรถราและความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน แน่นอนว่าย่อมต้องมีบ้านที่ค่อนข้างแออัด ย่านนี้ยังมีบ้านรูปลักษณ์ดั้งเดิม ‘pol’ แบบดั้งเดิม (Pol เป็นคำเรียกสถาปัตยกรรมดั้งเดิมประเภทหนึ่งในตรอก ซอกซอยเล็ก ๆ ) แม้ว่ามันจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่องค์ประกอบของชีวิตชุมชน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบ้านและถนนยังคงเดิม ด้วยวัสดุ รูปแบบ และสถาปัตยกรรม อย่างเช่น บ้านที่ชื่อ “The Clever House” อยู่ในโครงการ ‘Pol’ Neighborhood ที่เป็นบ้านคอนกรีตเปลือย ตั้งอยู่ใจกลางทางแยกที่มีโครงสร้างที่แข็งแรง เรียบง่าย ซึ่งทั้งตัดกันและกลมกลืนกับฉากหลังของเมืองแห่งนี้

บ้านปูนเปลือยขนาดกะทัดรัด

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

ภาพมุมมองจากด้านบน

 

บ้านประกอบด้วยผนังมุมโค้งที่นุ่มนวลให้ความรู้สึกเหมือนลดแรงปะทะ และซุ้มประตูโค้งๆ ที่ปลายด้านตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นทางเข้าที่เรียบง่ายสำหรับบ้านหลังนี้ พร้อมรูปแบบที่เหมือนการตัดและการพับที่ทำให้บ้านดูน่าทึ่งขึ้นไปอีกนิด ด้านนี้จะมีพื้นที่นั่งเตี้ยๆ แบบดั้งเดิมหรือแท่นหน้าบ้าน (เรียกว่า Otla) เป็นที่หยุดพักให้สมาชิกหรือแขกสามารถนั่งคุยกันได้ในย่านที่พลุกพล่าน

ห้องนั่งเล่นโถงสูงมีสกายไลท์

บ้านโถงสูงมีสกายไลท์

เมื่อก้าวเข้ามาข้างในจะพบกับพื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่ ที่กำลังถูกอาบไล้ไปด้วยความอบอุ่นของแสงแดด ซึ่งส่องเข้ามาเข้ามาในบ้านจากช่องแสง skylight บนหลังคาและหน้าต่างบานเตี้ยๆ ที่อยู่ติดพื้นดูแปลกตาจากบ้านทุกหลังที่สร้างในท้องถิ่นนี้ การวางหน้าต่างในระดับต่างๆ กันในแต่ละด้าน เพื่อได้รับแสงและสร้างการเชื่อมต่อสายตากับถนนได้ โดยไม่กระทบต่อความเป็นส่วนตัวของพื้นที่นั่นเอง

เคาน์เตอร์ครัวสีเหลืองน้ำตาล

บ้านปูนเปลือยตกแต่งสีเหลืองน้ำตาล

ในชั้นล่างจะมีพื้นที่นั่งเล่น พื้นที่ทำอาหารที่ชั้นล่างถูกจัดวางเป็นแนวยาวเรียงต่อกัน พื้นที่เหล่านี้รวมเข้าด้วยกันแบบ open plan โดยไม่มีสิ่งกีดขวางไม่ว่าจะเป็นผนังห้องหรือธรณีประตู ช่วยเพิ่มลักษณะของความอเนกประสงค์ให้เป็นพื้นที่เดียว ที่สามารถรองรับการทำงานหลายอย่างได้ สถาปนิกยังบิลท์ตู้และชั้นเก็บของทำหน้าที่เป็นพื้นที่จัดเก็บที่ใช้พื้นที่ร่วมกับฟังก์ชันอื่นๆ ได้อย่างชาญฉลาด ทำให้ไม่ต้องเผื่อพื้นที่สำหรับวางตู้ ชั้น พื้นที่นั่งเล่นปูพรมสีดำขาวเหมือนตารางหมากล้อมบนพื้นปูนเปลือยขัดมัน โดยมีฉากหลังเป็นผนังเรียบๆ ที่มีจังหวะของบานตู้สีเหลืองกรอบสีน้ำตาลเข้มโดดเด่นตัดกับผนังติดตั้งอยู่

บันไดไม่มีลูกตั้งสไตล์โมเดิร์น

บันไดที่ดีไซน์อย่างมีศิลปะ แต่ละขั้นทำด้วยโลหะแผ่นบางติดทับไม้ไม่มีลูกตั้งดูเบาลอยเป็นอิสระ โดยมีส่วนของตู้สีเหลืองสดใสเชื่อมต่อกันอยู่ด้านล่าง ใช้สำหรับนั่ง เก็บของ หรือ แม้กระทั่งการเชื่อมต่อทางสายตามองไปยังช่องแสง skylight ที่อยู่เยื้องกับจุดนี้ในชั้นบน

ช่องแสงสกายไลท์ใจกลางบ้าน

บ้านปูนเปลือยขัดมัน

เมื่อมาถึงชั้นบนก็จะยังคงคอนเว็ปอาคารแบบเปิดโล่งที่ตกแต่งน้อยกว่าชั้นล่าง ล้อมด้วยผนังปูนเปลือยครอบคลุมทั้งชั้น มีจังหวะของหน้าต่างทำให้แสงเข้าได้จากหลายทิศทาง ฟังก์ชันหลัก ๆ จะเป็นส่วนของพื้นที่ห้องนอนเดี่ยว ห้องน้ำ มุมทำงานอ่านหนังสือ โดยที่ตรงกลางจะเป็นช่องว่างโถงสูงห้อมล้อมด้วยกระจกที่เลื่อนเปิดได้ เหมือนมีตู้โชว์ตรงกลางบ้านที่มองเห็นพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางและมีชีวิตชีวาด้านล่าง การล้อมรั้วศูนย์กลางในขณะที่หลังคาเป็น skylight สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ทำให้พื้นที่สว่างไสวด้วยแสงจากธรรมชาติจนแทบไม่ต้องเปิดไฟฟ้าในช่วงกลางวัน

ช่องหน้าต่างคอนกรีตทแยงมุม

หน้าต่างนอกกรอบคอนกรีตแนวทแยง ช่วยรับแสงและเชื่อมต่อกับกับชีวิตบนท้องถนนที่พลุกพล่านได้อย่างเป็นส่วนตัวในขณะที่หน้าต่างที่ผนังด้านทิศเหนือจะทำหน้าที่เปิดรับแสงแดดในตอนกลางวัน

มุมยืนอ่านหนังสือในบ้าน

มุมอ่านหนังสือบ่งบอกฟังก์ชันด้วยการบิลท์ชั้นหนังสือไปพร้อมกับทำหน้าที่ผนังกั้นกันตก เชื่อมต่อกับชั้นวางเหล็ก สำหรับใครที่อยากจะเปลี่ยนอิริยาบถจากการนั่งนานๆ เป็นฟังก์ชันที่ทำให้นึกถึงการแวะเวียนไปอ่านหนังสือตามห้องสมุดที่จะมีโซนให้ใช้พื้นที่ทั้งนั่งและยืนอ่าน

ห้องน้ำโทนสีเหลืองเทา

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การมีพื้นที่น้อยไม่ได้เป็นอุปสรรคใรการสร้างบ้านที่เต็มไปด้วยคุณภาพชีวิตแต่อย่างใด อย่างบ้านหลังนี้ก็สามารถสร้างความรู้สึกโปร่งและสว่างอย่างเป็นส่วนตัวได้ โดยการเจาะพื้นที่ภายในให้มีความเชื่อมต่อทั้งแนวนอนและแนวตั้ง การเชื่อมต่อแนวนอนโดยจัดแปลน open plan ลดผนังที่ไม่จำเป็นลง วางฟังก์ชันที่อยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่เดียว จะทำให้บ้านดูกว้างและมีความลื่นไหลต่อเนื่อง ส่วนการสร้างพื้นที่โถงสูงแนวตั้งก็เอื้อให้ทั้งสองชั้นของบ้านมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชั้น แถมยังช่วยให้การเดินทางของแสงและลมดีขึ้นด้วย

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด