เมนู

ดอกเบี้ยบ้านคืออะไร ก่อนกู้ต้องรู้ คู่มือสำหรับมือใหม่หัดซื้อบ้าน

ดอกเบี้ยบ้านคิดยังไง

ดอกเบี้ยบ้าน เคลียร์ชัดทุกข้อสงสัย ผ่อนสบายใจ ไม่ต้องกลัวพลาด

การซื้อบ้านเป็นหนึ่งในความฝันของใครหลายคน แต่กว่าจะได้บ้านสักหลังก็ต้องผ่านขั้นตอนและเงื่อนไขมากมาย หนึ่งในนั้นคือดอกเบี้ยบ้าน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญและส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินระยะยาวของคุณ หากคุณต้องการเลือกสินเชื่อบ้านที่เหมาะสมที่สุดและวางแผนการผ่อนชำระได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับดอกเบี้ยถือเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งอัตราดอกเบี้ยบ้าน 2567 ทุกธนาคารตอนนี้เป็นยังไงบ้าง ดอกเบี้ยบ้านอัปเดตล่าสุดส่งผลกับเรายังไง เราจะพาทุกคนไปไขข้อข้องใจกัน

ดอกเบี้ยบ้าน

ดอกเบี้ยบ้าน คืออะไร รู้จักดอกเบี้ยก่อนตัดสินใจ จะได้ไม่เสียเปรียบ

ดอกเบี้ยกู้ยืมบ้านเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เราต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงินเมื่อมีการขอสินเชื่อบ้าน พูดให้เข้าใจได้ง่ายก็คือเป็นค่าตอบแทนสำหรับเงินที่เรากู้มาเพื่อซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัยให้กับธนาคาร ดอกเบี้ยเลยส่งผลต่อยอดเงินที่เราต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนและยอดรวมทั้งหมดที่เราต้องจ่ายคืนระยะยาว เราจึงควรเลือกประเภทให้เหมาะสมและต้องพิจารณาอย่างรอบคอบนั่นเอง 

ประเภทของดอกเบี้ยบ้าน

เราสามารถแบ่งประเภทดอกเบี้ยเงินกู้บ้านออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ประกอบไปด้วยดอกเบี้ยคงที่ เป็นดอกเบี้ยที่จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างชัดเจน อย่างเช่น อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งประกอบไปด้วย 

  • MRR (Minimum Retail Rate) ดอกเบี้ย mrr คือดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารจะปล่อยให้กับลูกค้ารายย่อยชั้นดีในสินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย 

อย่างเช่น เรากู้ซื้อบ้านด้วยวงเงิน 3 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MRR -3.65% โดยอัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันคือ 6.75% เท่ากับว่าดอกเบี้ยของเราจะอยู่ที่ 6.75 – 3.65 = 3.10% ต่อปี โดยธนาคารจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ย MRR ในแต่ละช่วงระยะเวลาที่เราผ่อนให้มีความแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น 3 ปีแรก MRR -3.65% ปีที่ 4 ถึงปีที่ 6 MRR -2.14% 

  • MLR (Minimum Loan Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารจะใช้กับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจ 
  • MOR (Minimum Overdraft Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารใช้กับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชีเท่านั้น 

ดังนั้นเราจึงต้องเลือกว่าจะเลือกใช้อัตราดอกเบี้ยกู้บ้านแบบคงที่หรือลอยตัว ซึ่งทั้งสองรูปแบบนี้ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป อย่างอัตราดอกเบี้ยคงที่จะมีการคำนวณดอกเบี้ยง่าย ไม่ผันผวนไปตามการประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่อัตราดอกเบี้ยลอยตัว หากมีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย ก็จะช่วยไปให้เราประหยัดดอกเบี้ยในช่วงเวลานั้นได้มากขึ้น 

นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่อบ้านอีกประเภทหนึ่งที่ในระยะเวลา 3-5 ปีแรกจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไว้ หลังจากนั้นจึงปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เราเลยพูดได้ว่าดอกเบี้ยบ้าน MRR คือดอกเบี้ยที่จะอยู่กับเราไปยาว ๆ หากคุณอยากจะผ่อนบ้านให้หมดเร็ว ๆ ก็สามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้ในช่วงเวลานี้เช่นกัน

แนะนำแนวทางการเลือกธนาคารสำหรับการกู้สินเชื่อดอกเบี้ยบ้าน มีอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา 

การจะเลือกธนาคารสำหรับการกู้สินเชื่อบ้านจะพิจารณาแค่ดอกเบี้ยบ้านอย่างเดียวไม่ได้ เพราะดอกเบี้ยบ้าน 2567 กับปีต่อ ๆ ไปก็อาจจะไม่เหมือนกัน 

วงเงินกู้ 

ไม่ใช่ว่าเราอยากได้บ้านหลังละ 5 ล้านบาทแล้วก็จะสามารถขอกู้เงิน 5 ล้านบาทจากธนาคารได้เลย แม้ว่าปกติแล้วการกู้ซื้อบ้านหลังแรกมักสามารถขอกู้เงินเต็มตามราคาบ้านได้ก็ตาม เพราะธนาคารก็จะต้องพิจารณาว่ารายรับของเราเหมาะสมกับเงินที่ต้องการกู้ไปหรือไม่ ที่สำคัญยิ่งวงเงินสูงก็ยิ่งต้องผ่อนนาน ทำให้ดอกเบี้ยยิ่งบานหนักกว่าเดิมด้วย 

ระยะเวลาในการผ่อน 

ระยะเวลาในการผ่อนชำระก็มีความสำคัญเหมือนกัน เพราะยิ่งผ่อนยาวดอกเบี้ยยิ่งบาน แต่ถ้าผ่อนสั้นก็ต้องแบกรับค่างวดในแต่ละเดือนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น ระยะเวลาในการผ่อนชำระจึงส่งผลกับยอดหนี้ของเราโดยตรงนั่นเอง โดยปกติแล้วธนาคารจะกำหนดระยะเวลาให้ผ่อนไม่เกิน 30 ปี และเมื่อรวมกับอายุของผู้กู้แล้วจะต้องไม่เกินไปกว่า 70 ปีโดยประมาณ 

ดอกเบี้ยกู้บ้าน 

ดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาจากตัวบ้าน สถาบันการเงินแต่ละแห่งก็จะมีวิธีการคิดดอกเบี้ยและกำหนดอัตราที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงเวลา เราจึงควรเปรียบเทียบเพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับรายรับของเราให้ได้มากที่สุด และยังต้องพิจารณาด้วยว่าเมื่อเวลาผ่านไป ดอกเบี้ยจะเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ สามารถรับมือกับดอกเบี้ยลอยตัว เมื่อมีการประกาศขึ้นดอกเบี้ยบ้านล่าสุดได้หรือเปล่า 

ค่างวด 

หลังจากที่เรารู้รายละเอียดคร่าว ๆ เกี่ยวกับวงเงิน ระยะเวลา และดอกเบี้ยแล้ว ต่อมาก็ต้องพิจารณาค่างวดว่าในแต่ละเดือนต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งในแต่ละปีเราอาจจ่ายในจำนวนที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับในสัญญาว่าแต่ละช่วงเวลาต้องผ่อนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ 

ดังนั้น เราจึงต้องคำนวณว่ารายได้ของเราเพียงพอต่อการชำระค่างวดหรือไม่ ในอนาคตที่ค่างวดเพิ่มขึ้น เราจะสามารถหารายได้มาจ่ายได้อย่างเพียงพอหรือเปล่า โดยมีหลักคิดง่าย ๆ คือรายจ่ายไม่ควรเกินกว่า 40% ของรายได้ เราถึงจะมั่นใจได้ว่าตัวเองมีเงินเพียงพอสำหรับการชำระหนี้นั่นเอง 

เงื่อนไขและค่าธรรมเนียม 

เป็นสิ่งสุดท้ายที่หลายคนอาจมองข้าม แต่มีความสำคัญ เพราะแต่ละสถาบันการเงินก็จะมีเงื่อนไขและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ค่าธรรมเนียมกู้ยืม ค่าประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ ค่าจดจำนอง ค่าประกันอัคคีภัย ค่าประกันชีวิตของผู้กู้ รวมถึงค่าธรรมเนียมไถ่ถอนก่อนกำหนดกรณีที่เราอยากปิดหนี้ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา 

สินเชื่อบ้าน

ขอสินเชื่อบ้านครั้งแรกทำอย่างไร คู่มือขอสินเชื่อสำหรับมือใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด

หากคุณอยากมีบ้านและมีการศึกษาข้อมูลมาดี ดอกเบี้ยบ้านไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวขนาดนั้น เพราะสิ่งที่ทำให้หลายคนกังวลมากกว่าอัตราดอกเบี้ยบ้าน ก็คือการยื่นขอสินเชื่อบ้านครั้งแรกนั่นเอง เชื่อว่าการกู้ครั้งใหญ่ครั้งแรกของใครหลาย ๆ คนอาจยังเตรียมตัวไม่ถูก เราเลยจะพาทุกคนมาดูกันว่าการขอสินเชื่อจะมีขั้นตอนยังไงบ้าง และมีอะไรที่เราต้องเตรียมให้พร้อม

เก็บเงินดาวน์ให้พร้อม 

จริงอยู่ว่าในบางกรณีเราสามารถกู้ซื้อบ้านด้วยเงินแบบเต็มจำนวนได้ ไม่ต้องวางเงินดาวน์ก่อน แต่การวางเงินดาวน์ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการสร้างวินัยทางการเงินของเราเหมือนกัน เราขอแนะนำให้ลองเก็บเงินดาวน์ตามจำนวนเงินที่คิดว่าจะผ่อนชำระในแต่ละเดือน เพื่อพิจารณาว่าเราสามารถผ่อนบ้านในระยะยาวไหวหรือไม่ ที่สำคัญ ถ้าเรามีเงินดาวน์ก็จะทำให้วงเงินที่ต้องกู้น้อยลง ดอกเบี้ยก็น้อยลงตามไปด้วย หรือบางธนาคารอาจมีกำหนดให้คุณต้องวางเงินดาวน์ประมาณ 10% ถึง 20% จากราคาบ้านเช่นกัน 

เลือกธนาคารและสินเชื่อ

ต่อมาก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกธนาคารและสินเชื่อแต่ละตัว โดยหลัก ๆ แล้วที่ต้องพิจารณาคือการเปรียบเทียบดอกเบี้ยบ้านว่าดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารแตกต่างกันยังไง ธนาคารและสินเชื่อตัวไหนคุ้มค่ามากที่สุด และยังควรพิจารณาโปรโมชัน รวมถึงสวัสดิการพิเศษสำหรับบางตำแหน่งงานด้วย อย่างเช่น พนักงานราชการหากขอสินเชื่อก็มีโอกาสได้วงเงินสูงหรือได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าคนทั่วไป หรือบางบริษัทก็อาจจะมีการทำข้อตกลงกับธนาคารเพื่อมอบสิทธิพิเศษให้กับพนักงานเหมือนกัน 

เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน 

ต่อมาก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่หลายคนกังวลมากที่สุดนั่นก็คือการเตรียมเอกสาร โดยหลัก ๆ เอกสารที่ต้องเตรียมจะประกอบไปด้วย 

  • บัตรประจำตัวประชาชน 
  • สำเนาทะเบียนสมรส ใบหย่า หรือมรณะบัตรของคู่สมรส 
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล 
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส 
  • หนังสือผ่านสิทธิ์สวัสดิการหรือใบรับรองเงินเดือน 
  • สลิปเงินเดือนหรือรายการเดินบัญชีย้อนหลัง 3 เดือนที่เห็นรายการเงินเดือนเข้าบัญชี 
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน 
  • สำเนาสัญญาวางมัดจำหรือสัญญาจะซื้อจะขาย 
  • สำเนาโฉนด นส.3ก หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรืออช.2 ทุกหน้า
  • แบบแปลนอาคาร 
  • ใบอนุญาตปลูกสร้างหรือต่อเติม 
  • สัญญาว่าจ้างก่อสร้างหรือไปประมาณการปลูกสร้าง 

ยื่นเอกสารกับธนาคาร 

เมื่อเราเตรียมเอกสารเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็สามารถเดินทางไปยังธนาคารเพื่อยื่นเอกสารได้เลย จากนั้นก็เพียงแค่กรอกข้อมูลลงในเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วน แล้วรอประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อธนาคารพิจารณาอนุมัติเรียบร้อยแล้วก็จะแจ้งให้เราเข้าไปทำสัญญาการกู้ยืมเงินก็เป็นอันเรียบร้อย 

ดอกเบี้ยบ้าน ศึกษาก่อนตัดสินใจ ผ่อนบ้านสบายใจชัวร์

ดอกเบี้ยบ้านคือค่าตอบแทนที่ผู้กู้ต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงินเมื่อกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านจะมีผลต่อการวางแผนการเงินในระยะยาว มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะดอกเบี้ยลอยตัวที่ขึ้นอยู่กับว่าอัตราดอกเบี้ยบ้าน 2567 ขึ้นหรือลงเท่าไหร่ การเข้าใจเรื่องดอกเบี้ยจึงสำคัญสำหรับคนวางแผนซื้อบ้าน เพราะช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและป้องกันการเกิดปัญหาทางการเงินได้นั่นเอง 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.scasset.com/th/

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด