เมนู

บ้านรื่นรมย์ใต้ร่มเงาไม้ ยกพื้นสูงเพื่อรักษาทางน้ำไหล

บ้านใต้เงาไม้

บ้านวัสดุธรรมชาติกลมกลืนกับภูมิทัศน์

หากให้ลองเปรียบเทียบระหว่างการอาศัยอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม หน้าต่างน้อยๆ ไม่มีสวนใดๆ กับบ้านที่มีช่องเปิดรับทิศทางลมได้อย่างเหมาะสม มีร่มเงาของต้นไม้ เชื่อแน่ว่าจะต้องสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่แตกต่าง เพราะบ้านที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้อยู่อาศัยกับสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูล จะมีความสบายและมีชีวิตชีวามากกว่า ดังนั้นบ้านในตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของ Vadodra แห่งนี้ก็สร้างขึ้นเพราะต้องการบรรยากาศแบบนั้นเช่นกัน ที่นี่อยู่ท่ามกลางพื้นที่เกษตรกรรมกว้างใหญ่และต้นไม้ใหญ่ โจทย์ของโครงการคือการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นฟาร์มและกิจกรรมท่ามกลางธรรมชาติ พร้อมกับบ้านขนาดเล็กสำหรับผู้ใช้คนเดียวหรือคู่รักที่จะหลีกหนีจากเมืองมาอยู่ที่นี่เป็นครั้งคราว

ออกแบบ : Doro
ภาพถ่าย
The Fishy Project, Stavan Bhagora
เนื้อหา
: บ้านไอเดีย

บ้านวัสดุธรรมชาติใต้ต้นไม้

บ้านสีดินแดงนี้ซ่อนตัวอยู่ในมุมหนึ่งของฟาร์มในหมู่บ้าน Jaspurใน Baroda ท่ามกลางต้นสะเดาที่แผ่ขยายไปทั่วหุบเขา ตัวอาคารตั้งอยู่ใต้ต้นไม้หนาแน่นที่สุด ร่มรื่นด้วยเรือนยอดขนาดใหญ่ ขณะที่ทิวทัศน์คดเคี้ยวไปตามภูมิประเทศตามธรรมชาติ และมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน เนื่องจากถูกกัดเซาะดินตามการไหลตามธรรมชาติของน้ำฝนผ่านพื้นที่ยาวนานหลายปี  ความท้าทายคือการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน โดยมีผลกระทบต่อกระบวนการทางธรรมชาติในพื้นที่ให้น้อยที่สุด บ้านและองค์ประกอบภูมิทัศน์จึงได้รับการวางตำแหน่งอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อรักษาทางน้ำไหลตามธรรมชาติเอาไว้

บ้านวัสดุธรรมชาติกลมกลืนกับภูมิทัศน์ป่า

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านผนังดินอัดสีกลมกลืนธรรมชาติ

เจ้าของบ้านสองคนที่ทำอาชีพเกษตรกรรม ต้องการพื้นที่พักผ่อนจากการพบปะสังสรรค์กันเป็นครั้งคราวในพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งบ้าง สถาปนิกจึงตัดสินใจทำบ้านแบบเส้นตรงขนาด 22 x 7 เมตร มีระเบียงขนาดใหญ่ ด้วยลักษณะพื้นที่ที่ไม่เท่ากันทำให้ด้านหนึ่งเหมือนเป็นอาคารชั้นเดียววางอยู่ในระดับพื้นดิน ส่วนอีกด้านจะอยู่ในฝั่งพื้นที่ลาดต่ำจึงใช้เสายกตัวบ้านให้สูงในระดับเดียวกับอีกด้าน ทำให้ใต้อาคารเปิดโล่งให้ลมและน้ำผ่านได้

บ้านวัสดุธรรมชาติกลมกลืนกับภูมิทัศน์ป่า

ผนังดินอัด

ผนังบ้านสีดินแดงสูง 2.4 เมตรที่เราเห็นนี้ เป็นส่วนประกอบหลัก ๆ ของบ้านนี้ สร้างขึ้นจากดินที่ขุดจากไซต์นำมาใช้เทคนิคการอัดเป็นชั้นๆ ส่วนหลังคามุงหลังคาด้วยไม้คานซึ่งใช้ไม้แดงเก่าจากเรือที่ไม่ใช้แล้วมุงทับด้วยกระเบื้องดินเผามังคาลอร์ โครงการนี้ใช้ช่างฝีมือที่มีทักษะร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อสร้างงานให้ชุมชนด้วยการถ่ายทอดทักษะในสถานที่ และยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมในกระบวนการนี้ด้วย

บ้านวัสดุธรรมชาติกลมกลืนกับภูมิทัศน์ป่า

ต้นไม้คลุมให้ร่มเงาบริเวณระเบียง

ผนังบ้านขนานที่ขยายออกไปทาง SW-NE การทำผนังตรงกลางยื่นออกมาจะช่วยปิดกั้นแสงแดดในแนวนอนจากทิศตะวันตกในช่วงฤดูร้อน ในขณะเดียวกันก็แต่ยังคงให้แสงแดดในช่วงฤดูหนาวส่องผ่านเข้ามาได้ ผนังที่ยาวเป็นกรอบของพื้นที่กว้างใหญ่แบบพาโนรามาผ่านช่องเปิดขนาดใหญ่ ทำให้มองเห็นภูมิทัศน์ได้กว้างขึ้น นอกจากนี้ช่วยแบ่งพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวภายในบ้านออกจากกันอย่างชัดเจน

บ้านวัสดุธรรมชาติใต้ต้นไม้

ต้นไม้คลุมให้ร่มเงาบริเวณระเบียง

เนื่องจากทิศทางลมเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ สถาปนิกจึงวางตำแหน่งช่องเปิดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อทำให้ลมพัดผ่านตัวบ้านได้สะดวก นอกจากนี้ ช่องเปิดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังช่วยให้มองเห็นพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่และต้นไม้หนาแน่นได้กว้างขึ้นตามลำดับ ทำให้บ้านดูโปร่งขึ้น

บ้านผนังดินอัดหลังคาจั่วสูงโชว์ฝ้าเพดานไม้

บ้านหลังคาจั่วสูงมีสกายไลท์ให้แสงจากด้านบน

บ้าน open plan หลังคาจั่วสูงโชว์ฝ้าเพดานไม้

ระเบียงไม้โค้งๆ นำเข้าสู่บ้านผ่านพื้นที่รับประทานอาหาร ซึ่งจะเปิดภายในแบบ open plan รวมพื้นที่นั่งเล่นและครัวไว้ด้วยกันในห้องโถงขนาดใหญ่นี้ ส่วนที่สะดุดตาภายใน คือ โครงสร้างหลังคาไม้เก่าที่ทนทาน และได้รับการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยยกขึ้นบนเสาไม้ มีช่องแสงสกายไลท์เป็นช่องว่างเพื่อให้แสงธรรมชาติกระจายลงสูภายใน และมองเห็นต้นไม้ที่มีอยู่ทั้งหมดได้อย่างชัดเจน  นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มปริมาตรและความโล่งให้กับพื้นที่ในแปลนที่กะทัดรัดนี้ด้วย

ฝ้าเพดานไม้เจาะช่องแสงสกายไลท์บนหลังคา

บ้านผนังดินอัดหลังคาจั่วสูงโชว์ฝ้าเพดานไม้

ผนังดินอัดตกแต่งกระเบื้องสีขาว

โทนสีของบ้านที่ประกอบด้วยออกไซด์สีเหลืองสำหรับพื้นภายใน ผนังห้องน้ำหินโคตา (หินปูนโคตาเนื้อละเอียด) ขัดเงา  และระเบียงไม้ด้านนอก ทำให้สีสันของวัสดุสะท้อนความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบ

บ้านวัสดุธรรมชาติใต้ต้นไม้

บ้านวัสดุธรรมชาติใต้ต้นไม้

ลานนั่งเล่นแบบขั้นบันได

เมื่อกลับมาที่ไซต์งาน สถาปนิกพบว่ามีบริเวณที่ช่างก่อสร้างและคนงานมักจะมารวมตัวกันเพื่อดื่มชาพักผ่อนใต้ต้นไม้ใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นรอบๆ บริเวณนั้น เพื่อใช้เป็นจุดพบปะสังสรรค์นอกบ้าน โดยทำครัวเปิดที่มีที่นั่งรอบต้นไม้และสระบัว และเปลี่ยนส่วนที่เป็นหลุมลงไปให้ให้เป็นคุนด์ (อัฒจันทร์ขนาดเล็ก) พื้นผิวออกไซด์สีแดง ไล่ระดับเป็นขั้นบันไดตามความลาดชันตามธรรมชาติ ที่สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนสามารถแวะเวียนมานั่งเล่น งีบหลับ หรือปาร์ตี้รอบกองไฟได้ตามอัธยาศัย

ลานนั่งเล่นแบบขั้นบันได

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด