เมนู

“ไอซ์ซึ” บ้านเรียบง่ายแต่พิเศษ สะท้อนทุกบุคลิกของผู้เป็นเจ้าของ

บ้านหลังคาเมทัลชีท

บ้านไม้ทรอปิคอลผสมกลิ่นอายญี่ปุ่น

นาทีนี้ถ้าใครยัง (พอมี) ความเป็นวัยรุ่น ก็คงจะรู้จักนักแสดงหนุ่มมากความสามารถชื่อกลิ่นอายญี่ปุ่น “ไอซ์ซึ” หรือ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ หนึ่งนักแสดงหลักจากภาพยนตร์เรื่อง One for the Road ซึ่งเจ้าตัวทุ่มเทกับการทำงานลดน้ำหนักกว่า 17 กิโลกรัม พร้อมกับโกนศีรษะ เพื่อรับบทชายที่ป่วยด้วยโรคร้ายจนสมจริง ด้วยบทบาทที่ตรึงตราในใจ ทำให้เราอยากรู้จักตัวตนของเขามากขึ้น ผ่าน “บ้าน” ที่เขาพักอาศัย เพิ่งสร้างเสร็จสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อปีที่แล้ว เป็นบ้านที่มีความร่วมสมัยในดีไซน์คม ๆ ผสมทรอปิคอล แต่แอบมีจิตวิญญาณญี่ปุ่นซ่อนอยู่เหมือนชื่อเจ้าของบ้าน โดยฝีมือการออกแบบของ Junsekino Architect สถาปนิกที่รับรองได้ว่าบ้านจะมีความธรรมดา (ที่ไม่เคยธรรมดา)

ออกแบบJunsekino Architect and Design
ภูมิสถาปนิก : Kaizentopia
ภาพถ่าย : Spaceshift studio
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านไม้โมเดิร์นรั้วบล็อกแก้ว

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านสองชั้นพื้นที่ 280 ตารางเมตรนี้ อยู่ในเขตที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ แวดล้อมด้วยเพื่อนบ้าน ความน่าสนใจอยู่ที่บ้านทรงสี่เหลี่ยมเรียบง่าย แต่การเลือกใช้วัสดุที่ดูต่างยุคและต่างคุณสมบัติทำให้บ้านแแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็น เมทัลชีท วัสดุโปร่งแสง นำมาผสมผสานกับระแนงไม้ บล็อกแก้ว สร้างความรู้สึกที่หลากหลาย นอกจากนี้ตัวหลังคายังสร้างมุมมอง perspective ที่ต่างไปแล้วแต่มุมที่มอง อาจเป็นหลังคาจั่วเมื่อมองจากด้านหน้าแต่กลายเป็นปั้นหยาถ้าดูแบบ Bird’s Eye View และยังซ่อนสกายไลท์เอาไว้บนจุดสูงสุดของหลังคา เหมือนพิระมิดที่ส่องแสงสว่างได้เมื่อยามค่ำมาเยือน

บ้านไม้โมเดิร์นรั้วบล็อกแก้ว

ผนังบ้านไม้รั้วบล็อกแก้ว

ด้วยความที่เจ้าของบ้านเป็นนักแสดงจึงต้องการพื้นที่ใช้สอยที่มีความเป็นส่วนตัวสูง แต่ยังคงมีพื้นที่ธรรมชาติสำหรับให้พักผ่อนหลังกลับบ้าน ความขัดแย้งนี้จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายสถาปนิกพอสมควร บ้านจึงถูกตีความทางกายภาพเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมและสเปซที่ปิดจากภายนอกระแนงไม้ รั้วบ้านใช้บล็อกแก้วเรียงในแนวตั้งเพื่อให้ความโปร่งแสงช่วยบดบังสายตา แต่ยังดึงแสงเข้าสู่บริเวณบ้านได้บางส่วน โดยไม่ทำให้รู้สึกว่าบ้านทึบตัดขาดจากชุมชนมากเกินไป

ผนังบ้านไม้รั้วบล็อกแก้ว

โซ่ร่างน้ำฝน (Kusaritoi, 鎖樋) ติดอยู่ที่ปลายชายคา เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ได้รับอิทธิพลจากญี่ปุ่นที่เรามักเจอในบริเวณวัดหรือศาลเจ้า ในบ้านญี่ปุ่นดั้งเดิมก็ยังคงมีใช้อย่างแพร่หลาย ระยะหลัง ๆ แม้แต่ในบ้านแบบญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล ก็ยังหยิบจับนำมาตกแต่งบ้านกันมากขึ้น ในช่วงที่ฝนตกจะเพลิดเพลินกับการนั่งมองน้ำฝนไหลลงมาตามสายชุดห่วงโซ่ พร้อมสัมผัสเสียงที่เกิดจากน้ำฝนกระทบวัสดุรองรับข้างล่างชวนให้สงบเย็น

ห้องทานข้าว

บ้านกลิ่นอายญี่ปุ่น

สถาปนิกได้แยกพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนอย่างชัดเจน โดยคำนึงถึงระดับความเป็นส่วนตัวเป็นหลัก ได้แก่ ภายในบ้านถูกแบ่งพื้นที่ให้ชั้น 1 เป็นส่วนต้อนรับแขก และมุมสำหรับเล่นโยคะ  โซนหนึ่งของบ้านจัดเป็นสวนญี่ปุ่นแบบ ZEN เป็นลานกรวดที่วางก้อนหินขนาดต่างๆ เอาไว้ตรงกลาง 3 ก้อน เป็นตัวแทนของภูเขา รอบ ๆ ขีดเส้นวนกลมเหมือนรัศมีของน้ำที่กระจายตัวเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำ สร้างบรรยากาศของความสงบและสันโดษ เหมาะกับการนั่งนิ่งๆ สร้างสมาธิหลังและฝึกโยคะยืดเหยียดร่างกาย หลังจากต้องทำงานเหนื่อย ๆ มาทั้งวัน

สวนสไตล์ zen

เจาะช่องว่างให้ต้นไม้โตทะลุหลังคา

การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นหนึ่งหัวใจหลักของบ้านหลังนี้ เราจะเห็นการเชื่อมต่อระหว่างคน บ้าน เข้ากับธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ สถาปนิกไม่เพียงจัดให้บ้านมีสวนหินเท่านั้น แต่ยังดึงธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแสงผ่านช่องว่างระหว่างซี่ไม้และหลังคา skylight  สายลมที่แทรกเข้ามาตามช่องเปิดของบ้านในตำแหน่งที่ตั้งใจ และต้นไม้ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านแบบแนบสนิท ด้วยการเจาะพื้นเพดานเพื่อให้ต้นไม้ได้เติบโตทะลุจากชั้นล่างขึ้นไปยังชั้นบน

ปลูกต้นไม้ในบ้านมี skylight

พื้นที่ชั้น 2 จะถูกแบ่งให้พื้นเป็นโซนครัว สวนเล็ก ๆ  ที่มีประตูแมวให้สามารถเดินเข้าออกได้โดยที่เจ้าของไม่ต้องคอยปิด-เปิดประตูให้ และยังช่วยให้แมวรู้สึกเป็นอิสระไม่เครียดแม้จะต้องถูกเลี้ยงในระบบปิดให้อยู่แต่ในบ้านก็ตาม นอกจากนั้นจะเป็นของห้องนอน และห้องทำงาน

บ้านแมว

ห้องนอนเชื่อมต่อสวนส่วนตัว

หลังคามีช่องแสง skylight

ที่ระเบียงห้องต่อเชื่อมกับห้องนอนจัดสวนกระถางวางบนพื้น และตามแนวผนังบ้านทำหน้าที่เพิ่มความเป็นส่วนตัวอีกระดับ พร้อมกับกั้นแสงกรองฝุ่นควันภายนอกไปด้วยในตัว เมื่อเปิดประตูออกมาเจ้าของบ้านก็จะได้เพลิดเพลินกับธรรมชาติที่รายล้อมโดยไม่ต้องก้าวออกจากตัวบ้านไปข้างนอก

ซุ้มประตูโค้งๆ
การตกแต่งไฟในบ้าน

ในช่วงค่ำเมื่อเปิดไฟส่องสว่าง แสงจะทะลุจากตัวบ้านกระจายออกมาตามช่องว่างระหว่างระแนงไม้ และกำแพงบล็อกแก้วที่อนุญาตให้แสงผ่านได้บ้าง เมื่อประกอบกับไฟ uplight ตกแต่งตามจุดรอบรั้วบ้าน ทำให้เหมือนบ้านและกำแพงที่เปล่งแสงได้ กลายเป็นหนึ่งอีกจุดเด่นของบ้านที่ทำให้ทุกคนต้องจับตามอง เหมือนเจ้าของบ้านที่ดูเปล่งประกายเมื่อโลดเล่นอยู่บนโลกภาพยนตร์

 

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด