เมนู

ฉนวนกันความร้อน PE vs PU ติดให้หลังคาเมทัลชีทแบบไหนดีกว่ากัน

เลือกฉนวนกันความร้อน PU หรือ PE

แอดมินคะ ขออนุญาตปรึกษา ที่บ้านติดตั้งหลังคาเมทัลชีท ผ่านไปไม่กี่ปีเมทัลชีทเสื่อม ฟอยล์หลุดออกร่วงลงมา แก้ไขอย่างไรดีคะ” นับเป็นคำถามยอดฮิตที่แฟนเพจหลายท่านทักถามกันมา ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเสื่อมดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับหลังคาเมทัลชีทครับ แต่เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งมากับหลังคาเมทัลชีท และจากการสำรวจพบว่า ประมาณ 90% ของปัญหาที่พบ เกิดจากการเลือกติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” พาไปไขคำตอบและช่วยแก้ปัญหาที่ค้างคาใจ เพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังติดตั้งหลังคาบ้านด้วยแผ่นเมทัลชีท สามารถเลือกฉนวนได้เหมาะสม หรือบ้านไหนเจอปัญหาแล้วสามารถแก้ไขได้ถูกทาง

สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand
ผู้เขียน : อภิสิทธิ์ สุธาประดิษฐ์

ฉนวนกันร้อน สำหรับหลังคาเมทัลชีท

ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกมากกว่า 5 ชนิดครับ แต่หากเจาะลึกสำหรับบ้านที่ติดตั้งหลังคาเมทัลชีท โดยส่วนมากแล้วนิยมใช้ฉนวนกันความร้อนเพียง 2 ชนิดเท่านั้น นั่นคือแบบ PU และแบบ PE ทั้งสองชนิดนี้ชื่อก็คลับคล้ายคลับคลากัน เป็นปกติธรรมดาที่อาจทำให้เจ้าของบ้านมือใหม่หลายท่านเรียกผิด เรียกถูก และอาจส่งผลไปถึงการสั่งซื้อที่ผิดชนิด เนื้อหานี้จึงขอเจาะลึกแค่ 2 ชนิดนี้เท่านั้น จะได้ฟันธงกันไปเลยว่า แบบไหนควรเลือกแบบไหนควรเลี่ยง

เริ่มจาก ฉนวนกันความร้อน PE

ฉนวนกันความร้อน PE มีชื่อเต็มว่า Polyethylene Foam เป็นแผ่นโฟมบาง ๆ ห่อหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์อีกชั้น คุณสมบัติเด่นคือ บาง เบา ติดตั้งง่ายและราคาถูก จึงเป็นที่นิยมสำหรับหลาย ๆ บ้านที่ต้องการประหยัดงบประมาณ การผลิตฉนวน PE ร่วมกับเมทัลชีท จะผลิตผ่านเครื่องรีด รีดติดทับมากับแผ่นเมทัลชีทเลย จะว่าไปแล้วหากย้อนไปเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน หลาย ๆ บ้านจะนิยมใช้ฉนวน PE มาก โดยเฉพาะงานต่อเติมโรงจอดรถยนต์มีให้เห็นอย่างแพร่หลาย

ผลิต ฉนวน PE หลังคาเมทัลชีท

แต่แล้วเวลาผ่านไปประมาณ 3-5 ปี ฉนวนกันความร้อน PE ได้แสดงผลลัพธ์หลุด ลอก ร่วง มาให้เห็นกันจนชินตา เป็นที่มาของคำถามสุดฮิตของคนที่ใช้เมทัลชีท หากเป็นไปได้จึงแนะนำให้เลี่ยงใช้ฉนวน PE ย่อมดีกว่าครับ ยิ่งหากมองเรื่องประสิทธิภาพในการกันร้อน ฉนวน PE จะมีคุณสมบัติด้อยกว่าฉนวนแบบอื่น ๆ ความคงทนก็น้อยกว่ามาก ในอดีตที่ได้รับความนิยมสูง เป็นเพราะตัวเลือกฉนวนในยุคนั้นยังน้อยมาก หลังคาเมทัลชีทยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับบ้านเรือนในไทย

สำหรับคนที่กำลังต่อเติมโรงจอดรถ หรือทำอาคารเปิดโปร่งไร้ผนัง ไม่จำเป็นต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อน PE เพิ่มเติม เพราะเป็นพื้นที่ที่มีการถ่ายเทลมและความร้อนได้ดีอยู่แล้ว หากทำการติดฉนวนกันความร้อนเข้าไป ความร้อนและความชื้นอาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของกาวที่ติดฉนวนเร็วกว่าปกติ เมื่อกาวลอกออกจะส่งผลให้เกิดสนิมซึ่งอาจลุกลามไปยังแผ่นเมทัลชีทได้ครับ

โลกใหม่ของเมทัลชีท ต้องฉนวน PU

แม้จะเจอปัญหาฉนวนเสื่อมไปบ้าง ก็มิอาจฉุดรั้งความนิยมในการใช้หลังคาเมทัลชีทได้เลยครับ เมื่อการตอบรับดี ผู้บริโภคนิยมใช้กันมากขึ้น การพัฒนาสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ จึงก่อกำเนิดขึ้นและหนึ่งในนั้นคือฉนวนกันความร้อนชนิด PU มีชื่อเต็มว่า Polyurethane Foam ฉนวนชนิดนี้มีลักษณะเป็นโฟมสีเหลือง เกิดจากการผสมทางเคมีก่อเกิดเป็นเม็ดโฟมละเอียดสีเหลืองอ่อน มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ทั้งยังน้ำหนักเบา และที่สำคัญทำหน้าที่กันเสียงได้ระดับหนึ่งด้วย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำมาใช้ร่วมกับหลังคาเมทัลชีทที่มักเจอปัญหาเสียงดังเมื่อฝนตก

ฉนวน PU หลังคาเมทัลชีท ดีไหม

โดยทั่วไปฉนวน PU มีความหนาประมาณ 15 – 50 มิลลิเมตร มีคุณสมบัติไม่ลามไฟและไม่อมน้ำ การสั่งผลิตหากเป็นบ้านสร้างใหม่ จะนิยมสั่งร่วมมากับแผ่นเมทัลชีทเลย ผลิตมาจากโรงงาน ช่วยให้แผ่นติดเรียบแน่นสนิทไปกับหลังคา ส่วนบ้านไหนที่สร้างเสร็จแล้วและต้องการติดตั้งฉนวนเพิ่มภายหลัง ปัจจุบันมีฉนวน PU แบบพ่น เป็นการผสมทางเคมีเช่นเดียวกัน แต่เป็นสูตรพิเศษที่สามารถพ่นทับได้เลย โดยช่างจะฉีดพ่นใต้แผ่นหลังคา เมื่อฉีดแล้วจะเกิดปฏิกริยาทางเคมี เกิดการฟูตัวลักษณะฟองน้ำ มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ PU แบบติดสำเร็จครับ หรือบางแห่งต้องการป้องกันของมีค่าภายในอาคาร เช่น โรงงานอุตสาหากรรมจะเคลื่อนย้ายเครื่องจักรได้ยาก จึงใช้วิธีฉีดพ่นบนหลังคา พร้อมกับพ่นสีเซรามิกที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนทับอีกชั้น ช่วยยืดอายุฉนวน PU ได้ยาวนานยิ่งขึ้น

PU Foam

ตัวอย่างการพ่นโฟม PU | ภาพ : ThermoSeal

ปรับความเข้าใจใหม่ เมทัลชีทก็เย็นได้

จากการได้พูดคุย สัมภาษณ์เจ้าของบ้านที่กำลังสร้างบ้านหลายท่าน ยังเข้าใจว่า บ้านที่ใช้หลังคาเมทัลชีทจะให้ความร้อนสูง ซึ่งหากเทียบเฉพาะวัสดุต่อวัสดุเป็นความจริงที่ว่า เมทัลชีทนำความร้อนได้ดีกว่าวัสดุหลังคาประเภทคอนกรีต เพราะหากนำคุณสมบัติของเมทัลชีทมาวิเคราะห์ให้ลึก ๆ แล้ว เมทัลชีท ที่ดีจะถูกเคลือบสีมาจากโรงงาน และด้วยคุณสมบัติของสีที่ช่วยสะท้อนความร้อน จะทำให้แผ่นเมทัลชีทสะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้านได้ และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับฉนวนที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ทั้งสองคุณสมบัตินี้เมื่อใช้งานร่วมกันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนคุณสมบัติพิเศษที่หลังคาเมทัลชีทมีคือการไม่สะสมหรืออมความร้อน หลังจากพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว บ้านจะคายความร้อนได้เร็วกว่า ช่วยให้การอยู่อาศัยยามเย็นและค่ำคืนสบายยิ่งขึ้น


เพิ่มประสิทธิภาพความเย็น ด้วยหลังคา BlueScope

หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและป้องกันเสียงดังรบกวนได้ดียิ่งขึ้น จำเป็นต้องเลือกแผ่นเมทัลชีทที่มีความหนาประมาณ 0.4 mm ขึ้นไป สำหรับหลังคาหลักของบ้าน และผ่านการเคลือบสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน อย่างเมทัลชีท BlueScope Zac Cool มีให้เลือกที่ความหนา 0.3-0.47 mm ผ่านกรรมวิธีเคลือบสีสะท้อนความร้อน สามารถป้องกันรังสี UV ซึ่งมีผลกับความร้อนโดยตรงได้เป็นอย่างดี และมีสีมาตรฐานให้เลือก 12 สี แต่หากให้แนะนำหากการออกแบบบ้านไม่ได้โชว์หลังคาเป็นพิเศษ เลือกสีขาวจะสะท้อนความร้อนได้ดีที่สุดครับ

BlueScope

BlueScope Zacs แบรนด์เมทัลชีทอันดับ 1 ในไทย ได้รับความไว้วางใจจากสถาปนิกและวิศวกรชั้นนำ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เว็บไซต์ : https://bit.ly/2Pmebj1  | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

http://www.tb-credit.ru/kredit-na-kartu.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด