รีโนเวทอพาร์ทเมนท์
เคยสังเกตหรือไม่ว่าสภาพแวดล้อมมีผลต่อการอยู่อาศัย หากลองเปรียบเทียบระหว่างการอยู่ในบ้านที่ทรุดโทรม มืด อากาศถ่ายไม่สะดวก กับบ้านใหม่ที่สะอาด อากาศระบายได้ดี มีแสงสว่างเหมาะสม ความรู้สึกในการอยู่อาศัยจะต่างกัน ซึ่งความต่างนี้ไม่เพียงแต่กระทบกับความรู้สึกเท่านั้นแต่ยังส่งผลโดยตรงกับสุขภาพด้วย สำหรับคนที่มีงบประมาณแต่ไม่มากพอจะซื้อบ้านใหม่ วิธีการปรับปรุงรีโนเวทให้บ้านดูดีขึ้นก็เป็นทางเลือกที่ดี เช่น หอพักเก่าบนถนน Phuong Mai ในฮานอยที่เก่าเก็บก็ได้รับการเนรมิตโฉมใหม่ให้อยู่สบายขึ้นโดยใช้วัสดุง่าย ๆ กับงบประมาณ 400 ล้านดองเวียดนามหรือประมาณ 5.4 แสนบาท
ออกแบบ : March Architecture + Luke Nguyen Lab
ภาพถ่าย : Abluebird Photography
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
Before : สภาพบ้านก่อนการปรับปรุงค่อนข้างเก่า ไม่เพียงแต่ดูดซับความชื้นเอาไว้เท่านั้นแต่ยังมีการรั่วซึมอีกด้วย ภายในขาดแสงรวมกับกลิ่นเหม็นอับทำให้ภายในบ้านเสื่อมโทรมลงอย่างมาก สิ่งนี้มีผลอย่างมากต่อชีวิตและหน้าที่การงานของเจ้าของบ้านที่เป็นเจ้าของกิจการสอนภาษาญี่ปุ่นเล็ก ๆ ในบ้านขนาด 70 ตารางเมตรนี้ กระบวนการปรับปรุงบ้านนอกเหนือจากการทำความเข้าใจความต้องการของเจ้าของบ้านอย่างชัดเจนแล้วทีมสถาปนิกยังต้องเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของโครงการ เพื่อให้ได้แผนงานที่เป็นไปได้มากที่สุด
ข้อจำกัดของอะพาร์ตเมนต์นี้ คือ ห้องตั้งอยู่ที่ชั้น 1 ของอาคารซึ่งล้อมรอบด้วยบ้าน 5-6 ชั้นจำนวนมาก ดังนั้นจึงขาดพื้นที่รับแสงด้านในจึงมืดมาก แต่สภาพปัจจุบันของบ้านมีการรับแสงได้ดีขึ้น หาระบายอากาศค่อนข้างดีเพราะประตูหน้าและหลังเปิดได้มากขึ้นสร้างความแตกต่างอย่างมากระหว่างห้องเก่ากับห้องใหม่
อพาร์ทเมนท์ใหม่โปร่งและสงบ
After : หลังจากกด F5 รีเฟรชห้อง ภายในบ้านเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทีมงานไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลัก เพียงแต่ตกแต่งใหม่โดยเลือกใช้วัสดุที่ตอบโจทย์บ้านแคบและมืด เช่น ห้องน้ำที่อยู่หน้าบ้านก็คงอยู่ที่เดิมแต่เปลี่ยนผนังจากการก่อทึบเป็นบล็อกแก้ว ประตูเป็นกระจกฝ้าที่อนุญาตให้แสงสามารถทะลุเข้าไปได้บางส่วน ช่วยลดความชื้นภายในแต่ยังคงความเป็นส่วนตัวและไม่ทำให้รู้สึกว่าบ้านแคบ ถัดไปเป็นครัวบิล์อินติดผนังที่ใส่ฟังก์ชันครบครันในจุดเดียว เพื่อให้เจ้าของบ้านมีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น
คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่
สำหรับวิธีการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรม สิ่งที่ทีมงานนำเสนอคือการรักษาพื้นที่ใช้งานหลัก ๆ เอาไว้ ภายในถูกจัดวางอย่างเรียบง่ายทันสมัยสอดคล้องกับพลวัตของเจ้าของบ้าน สร้างความเชื่อมต่อให้ไหลลื่นแต่มีความเป็นสัดส่วนขึ้น ได้แก่ พื้นที่ส่วนกลางรวมห้องน้ำ ห้องครัว โต๊ะรับประทานอาหารเข้าไว้ด้วยกันโดยไม่มีผนังกั้น
โต๊ะทานอาหารสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลายตามใจชอบ แต่หลังผนังบล็อกแก้วจะเป็นโซนส่วนตัว ประกอบด้วย ห้องนอนใหญ่ 1 ห้อง ห้องนอนเล็ก 1 ห้องสำหรับแขก ซึ่งห้องนอนเล็กนี้สามารถเปลี่ยนเป็นห้องนั่งเล่นได้เมื่อจำเป็น นอกจากนี้ยังมีอีก 1 ห้องสำหรับแยกออกไปสำหรับสอนหนังสือ โดยทีมออกแบบจะปรับพื้นที่ห้องให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ห้องนอนที่มีอยู่มีขนาดใหญ่เกินไปในขณะที่พื้นที่ใช้สอยมีขนาดเล็กก็ปรับลดลมา เป็นต้น
ห้องนอนที่ทำให้เล็กลงเพื่อแบ่งสัดส่วนสำหรับใช้งานอื่น ๆ มากขึ้นตามความจำเป็นมาก-น้อยที่เปลี่ยนไป แต่กลับไม่รู้สึกถึงขนาดห้องที่เล็กลงเพราะผนังบล็อกแก้วเพื่อช่วยให้อพาร์ทเมนท์สว่างขึ้น
การใช้ประโยชน์จากอพาร์ทเมนต์เล็ก ๆ ต้องใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ที่สุด สถาปนิกจึงบิลท์ตู้ ชั้น เต็มพื้นที่ผนังสำหรับเก็บของวางของ ทำให้ประหยัดพื้นที่ตู้เก็บของไม่ต้องเปลืองพื้นที่วางกับพื้น และยังใส่ฟังก์ชันนั่งเล่นเอาไว้ตรงกลาง ทีมงานยังเปลี่ยนหน้าต่างจากบานกระจกใส่เหล็กดัดติดตาย มาเป็นหน้าต่างบานเกล็ดเพื่อเพิ่มการระบายอากาศผ่านห้องทำให้อากาศไหลเวียนได้สะดวก ประตูทุกบานติดมุ้งกันแมลงเพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถเปิดประตูเพิ่มการระบายอากาศได้โดยไม่ต้องกลัวแมลง
แปลนห้อง
บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : บล็อกแก้วเป็นวัสดุสี่เหลี่ยมที่นำมาใช้ติดตั้งเป็นผนังหรือพื้นได้หลากหลายรูปแบบทั้งภายในและภายนอกอาคาร เช่น ใช้เป็นช่องแสงบริเวณต่างๆ เป็นผนังกั้นระหว่างห้อง หรือตกแต่งรอบรั้วอาคาร มีให้เลือกทั้งใสและโปร่งแสง สามารถปล่อยให้แสงทะลุผ่านได้ตั้งแต่ 40-75% (แบบใส 75, แบบสี 40) เจ้าของบ้านจึงเลือกได้ตามระดับความเป็นส่วนตัวและความต้องการแสง นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ได้แก่ การป้องกันเสียง ทนไฟและความร้อน ทนทาน ทำความสะอาดง่าย |