เมนู

ต่อเติมดาดฟ้าที่รั่วร้อน เป็นพื้นที่พักผ่อนและซักล้าง

ต่อเติมหลังคาดาดฟ้า

ไอเดียต่อเติมดาดฟ้า กันร้อน กันรั่ว

บ้านทาวน์โฮมและทาวน์เฮ้าส์ในอดีต นิยมทำหลังคาเป็นดาดฟ้าโล่ง ๆ เจ้าของบ้านมักใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นลานตากผ้า วางคอมเพรสเซอร์แอร์ หรือปล่อยทิ้งร้างไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ และเมื่อผ่านอายุการใช้งานนานหลายปี พื้นคอนกรีตที่โดนแดด โดนฝน ค่อย ๆ เกิดปฏิกิริยายืดหดส่งผลให้เกิดรอยร้าว เป็นที่มาของปัญหารั่วซึม จำเป็นต้องให้ช่างมาทากันซึมอยู่เสมอ

จะดีกว่าไหม หากปัญหานี้จบได้ในครั้งเดียวด้วยการต่อเติมหลังคา ซึ่งไม่เพียงแค่แก้ปัญหารั่วซึมได้ แต่หลังคายังช่วยลดอุณหภูมิความร้อนให้กับบ้านและช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ดาดฟ้าเดิมดูน่าใช้ น่าพักผ่อน ก่อให้เกิดการใช้งานจริงมากกว่าเดิม เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” พาไปชมตัวอย่างงานออกแบบต่อเติมหลังคาดาดฟ้า ไอเดียนี้ไม่มีหวง นำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับบ้านของเราเองได้เลยครับ

สนับสนุนโดย : BlueScope Thailand
ออกแบบโดย : PunPlan

หลังคาดาดฟ้า

ออกแบบ : PunPlan

บ้านหลังนี้ เป็นบ้านของคุณบอล ธีรภัทร์ พิทตระพันธ์ หนึ่งในทีมสถาปนิกบริษัท ปันแปลน จำกัด ด้วยความที่ตนเองยังอยู่ในวัยกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว การสร้างบ้านจึงต้องควบคุมงบประมาณให้พอเหมาะพอดี งานออกแบบและก่อสร้างจึงวางแผนแยกเฟสเพื่อลดงบประมาณ โดยเฟสแรกทำเป็นบ้าน 2 ชั้น มีชั้นดาดฟ้าพร้อมทางขึ้น ปัจจุบันอยู่อาศัยมา 3 ปีแล้วครับ และกำลังมีแผนที่จะต่อเติมชั้นดาดฟ้าไว้สำหรับเป็นพื้นที่พักผ่อนและซักล้าง ทีมออกแบบปันแปลนจึงช่วยกันปรับปรุงพื้นที่ให้ใหม่ นำมาให้ผู้อ่านได้ชมไว้เป็นแนวทาง

ดาดฟ้าบ้านในเมือง

3 จุดต้องคำนึง ก่อนคิดต่อเติมหลังคาดาดฟ้า

  • ดีไซน์และผลกระทบกับเพื่อนบ้าน

กรณีเป็นบ้านเดี่ยวมักไม่เป็นปัญหาครับ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นได้หากเป็นบ้านทาวน์โฮมและทาวน์เฮ้าส์ โดยเฉพาะทาวน์เฮ้าส์ มักออกแบบเป็นอาคารเชื่อมกันหลายหลัง หากมีหลังใดหลังหนึ่งดีไซน์เปลี่ยนไป ย่อมส่งผลให้หลังอื่น ๆ ดูไม่สวยงามได้ทันที ทุก ๆ งานต่อเติมบ้านทาวน์เฮ้าส์ จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบของภาพรวมก่อนเป็นลำดับแรก รวมทั้งกระทบอื่น ๆ เช่น บ้านของเราบดบังทิศทางลมเพื่อนบ้านหรือไม่ ต่อเติมแล้วบดบดวิสัยทัศน์ของเพื่อนบ้านหรือไม่ งานต่อเติมทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์ที่ดี ต้องอยู่บนพื้นฐานความกลมกลืนกับเพื่อนบ้านเดิมด้วยครับ

  • การรับน้ำหนักโครงสร้าง

ไม่ใช่ทุกหลังที่จะสามารถต่อเติมหลังคาให้ดาดฟ้าได้ แต่หากบ้านเดิมทำทางขึ้นดาดฟ้าไว้ตั้งแต่ต้น วิศวกรมักจะออกแบบโครงสร้างให้รองรับการใช้งานเบื้องต้นแล้วครับ อย่างไรก็ตามก่อนจะดำเนินการใด ๆ เพื่อความชัวร์ เจ้าของบ้านควรติดต่อหาวิศวกร เพื่อให้มาประเมินงานโครงสร้าง จะช่วยทำให้ทราบได้ว่า พื้นที่ดาดฟ้าของเรารับน้ำหนักได้เท่าไหร่ จะประยุก์ใช้งานใดได้บ้าง หรือมีจุดใดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะช่วยให้การใช้งานเกิดความอุ่นใจและปลอดภัยยิ่งขึ้นครับ

  • เน้นวัสดุเบาและกระบวนการแบบแห้ง

แม้โครงสร้างบ้านเดิมจะรับน้ำหนักไหว การต่อเติมที่ดีควรเลือกคัดสรรวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและกระบวนการติดตั้งแบบแห้งมาใช้งานครับ เนื่องด้วยงานต่อเติมหลังคาดาดฟ้าเป็นการทำงานบนบ้านพักอาศัยเดิม วัสดุน้ำหนักเบาและงานแห้ง จะช่วยให้สามารถดำเนินการได้สะดวกรวดเร็ว ไม่ส่งผลกระทบกับการอยู่อาศัยเดิม

เช่น กรณีทำผนัง ควรเลี่ยงการใช้ผนังก่ออิฐฉาบปูน แต่ให้เลือกผนังเบา อาทิ ผนังสมาร์ทบอร์ด, ผนังเมทัลชีทแซนวิช ส่วนงานหลังคา ควรเลี่ยงวัสดุประเภทกระเบื้อง แต่ควรเลือกใช้วัสดุหลังคาเบาอย่างเมทัลชีทแทน

ตัวอย่างงานออกแบบต่อเติมหลังคาดาดฟ้า

สิ่งแรกที่จะเปลี่ยนแปลงไปทันทีเมื่อมีการต่อเติมหลังคาบ้าน คือ หน้าตาบ้าน ก่อนจะทำการต่อเติมจึงควรให้สถาปนิกหรือนักออกแบบดูความเหมาะสมให้ก่อนครับ เพราะหากเรียกให้ช่างต่อเติมมั่ว ๆ  อาจส่งผลให้บ้านขาดความสวยงามได้ ตัวอย่างบ้านสไตล์ Minimal Modern หลังนี้ เมื่อเพิ่มหลังคาดาดฟ้า บ้านจะให้อารมณ์ Tropical Modern ขึ้นมาทันที

พื้นที่บนชั้นดาดฟ้าของบ้านหลังนี้ มีบันไดทางขึ้นอยู่โซนกลางบ้าน การออกแบบพื้นที่ใช้งานชั้นดาดฟ้า จึงถูกแบ่งโซนไว้ 2 ด้าน โซนแรกด้านหน้ามีพื้นที่ไม่มากนักจึงเลือกใช้เป็นพื้นที่ซักผ้า ตากผ้า ส่วนด้านหลังมีพื้นที่กว้าง ประจวบกับวิวทิวทัศน์หลังบ้านที่สวยงามกว่า จึงจัดโซนไว้เป็นมุมพักผ่อนพร้อมกับครัวเบารองรับการสังสรรค์ รับลมยามเย็น

ออกแบบบ้านมีดาดฟ้า

หลังคาออกแบบเป็นรูปทรงปีกผีเสื้อ เพื่อให้การระบายน้ำฝนมารวมไว้ส่วนกลาง วัสดุหลังคาเลือกใช้เมทัลชีท BlueScope Zacs Cool หนา 0.35 มม. ติดตั้งแบบคลิปล็อคซึ่งจะช่วยให้ปรับองศาหลังคาได้ต่ำ 2-3 องศา จึงไม่ทำให้หลังคาบ้านดูสูงเกินไป อีกทั้งเมทัลชีทมีคุณสมบัติน้ำหนักเบา สามารถสั่งผลิตความยาวต่อเนื่องได้ ช่วยให้งานติดตั้งบนที่สูงเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว หากหน้างานเตรียมโครงหลังคาไว้พร้อมแล้ว การติดตั้งเมทัลชีทจะใช้เวลาเพียง 1-2 วันเท่านั้นครับ

ไอเดียต่อเติมบ้าน

ออกแบบซักล้างบนดาดฟ้า

ออกแบบ : PunPlan

เสารับหลังคา และโครงสร้างหลังคาเลือกเป็นโครงสร้างเหล็กทั้งหมด ทาด้วยสีขาวเพื่อต้องการคุมธีมสีบ้านเดิมไว้ ฉนวนใต้หลังคาเลือกฉนวน PU หนา 1 นิ้ว ติดมากับเมทัลชีทบลูสโคป แซคส์ คูล  มีคุณสมบัติกันความร้อนและลดเสียงรบกวนขณะฝนตกได้ดี พร้อมกับปิดทับด้านล่างด้วยฝ้าไม้เทียม ช่วยให้พื้นที่แลดูอบอุ่น น่าใช้งาน

ออกแบบครัวบนดาดฟ้าโดยปันแปลน

Before

ออกแบบครัวบนดาดฟ้าโดยปันแปลน

After

ออกแบบครัวบนดาดฟ้าโดยปันแปลน

ออกแบบครัวบนดาดฟ้าโดยปันแปลน

Before

ออกแบบครัวบนดาดฟ้าโดยปันแปลน

โซนหลังบ้านมีพื้นที่ใช้สอยที่เยอะกว่าโซนหน้า และได้วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม จึงจัดโซนนี้ไว้เป็นโซนพักผ่อน มีครัวไว้รองรับการสังสรรค์ ปาร์ตี้ หากบ้านไหนต้องการฟังก์ชันลักษณะนี้ จำเป็นต้องวางระบบน้ำดี น้ำทิ้งไว้อย่างรอบคอบครับ

อีกจุดที่ต้องให้ความสำคัญในงานต่อเติมดาดฟ้า คือ ราวกันตก หลังนี้ราวกันตกด้านข้างกำหนดความสูงไว้ 1.5 เมตร เป็นระดับความสูงที่ขณะยืนจะโผล่แค่หัว จึงช่วยบดบังความเป็นส่วนตัว ส่วนราวกันตกฝั่งชมวิว กำหนดความสูงมาตรฐาน 0.9 เมตรครับ

ออกแบบหลังคาดาดฟ้าด้วยเมทัลชีท โดยบริษัทปันแปลน

ออกแบบหลังคาดาดฟ้าด้วยเมทัลชีท โดยบริษัทปันแปลน

After

เมื่อประเมินภาพรวมในงานต่อเติมหลังคาดาดฟ้าครั้งนี้ สิ่งที่เจ้าของบ้านจะได้รับคือพื้นที่ใช้สอย เป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการใช้งานจริง แตกต่างจากดาดฟ้าเดิมที่ร้อน ส่งผลให้ไม่มีใครอยากขึ้นมาใช้งาน และเมื่อมีหลังคาเพิ่มมาอีกชั้น จึงช่วยให้พื้นที่ชั้น 2 ของบ้าน เย็นขึ้นกว่าเดิม ส่วนปัญหารั่วซึมลืมไปได้เลยครับ หลังคาชั้นบนรองรับไว้ให้หมดแล้ว การต่อเติมหลังคาดาดฟ้าจึงคุ้มค่าต่อการลงทุน

BlueScope

ผู้อ่านท่านใดสนใจหลังคาเมทัลชีท บลูสโคป แซคส์ คูล (BLUESCOPE Zacs® Cool) วัสดุหลังคาที่มี Cool Coating Technology ช่วยสะท้อนความร้อน พร้อมรับประกันไม่ผุจนทะลุยาวนานถึง 12 ปีและการรับประกันสีไม่ซีดจาง 5 ปี  สามารถศึกษาข้อมูลวัสดุหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญจากบลูสโคป ได้โดยตรงที่

รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์ : zacsroof.nsbluescope.com  | แฟนเพจ : BlueScope Thailand

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด