บ้านทรอปิคอลต้านพายุและน้ำท่วม
ถ้าในเมืองไทยเราต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมจากน้ำป่าไหลหลากที่หนักหนาสาหัส ในเมืองไมอามี รัฐฟลอริดาก็มีปัญหาจากสภาพอากาศรุนแรงเช่นกัน ในทุกปีแถบนี้จะเผชิญกับพายุที่มีพลังการทำลายล้างสูงมากในทุก ๆ ปี ในปีนี้ช่วงเดือนตุลาคม 2567 ก็เพิ่งจะมีข่าวพายุเฮเลนทวีกำลังเป็นเฮอริเคน ถล่มรัฐฟลอริดาจนต้องประกาศประกาศสภาวะฉุกเฉิน สำหรับบ้านที่เรานำเสนอในเนื้อหานี้ก็อยู่ในเขตน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดของไมอามี ซึ่งสถาปนิกต้องจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยกระดับภูมิทัศน์ริมน้ำของไมอามีไปพร้อมๆ กัน
ออกแบบ : Brillhart Architecture
ภาพถ่าย : Stephan Goettlicher,Michael Stavaridis
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่
ไซต์นี้ตั้งอยู่บนคลองใน South Coconut Grove ห่างจากอ่าว Bisycane เพียง 274 เมตร อยู่ในเขตน้ำท่วมรุนแรงที่สุดของไมอามี (VE) ดังนั้นจึงต้องออกแบบเป็นพิเศษเพื่อรับมือกับปัญหาพายุเฮอริเคน พายุซัดฝั่ง น้ำท่วม และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เจ้าของบ้านนี้คือ แบรด เฮอร์แมน ผู้ประสบภัยที่ต้องฝ่าพายุเฮอริเคนและพายุโซนร้อนหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่พายุวิลมาในปี 2005 ในปี 2017 ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่ละครั้งต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะกลับมาเป็นปกติ จึงตัดสินใจสร้างบ้านใหม่
ดีไซน์ของบ้านมีความพิเศษที่ Brillhart Architecture ได้ค้นหาวิธีในการปรับปรุงทั้งวัสดุ รูปลักษณ์ และคุณภาพเชิงประสบการณ์ของโครงสร้างที่พักอาศัยให้สอดคล้องกัน โดย 1) ยึดเอาพื้นที่ใต้ดินชั้นล่างทำหน้าที่เป็นส่วนฐาน 2) สร้างพื้นที่ใต้ดินใหม่ที่สูงขึ้นไป 3.6 เมตร และ 3) แบ่งมวลรวมออกเพื่อให้ตัวอาคารดูไม่ทึบตันและให้ความรู้สึกแบบเขตร้อนมากขึ้น
ตัวอาคารรองรับด้วยเสาเหล็กชุบสังกะสีทรงท่อเพรียวบาง หรือ “เสาค้ำยัน” ที่ตั้งในมุมต่างๆ กัน ช่วยเพิ่มการรองรับโครงสร้างคอนกรีตขนาดยักษ์ เพื่อยกระดับความสูงของบ้านเป็น 1,114 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้ปลอดภัยในกรณีน้ำท่วม ความไม่สม่ำเสมอและความเพรียวบางของเสาสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติ และทำให้ตัวอาคารดูราวกับว่าวางอยู่บนพื้นดินอย่างสบายๆ แต่กลับทนทานต่อพายุเฮอริเคนอย่างมาก
ห้องเก็บของคอนกรีตโค้ง 3 ห้องและโรงรถโค้งที่ชั้นล่าง ได้รับการออกแบบมาให้ทนต่อน้ำท่วม แต่มีช่องเปิดพรุนที่ช่วยให้น้ำไหลออกได้ ช่องเปิดเหล่านี้ไม่เพียงแต่ยึดบ้านไว้กับพื้นอย่างเป็นธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มองเห็นพื้นที่ชั้นบนได้อีกด้วย ช่องเปิดโค้งที่อยู่ติดกับบันไดก็เช่นกัน รูปแบบเหล่านี้เลียนแบบธรรมชาติและทำหน้าที่เป็นตัวเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมของชั้นบนที่เป็นเส้นตรงมากกว่า
พื้นที่ใต้ชั้นใต้ดินนี้ไม่ใช่แค่พื้นที่ “ป้องกัน” หรือพื้นที่เสริมที่ไม่ได้ใช้เท่านั้น แต่ยังถือเป็นจุดแรกของการมาถึงที่จะสร้างความประทับใจแรก ด้วยองค์ประกอบผนังห้องคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ดูเหมือนเสายักษ์โชว์ร่องรอยแม่แบบลายไม้ หรือบันไดเหล็กที่ลอยเด่นขึ้นไปบนช่องเปิดโค้ง ๆ ทำให้ที่นี่ไม่ใช่แค่บ้านที่แข็งแกร่งเท่านั้น ยังเหมือนเป็นงานศิลปะอีกด้วย
การปลูกพืชที่ทนทานต่อเกลือ ซึ่งมีความสูงความแน่นในบางพื้นที่และมีความต่ำในบางพื้นที่ ยังทำให้ความรู้สึกโปร่งใสด้านล่างลดน้อยลงด้วย
ไม่เพียงแต่การเลือกใช้วัสดุคอนกรีตและเหล็กเป็นวัสดุหลัก เพื่อให้บ้านนี้มีคุณสมบัติทนทานต่อพายุเฮอริเคนได้มากขึ้น ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เช่น ประตูและหน้าต่างกันลม และหลังคาโลหะที่มีส่วนรักษาความเป็นบ้านให้ทนทานเช่นกัน บนชั้นสองมีลานภายในที่มีต้นไม้และพืชพรรณ เอื้อให้บ้านรับลมและระบายอาาศได้ดี ชายคาบ้านยังยื่นยาวป้องกันแดดฝน ผลลัพธ์ที่ได้คือบ้านที่มีทั้งความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย เป็นตัวอย่างของวิธีที่สถาปัตยกรรมสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น
วัสดุธรรมชาติที่สวยงามและรายละเอียดต่างๆ ช่วยเพิ่มคุณภาพสัมผัสของพื้นที่ ผนังทำจากคอนกรีตขึ้นรูปเห็นริ้วแผ่นกระดาน สร้างพื้นผิวและวัสดุที่โดดเด่น ภายในพื้นที่ชั้นล่างมีบันไดเหล็กพร้อมขั้นบันไดแบบไร้ลูกตั้งและตาข่ายสแตนเลสที่นำคุณขึ้นบันไดไปยังจุดที่สองของการมาถึง เพดานเป็นการผสมผสานระหว่างไม้ไซเปรสแบบเข้าลิ้นและร่องที่เปิดโล่งและไม้ไอเป้ ทำให้รู้สึกเรียบง่ายแต่สมดุล
หลังจากก่อสร้างบ้านเรียบร้อย เจ้าของบ้านกล่าวว่า “โครงการนี้ดูไม่เหมือนบ้านหลังไหนๆ อื่นในไมอามีเลย ทั้งรายละเอียด วัสดุ และความใส่ใจในการออกแบบก็อยู่ในระดับเดียวกับพิพิธภัณฑ์ PAMM หลังสร้างเสร็จมีคนมาเคาะประตูบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งถึงสองครั้ง เพื่อถามว่าผมสนใจจะขายบ้านไหม…” นี่คือหนึ่งความภูมิใจของเจ้าของบ้าน