เมนู

เปิดอัลบั้มเต็ม พร้อมคลิป สนามบินสุวรรณภูมิ หลังที่ 2

งานออกแบบ สนามบินสุวรรณภูมิ หลังที่ 2

กลายเป็นประเด็นร้อนของวงการสถาปนิกไทย กับการประกวดโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยทาง ทอท. เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้าร่วมการประมูลงานออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ซึ่งมีมูลค่างานก่อสร้าง 35,000 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าออกแบบ 329 ล้านบาท ผลสรุปได้กลุ่มด้วงฤทธิ์ บุญนาค เป็นผู้ได้รับงานประมูลในครั้งนี้ไป

หากดูข่าวแบบผิวเผิน นับเป็นข่าวดีที่คนไทยจะได้เห็นงานออกแบบระดับชาติ เพราะสนามบินสุวรรณภูมิเปรียบเสมือนประตูด่านแรก ไว้สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจจากทั่วโลกมาเยี่ยมเยือนประเทศไทย แต่ประเด็นนี้กลับเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึง 2 ประเด็นด้วยกัน ดังนี้

ประเด็นที่ 1

เนื่องจากผู้ได้รับงานประมูล หรือกลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค ไม่ได้เป็นกลุ่มที่ได้คะแนนอันดับ 1 แต่ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 โดยกลุ่มชนะเลิศอันดับ 1 คือกลุ่ม เอส เอ ถูกคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ปรับแพ้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากขาดการแนบเอกสารสำคัญอย่าง ต้นฉบับใบเสนอราคา ตามสัญญาระบุไว้

สนามบินสุวรรณภูมิ หลังที่ 2

งานออกแบบ ดวงฤทธิ์ บุนนาค

ภายหลัง กลุ่มเอส เอ ได้ชี้แจงว่า “การพิจารณาของคณะกรรมการเหมือนปล้นกลางแดด ชนะด้านเทคนิคและอยู่ภายใต้วงเงินที่กำหนด แถมตอนซื้อซองเอกสารของการท่าฯ ก็ไม่มีต้นฉบับใบเสนอราคา ก็ไม่ได้รับมอบจากทาง ทอท. แล้วทางกลุ่มจะยื่นอย่างไร การประมูลต้องมีความโปร่งใสและเป็นธรรม ซึ่งมองว่าเอกสารต้นฉบับใบเสนอราคานั้นจึงไม่เป็นสาระสำคัญของข้อเสนอด้านราคา เพราะแบบ ง1 ถึง ง4 ที่มีการลงนามรับรองถูกต้องให้ข้อมูลการเสนอราคาได้ครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ใดๆ สำหรับงานที่ตัดสินด้วยเกณฑ์คะแนนข้อเสนอทางเทคนิค”  ซึ่งประเด็นนี้ คงต้องรอการสืบสวน สอบถามกันต่อไป แต่อาจแก้ไขอะไรยาก หากมีการเซ็นสัญญากันแล้ว

ผู้ชนะการประกวด สนามบินสุวรรณภูมิ

ผลงานออกแบบ กลุ่ม เอส เอ ชนะเลิศอันดับ 1 แต่ไม่ได้รับงานประมูล

ประเด็นที่ 2

ผลงานออกแบบ โดย กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค หลังจากได้เผยแพร่ต่อสาธารณะชน ได้เกิดเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ภายในกลุ่ม “สถาปนิก คิดอะไร” ซึ่งเป็นกลุ่มสังคมออนไลน์บน facebook  โดยเสียงวิจารณ์ส่วนใหญ่ระบุว่า งานออกแบบชิ้นนี้ให้อารมณ์สถาปัตยกรรมจากประเทศญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะงานออกแบบจากสถาปนิกชื่อดัง Kengo Kuma

อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวสถาปนิกบางส่วนก็ออกมาโต้แย้งในรายละเอียดงานออกแบบ ที่แตกต่างไปจากผลงานที่ถูกกล่าวถึง อีกทั้งสนามบินสุวรรณภูมิเป็นเสมือนตัวแทนภูมิภาคในทวีปเอเชียจึงไม่แปลกที่จะมีอารมณ์ใกล้เคียงสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นหรือจีนได้ ต่อมาคุณดวงฤทธิ์ บุนนาค ได้ออกมาชี้แจงผ่านสังคมออนไลน์ถึงประเด็นดังกล่าว และยืนยันว่างานออกแบบทั้งหมดนี้ ออกแบบด้วยตนเอง 100% โดยการออกแบบดังกล่าว ได้รับแรงบัลดาลใจจาก “ป่าไม้

ดวงฤทธิ์ บุนนาล สนามบินสุวรรณภูมิ

ผลงาน Kengo Kuma

ตัวอย่างผลงานสถาปนิกชาวญี่ปุ่น Kengo Kuma

อย่างไรก็ตาม หากงานดังกล่าวดำเนินการไปอย่างราบรื่นตามที่ ทอท.ประกาศ กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค จะต้องดำเนินการออกแบบอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคน/ปี ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 เดือนนับจากนี้ ก่อนเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาหาผู้รับเหมาต่อไป และคาดว่าจะได้เริ่มก่อสร้างประมาณปลายปี 2562 และกำหนดเสร็จสมบูรณ์ในระยะเวลา 30 เดือน หรือประมาณช่วงกลางปี 2565 นั่นเองครับ

ผู้ออกแบบสนามบินสุวรรณภูมิ

สนามบินสุวรรณภูมิ หลังที่ 2

งานออกแบบ ดวงฤทธิ์ บุนนาค

งานออกแบบ ดวงฤทธิ์ บุนนาค

สนามบินสุวรรณภูมิ หลังที่ 2

สนามบินสุวรรณภูมิ หลังที่ 2 อยู่ที่ไหน

สถานที่ตั้งสนามบินสุวรรณภูมิหลังที่ 2 ภาพโดย : Chaiwat Limwattananon

อ้างอิงข้อมูล

เพจ Thailand Skyline | มติชนออนไลน์ | กลุ่ม สถาปนิก คิดอะไร http://credit-n.ru/trips.html http://www.tb-credit.ru/microzaim.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด ข่าว กิจกรรม


โพสต์ล่าสุด