เมนู

บ้านร่วมสมัยในเขตร้อนชื้น มีสวนทุกชั้น ให้ความสุขสงบในใจ

ตกแต่งบ้านเขตร้อน

บ้านทรอปิคอลสดชื่นด้วยสวน น้ำ และปลา

หากต้องการความเป็นส่วนตัว เราจำเป็นต้องปิดบ้านทึบหมดหรือไม่  ถ้าเราชอบความทันสมัย ฟังก์ชันใหม่ๆ ที่ต่างจากบ้านยุคก่อน แต่ก็อยากให้บ้านมีความทรงจำเดิม ๆ ที่คุ้นเคยจะเข้ากันไหม คำถามเรื่องบ้านที่ผุดขึ้นมาในหัวเหล่านี้ บางครั้งก็มีความขัดแย้งแบบนี้อยู่เสมอ ๆ ซึ่งการตั้งคำถามนั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะทุกครั้งที่สงสัยจะนำไปสู่การค้นหาคำตอบ และยิ่งถ้าได้สถาปนิกที่รู้ใจก็จะสามารถนำพาเจ้าของบ้านไปพบกับ “ตรงกลาง” ระหว่างความขัดแย้งที่จะประณีประนอมและหาทางออกได้อย่างลงตัวเหมือนบ้านหลังนี้ครับ

ออกแบบ : Evolving Radical Aesthetics
ภาพถ่าย : Justin SebastianSyam Sreesylam
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านร่วมสมัยหลังคาเฉียง

The Wall of Being เป็นโครงการที่พักตั้งอยู่ที่ทางแยกรูปตัว y ในย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นของ Kozhikode เมืองชายฝั่งในรัฐ Kerala ทางตอนใต้ของอินเดีย บนแปลงเป็นเส้นตรงที่มองไม่เห็นจากภายนอกจึงค่อนข้างเป็นส่วนตัว บุคลิกของลูกค้าโอบรับไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัย ​​ในขณะเดียวกันก็มีความคำนึงเกี่ยวกับหมู่บ้านบรรพบุรุษของพวกเขาในภูมิภาค Malabar ตอนกลาง กระบวนการนี้นำไปสู่แนวคิดในการสร้างพื้นที่ที่ชวนให้นึกถึงความทรงจำร่วมกันของภูมิภาค ขณะเดียวกันก็อาศัยลักษณะทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่สร้าง “สุนทรียศาสตร์ที่ทันสมัย” ​​แต่มีส่วนผสมของกลิ่นอาย วัสดุ และฟังก์ชันที่ผสมผสานระหว่างเก่าใหม่ กลายเป็นบ้านร่วมสมัยที่อยู่ได้ทุกยุคไม่ต้องห่วงเรื่องเทรนด์

บ้านคอนกรีตฟาซาดไม้ระแนง

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

คอร์ทยาร์ด

สระน้ำในบ้าน

เพื่อเป็นแนวทางในการรับประกันความเป็นส่วนตัว จึงออกแบบแปลนให้ดูปิดข้างนอกแต่เปิดมุมมองภายในมาใช้ ซึ่งมีกำแพงสูงกว่าสองชั้นเป็นปราการกั้นระหว่างบ้านด้านข้าง และส่วนนี้จะใส่ลูกเล่นเป็นผืนผ้าใบที่พรรณนาถึงรากเหง้าและภูมิหลังทางวัฒนธรรมผ่านวัสดุและของตกแต่งบนผนัง ภายในสร้างแกนกลางของบ้านเป็นช่องว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้าขนาดใหญ่ เป็นสวนน้ำที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาของตัวปลาที่แหวกว่ายและความเขียวขจีของต้นไไม้ที่ไต่เลื้อยและห้อยย้อย โดยมีฟังก์ชันต่างๆ ของบ้านล้อมรอบ ทั้งห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ที่มองเห็นจุดนี้ได้ทั้งที่ชั้นล่างและชั้นหนึ่ง ทำให้สามารถสนทนาได้อย่างราบรื่นกับทุกพื้นที่ในเวลาเดียวกัน และทำให้เกิดการแบ่งแยกและความเป็นส่วนตัวที่เหมาะสมที่สุด

สระน้ำในบ้าน

คอร์ทยาร์และบ่อปลากลางบ้าน

นอกจากสิ่งที่ว่ามา ในการออกแบบสถาปนิกยังคำนึงถึงสภาพอากาศเขตร้อนของรัฐอย่างเกรละประกอบกันด้วย เพราะสภาพอากาศที่นี่ร้อนจัดและมีความชื้น ดังนั้นจังหวะของช่องเปิดและทิศทางของแสงจึงสำคัญ เพื่อสร้างระบายความร้อน รับความลมให้ไหลมาแทนที่ และรับแสงในการเพิ่มความสว่าง ลดความชื้นในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งทีมงานได้ใส่ช่องเปิดเป็นประตูหน้าต่างกว้างๆ  หันหน้ารับความเย็นจากคอร์ทยาร์ดและบ่อปลา ทำให้รู้สึกเย็นทั้งกายสบายทั้งใจ อีกทั้งยังมี skylight ดึงแสงจากด้านบน จึงสามารถออกมาใช้ชีวิตตรงนี้ได้อย่างเป็นส่วนตัวแบบไม่ต้องกลัวฝน

ห้องนั่งเล่นเชื่อมต่อสวนทรอปิคอล

ห้องต่างๆ ที่สามารถเปิดประตูออกได้กว้างจนเหมือนไม่มีผนัง สร้างพื้นที่กึ่งเปิดโล่งที่หลากหลายนำมาซึ่งอากาศเย็น และช่วยบรรเทาความร้อนและความชื้นใน Kerala ได้เป็นอย่างดี

มุมนั่งเล่นกลางแจ้งมีระแนงกันแดด

มุมนั่งเล่นกลางแจ้งมีระแนงกันแดด

ปกติเราจะเห็นสวนหลักอยู่ที่ชั้นล่าง เพราะใกล้ชิดกับพื้นดินมากที่สุด แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่กฎตายตัว เมื่อคนเริ่มมองว่าทำไมสวนต้องมีแต่ด้านล่าง สำหรับคนที่อยู่ชั้นบนที่ไม่มีสวนเป็นของตัวเอง จึงเหมือนถูกตัดขาดจากธรรมชาติไปโดยปริยาย จากแนวความคิดนี้ทำให้สถาปนิกแบ่งพื้นที่หลายส่วนของบ้านชั้น 2 มาทำเป็นสวน มีม้านั่งคอนกรีต คลุมด้วยระแนงเหล็ก เชิญชวนให้ออมานั่งนั่งรับบรรยากาศและความสดชื่นได้ทุกวัน ไม่เฉพาะคนที่อยู่ชั้นบนเท่านั้น สำหรับสมาชิกที่ห้องหลักอยู่ชั้นล่างอยากเปลี่ยนบรรยากาศก็มาที่นี่ได้

มุมนั่งเล่นกลางแจ้งมีระแนงกันแดด

มุมนั่งเล่นกึ่งกลางแจ้ง

เก้าอี้ไม้เท้าแบบย้อนยุคจาก Pythrik Antique Gallery  พรมลายดอกไม้ Daybed สีน้ำตาลกลิ่นอายวินเทจอินเดีย บนผนัง8vodiu9ประดับงาน Craft ถ่ายทอดบุคลิกที่สง่างามให้กับพื้นที่นั่งเล่นชั้นบน รายละเอียดการออกแบบขององค์ประกอบภายใน ความสมดุลระหว่างพื้นที่ภายในกับผนังทำให้นึกถึงความหลัง การไตร่ตรอง และความสุขสงบในใจ

มุมนั่งเล่นกึ่งกลางแจ้งเชื่อมต่อคอร์ด

อีกหนึ่งมุมที่จัดแบบกึ่งกลางแจ้งมีมุม “สวนชิงช้า” แกว่งไกวเพลิน ๆ เชื่อมต่อกับคอร์ทยาร์ดเล็ก ๆ จากจุดนี้มองออกไปจะเห็นถนนที่เชื่อมต่อกับย่านที่อยู่ทางใต้สุด เงยหน้าขึ้นจะเห็นเพดานไม้ เสาคอนกรีต และราวเหล็ก สร้างบทสนทนาที่น่าสนใจกับผนัง จริงๆ แล้วเป็นพื้นที่ระเบียง แต่เจ้าของบ้านเลือกใส่ธรรมชาติมากกว่าการปล่อยโล่ง เพื่อให้บ้านมีชีวิตชีวาในทุกตารางเมตร

 

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : การรักษาความเป็นส่วนตัวสามารถทำได้ในหลายระดับ ตั้งแต่การปลูกแนวต้นไม้ช่วยบังสายตา ทำฟาซาดบ้านให้มีช่องว่างสลับทึบ หรือจะทำกำแพงบ้านสูงๆ ตัวบ้านที่ก่อปิดทึบเจาะช่องประตูหน้าต่างเท่าที่จำเป็น แต่การทำแบบนี้สิ่งที่ตามมาแน่นอนคือ ความมืดอึดอัด และการระบายอากาศที่ไม่ดีเท่าที่ควรเหมือนขังตัวเองอยู่ภายใน สถาปนิกรุ่นใหม่ๆ จึงนิยมออกแบบบ้านให้ดูเหมือนปิดภายนอก แต่เปิดภายในแทน โดยให้ส่วนของอาคารเองปิดบังสเปซโล่งกว้างที่ใช้ชีวิตข้างใน เช่น การวางอาคารเป็นตัว L จัดสวนและสระน้ำกว้างๆ ทุกด้านที่หันเข้านาสวนมีประตูกระจกขนาดใหญ่ ทำให้บ้านไม่มืด มีอิสระ แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวสูง

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด