เมนู

Active AIRflow™ System จบปัญหาบ้านร้อน ใช้เวลาแค่ 1 วัน

Active AIRflow™ System

เปลี่ยนบ้านร้อนให้เย็นสบายอย่างเป็นธรรมชาติ

คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก” สุภาษิตนี้ผู้อ่านคงคุ้นหูกันดี แต่หากให้เข้ากับยุคสมัยคงต้องเปลี่ยนเป็น “คับที่อยู่ได้ บ้านร้อนอยู่ยาก เพราะเมืองไทยมีสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทุกปี โดยเฉพาะบ้านในเมืองที่มีความเป็นอยู่อย่างหนาแน่น มลพิษทางอากาศสูง รวมทั้งยังเสี่ยงต่อความปลอดภัย บ้านแต่ละหลังจึงเน้นการออกแบบในลักษณะปิดมากกว่าเปิดโปร่งให้อากาศถ่ายเทเหมือนบ้านชนบท

ผลที่ได้คือ บ้านร้อนอบอ้าวเนื่องจากอากาศไม่ถ่ายเท ยิ่งปิดบ้านนาน ๆ บ้านยิ่งอบอ้าว ทางแก้แบบทั่ว ๆ ไปคือ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อสร้างความเย็นทดแทน  แน่นอนว่าแอร์สามารถทำความเย็นให้ได้ แต่แอร์ไม่สามารถสร้างอากาศใหม่ให้หมุนเวียนได้ ผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน จึงสูดดมอากาศเก่าที่ไม่สะอาด และบ้านยังคงร้อนอบอ้าวอยู่เช่นเคย เนื้อหาชุดนี้ “บ้านไอเดีย” ขอแนะนำการรับมือกับปัญหาดังกล่าว ด้วยนวัตกรรม Active AIRflow™ System  จาก SCG  Living Tech  ที่จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนอากาศให้บ้านอย่างเป็นธรรมชาติครับ

สนับสนุนโดย : SCG LIVING TECH

ปัญหาบ้านร้อน เป็นหนึ่งปัญหาสุดคลาสสิคที่ต้องเจอในบ้านเขตร้อนชื้น แต่การจะแก้ปัญหาได้ตรงจุดต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจก่อนเป็นอันดับแรกว่า ความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านนั้นมาจากทางไหนได้บ้าง เพราะอะไรบ้านถึงร้อน รวมไปถึงสังเกตพฤติกรรมการใช้งานของคนในบ้าน เพื่อที่จะออกแบบบ้านให้เหมาะกับภูมิประเทศร้อนชื้นได้อย่างเหมาะสม

ความร้อนในบ้านมาจากไหน

หลายคนอาจจะเข้าใจว่าสาเหตุที่บ้านร้อน มาจากหลังคาซึ่งเป็นจุดรับแสงอาทิตย์โดยตรง ความเข้าใจนี้ถูกต้องแล้วครับ แต่ถูกแค่ส่วนเดียว เพราะนอกจากหลังคาแล้วยังมีช่องทางอื่น ๆ ที่บ้านจะรับความร้อนได้อีก ไม่ว่าจะเป็น ประตูหน้าต่างที่ใช้วัสดุกระจก, ผนังบ้าน และช่องทางสุดท้ายที่เจ้าของบ้านหลายท่านอาจคาดไม่ถึง คือ ความร้อนที่เกิดภายในตัวบ้านเอง เช่น ความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ความร้อนจากอุณหภูมิร่างกาย และความร้อนที่เข้ามาในบ้านเหล่านี้เกิดการสะสมตลอดทั้งวันโดยไม่มีการระบายออก   บ้านจึงเกิดภาวะร้อนอบอ้าวในที่สุด

จากภาพถ่ายโดยกล้องอินฟาเรด (กล้องถ่ายภาพความร้อน) จับพลังงานรังสีอินฟราเรด (IR) และสร้างภาพเป็นแถบสี วัตถุที่ร้อนจะมีสีสว่าง (สีแดง) และวัตถุที่เย็นจะแสดงสีมืด จะสังเกตเห็นว่า หลังคาเป็นสีแดง แสดงว่าจุดนี้มีความร้อนเข้ามามากที่สุด รองลงมาคือ ประตูหน้าต่างที่เป็นกระจก และผนังบ้าน ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงป้องกันความร้อนให้บ้านโดยเน้นไปที่หลังคา ซึ่งยังไม่ครอบคลุม เพราะความร้อนบางส่วนยังหลงเหลือเข้ามาในบ้านได้จากช่องทางอื่น ๆ

เหตุใดความร้อนจึงสะสมในบ้าน

ตามหลักการแล้วมวลอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงเพื่อให้มวลอากาศเย็นเข้ามาแทนที่ หากเป็นบ้านชนบททั่วไป ผู้อยู่อาศัยเลือกที่จะเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท แต่สำหรับบ้านในเมือง การเปิดหน้าต่างทิ้งไว้เมื่อไม่ได้อยู่อาศัยภายในบ้าน อาจก่อให้เกิดอันตรายด้านทรัพย์สินได้ หรือแม้แต่ขณะอยู่ในบ้าน เนื่องจากอากาศในเมืองร้อนมาก ผู้อยู่อาศัยจึงนิยมเปิดแอร์ หากเปิดแอร์และเปิดหน้าต่างไว้ ย่อมส่งผลให้ความเย็นไหลออก ยิ่งสิ้นเปลืองค่าไฟ บ้านในเมืองจึงมักปิดไว้ตลอดทั้งวัน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสะสมความร้อนภายในบ้าน และอากาศที่ไม่หมุนเวียน

กระบวนการทำงานของ Active AIRflow™ System

ด้วยเหตุนี้เอง SCG Living Tech จึงได้คิดค้นนวัตกรรม Active AIRflow™ System ที่ผ่านการศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนยุคปัจจุบัน พร้อมกับนำหลักการธรรมชาติเข้ามาช่วยในเรื่องการระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน ไม่เฉพาะส่วนของหลังคาเพียงจุดเดียว แต่ครอบคลุมทั้งระบบ เริ่มจากการเพิ่มอากาศใหม่เข้าภายในบ้าน, ดึงความร้อนสู่โถงหลังคา, ระบายอากาศเก่าออกสู่นอกบ้าน

4 ระบบการทำงานของ Active AIRflowTM  System ที่ใช้เวลาการติดตั้งเพียง 1 วัน  

(หมายเหตุ : บ้านขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 400 ตร.ม. ใช้เวลาติดตั้ง Active AIRflow™ System  ภายใน 1 วัน)

1. เติมอากาศใหม่จากภายนอกให้เข้ามาหมุนเวียนภายในบ้าน ด้วยการติดตั้ง Intake AIR Grille (ช่องเติมอากาศติดผนัง) เพื่อเติมอากาศใหม่ที่เย็นกว่าจากด้านนอกเข้าสู่ตัวบ้านตลอดเวลา อุปกรณ์นี้จะติดตั้งฟิลเตอร์ช่วยกันแมลงและกรองฝุ่น ซึ่งสามารถถอดออกมาล้างได้ นอกจากได้บ้านที่เย็นขึ้น ยังมีผลพลอยได้ทำให้บ้านไม่มีแมลงกวนใจ

2. ดึงความร้อนที่สะสมภายในบ้านขึ้นสู่โถงใต้หลังคา จุดนี้จะติดตั้ง Ceiling Ventilator (CV) หรือชุดระบายอากาศฝ้าเพดาน มีรูปร่างเป็นช่องติดใบพัดเหมือนพัดลมดูดอากาศ ทำหน้าที่เร่งการระบายอากาศภายในบ้านขึ้นสู่โถงหลังคา และเติมอากาศที่เย็นกว่าเข้าสู่บ้าน Ceiling Ventilator นี้จะติดตั้งบริเวณฝ้าเพดานโถงบันไดชั้น 2 ของบ้าน

ใส่ตะแกรงครอบป้องกันสัตว์รบกวนการทำงานของใบพัด

3. ระบายอากาศร้อนที่สะสมออกสู่นอกตัวบ้าน โดยติดตั้ง Solar Roof Tile Ventilator (ชุดกระเบื้องระบายความร้อนในโถงหลังคา) เพื่อเร่งการระบายอากาศร้อนที่สะสมอยู่ภายใน ปล่อยอากาศร้อนออกสู่ภายนอกทางหลังคา  โดยจะติดตั้งให้อยู่ในส่วนที่ใกล้สันหลังคามากที่สุด

สำหรับเจ้าของบ้านที่อยากให้บ้านเย็นยั่งยืนด้วยพลังงานสะอาดแบบ Eco Home ไม่ต้องการใช้ไฟฟ้าบ้านเดินระบบทำงาน สามารถใช้พลังงานทางเลือก ด้วยการติดตั้ง Solar Panel บนหลังคาเพิ่มเติมได้

4. ควบคุมง่ายผ่านกล่องอัจฉริยะ ติดตั้ง Smart Control Box & Mobile Application (กล่องประมวลผลอัจฉริยะ และแอปพลิเคชั่น) Active AIRflow™ System เป็นกลไกการถ่ายเทความร้อนออกจากตัวบ้านและโถงหลังคา ที่ควบคุมการทำงานผ่านกล่องประมวลผลอัจฉริยะ ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานและดูการแสดงผล ได้ง่าย ๆ เพียง Download Application ลงบน Smart Phone ก็สามารถควบคุมและสั่งการได้

Active Airflow

ระหว่างการติดตั้งระบบ Active AIRflow™ System  เจ้าหน้าที่จะเตรียมอุปกรณ์กันฝุ่นที่พื้นและเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มความมั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนการติดตั้งจะไม่ทำให้ภายในบ้านได้รับความเสียหาย แม้จะเป็นบ้านเก่าที่สร้างไว้ก่อนแล้วก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติไม่จำเป็นต้องย้ายออกแต่อย่างใด และจากขั้นตอนการทำงานของชุดอุปกรณ์ทั้งหมด ทำให้บ้านที่ติดตั้งระบบ Active AIRflow™ System  เกิดสภาวะอยู่สบาย ถึงแม้บ้านจะถูกปิดไว้ทั้งวันแต่ระบบก็จะทำการถ่ายเทอากาศภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ จึงไม่เกิดความร้อนสะสม อากาศภายในสดชื่น ทุกครั้งที่เปิดประตูเข้าบ้านจะรู้สึกได้ถึงความเย็น ไม่ร้อนเหมือนเก่าอย่างแน่นอนครับ

สำหรับผู้อ่านท่านใดสนใจติดตั้งระบบ Active AIRflow™ System เพื่อรับประสบการณ์บ้านเย็นอย่างเป็นธรรมชาติ สามารถติดต่อสอบถาม หรือเข้าชมระบบตัวอย่างได้ที่ได้ที่ SCG Experience, SCG Home Solution และ SCG Roofing Center ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจาก SCG คอยให้คำปรึกษาและให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การสำรวจหน้างาน ประเมินราคา ไปจนถึงการติดตั้งที่รวดเร็วได้มาตรฐาน เพียง 1 วัน ก็จะได้ใช้ชีวิตในบ้านที่เย็นและสบายกว่าเดิมแล้วครับ

รายละเอียดเพิ่มเติม

เว็บไซต์ : www.scgbuildingmaterials.com | โทร. : 02-586-2222

สนใจโปรโมชั่น  สามารถลงทะเบียนได้ที่goo.gl/fFq1wU http://credit-n.ru/offers-zaim/4slovo-bystrye-zaymi-online.html http://www.tb-credit.ru/znk.html

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด Advertise


โพสต์ล่าสุด