เมนู

บ้านโมเดิร์น ไซส์กะทัดรัด สร้างอย่างเข้าใจพื้นที่น้ำท่วม

สร้างบ้านตัว L

บ้านโมเดิร์นทรอปิคอลรูปตัว L 

สตูดิโอ Tales of Design  เป็นหนึ่งในทีมงานสถาปนิกของประเทศอินเดีย ที่เชื่อมั่นว่ากระบวนการออกแบบที่ขับเคลื่อนด้วยความเข้าใจในบริบท และเส้นทางของความต้องการของผู้ใช้งาน จะทำให้บ้านไม่ใช่เพียงที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่จะเป็นพื้นที่ชีวิตที่มีคุณภาพ ใช้งานได้จริง และใช้งานได้นาน โดยเน้นที่การศึกษาพื้นที่ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และการแทรกแซงที่สร้างสรรค์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ บ้านที่ชื่อโครงการ banyan tree ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำในมัมปุลลี ไซต์รูปตัว L ที่จัดฟังก์ชันค่อนข้างยาก และยังมีปัญหาเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม ซึ่งสถาปนิกได้เข้ามาแก้โจทย์ได้เพียงพริบตา

ออกแบบ : Tales of Design studio
ภาพถ่าย : Turtle Arts Photography
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านสองชั้นมีใต้ถุนโมเดิร์น

บ้านสองชั้นหลังนี้สร้างในเมืองตฤศศูร เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 4 ของรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย มีขนาดสามห้องนอนพร้อมชั้นลอยบนพื้นที่ 185 ตารางเมตร ในขณะที่เรามองภาพรวมของบ้านอาจไม่พบข้อจำกัดหรือปัญหาใด ๆ แต่ถ้าดูแปลนจะเห็รูปร่างที่ดินที่คล้ายเลข 7 ไม่ได้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสวย ๆ นอกจากนี้พื้นที่ใกล้เคียงยังต้องเผชิญกับระดับน้ำที่สูงขึ้นในช่วงมรสุมสูงสุด เนื่องจากที่ตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน พื้นที่ที่สร้างขึ้นจะถูกจัดวางบนจุดสูงสุดบนพื้นที่ยกระดับ ซึ่งช่วยในการสร้างลานด้านหน้าที่ลาดเอียงขนาดใหญ่

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านสองชั้นเหมือนบ้านต้นไม้

ในบ้านนี้จะสร้างเขตกันชนเป็นลานโล่งด้านหน้าและส่วนปลายที่ดิน เป็นทางเดินรถ จัดเป็นสวนดอกไม้ที่มีพืชพันธุ์พื้นเมือง ต้นไม้ผล และอื่นๆ  เพื่อให้ร่มเงาเติมความเย็นสดชื่น ป้องกันเสียงของบ้านและฝุ่นจากการจราจรบนถนน รัศมีกันชน 3.35 เมตรถูกเก็บไว้รอบๆ ต้นไทรเพื่อความปลอดภัยของอาคาร หน้าอาคารมีที่นั่งเล่นสบาย ๆ ชมสวน รอบบ้านมีกันสาดยื่นออกมาจากตัวบ้านในองศาแตกต่างกัน ให้ร่มเงาในช่วงฤดูร้อนและการป้องกันฝนในช่วงมรสุม บริเวณใต้ถุนซึ่งเป็นโรงรถด้วย ก็มีส่วนให้ลมไหลผ่านได้ดีในช่วงกลางวัน บ้านจึงแก้ปัญหาความร้อน ชื้น และอาจเสี่ยงน้ำท่วมได้ดี

หน้าต่างวงกลม
แผ่นพื้นที่เป็นสต็ปยื่นเชิงมุมออกมาและใต้ถุนสร้างชุดของช่องว่างโต้ตอบกับธรรมชาติ รวมถึงลานหน้าบ้านติดช่องหน้าต่างกลมๆ ที่นั่งเล่นได้ สร้างการเชื่อมต่อระหว่างบ้านกับภูมิทัศน์โดยไม่กระทบต่อความเป็นส่วนตัว

บ้านเชื่อมต่อภายนอกภายใน

ห้องนั่งเล่นหน้าต่างวงกลม

สถาปนิกจัดแปลนบ้านให้ค่อย ๆ ยาวและเหักเบี่ยงกระจายให้มีรูปร่างตามแนวที่ดิน เริ่มจากทางเดินรถ เฉลียง ห้องนั่งเล่น ห้องนอน คอร์ทยาร์ดที่เป็นโต๊ะทานข้าว ไปถึงครัวและที่ั่งเล่นบริเวณสวนหลังบ้าน จากหน้าบ้านถีงภายใน เราจะเห็นรูปทรงทางเรขาคณิตที่ได้รับการจัดวางอย่างระมัดระวัง ในองค์ประกอบต่างๆ ของการออกแบบ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการมองเห็น เช่น ประตูหน้าต่าง มือจับ เฟอร์นิเจอร์โซฟา โต๊ะกลาง ชั้นวางของบิลท์อิน สกายไลท์ บันได หรือแม้กระทั่งกระจกในห้องนอน และโครงสร้างอื่น ๆ ที่ยื่นออกมา เหมือนเป็นชิ้นงานศิลปะที่ทำให้บ้านเต็มไปด้วยเส้นสายทำให้บ้านดูน่าดึงดูดใจ

ห้องนั่งเล่นโถงสูง

โต๊ะอาหารติดผนังมุมโค้งๆ

มุมหนึ่งของบ้านตกแต่งผนังด้วยอิฐช่องลมมี Skylight เป็นคอร์ทยาร์ดในร่มเป็นส่วนหนึ่งของโต๊ะรับประทานอาหาร ที่เหมือนกำลังใช้ชีวิตกลางแจ้ง แต่ไม่รู้สึกร้อนมากเกินไปเพราะมีตะแกร่งเหล็กช่วยกรองแสงบางส่วน นอกจากจุดนี้แล้วยังมีหน้าต่างสูงเต็มที่อีกหลายบานรอบ ๆ บ้าน ส่วนใหญ่หันไปทางทิศเหนือเพื่อให้ได้รับแสงธรรมชาติทางอ้อมมากขึ้นจากภายใน ทุกองค์ประกอบของประตู หน้าต่าง ฉากอิฐ ช่องระบายอากาศ  และสกายไลท์ถูกจัดวางอย่างมีกลยุทธ์เพื่อเพิ่มระดับความสบายภายในอาคาร ผ่านการระบายอากาศแบบข้ามช่อง การไหลของอากาศและแสงธรรมชาติ จะช่วยลดการใช้พลังงานของครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

ผนังตกแต่งอิฐโชว์แนว

บันไดคอนกรีต

ตู้เสื้อฟ้าติดกระจกวงรี

นอกจากรูปร่าง รูปทรงแล้ว การเลือกใช้โทนสียังมีส่วนทำให้บ้านนี้ดูไม่น่าเบื่อ ปกติแล้วเรามักจะเห็นบ้านในอินเดียใช้สีสด ๆ เผ็ดร้อนเหมือนเครื่องเทศ อาทิ สีแดง สีส้ม เหลือง ลวดลายวิจิตร หรือไม่ก็แนวเอิร์ทโทนที่ต่อเชื่อมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งใช้สีจากตัววัสดุธรรมชาติเอง เช่น ดิน หิน ไม้ ในบ้านนี้ใช้ผสมผสานกัน คือ มีทั้งสีธรรมชาติของงานไม้ สีเหลืองมัสตาร์ดนวลๆ สีคอนกรีต หิน อิฐ รวมถึงสีน้ำเงิน สีเหลืองสดเลม่อนที่จัดจ้านขึ้นอีกนิด ทำให้บ้านดูสดชื่นมีชีวิตชีวา

ตู้เสื้อฟ้าติดกระจกวงรี

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ในบ้านเขตร้อนชื้น บ้านใต้ถุนสูงถือเป็นภูมิปัญญาที่เหมาะกับสภาพอากาศ เพราะพื้นที่ถูกยกตัวให้สูงขึ้นจะเพิ่มความโปร่งโล่ง เอื้อต่อการเดินทางของทิศทางลม และการถ่ายเทอากาศ บ้านจะลมโกรกในช่วงบ่าย ลมและแสงที่ส่องลอดได้ช่วยลดความชื้นใต้อาคาร นอกจากนี้ยังเพิ่มความปลอดภัยในบริเวณที่มีประวัติฝนตกชุกที่น้ำไหลหลากด้วย

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน สไตล์โมเดิร์น


โพสต์ล่าสุด