เมนู

บ้านบนเนินเล่นระดับภายใน เอาชนะความไม่เท่าของที่ดิน

บ้านหล่อคอนกรีต

บ้านคอนกรีตเปลือยสร้างบนที่เนิน

บ้านบนเนินหลายคนอาจจะเห็นเป็นอุปสรรค แต่ถ้าก้ามข้ามผ่านข้อจำกัดได้จะมองเห็นข้อดีที่ไม่เหมือนใคร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่นบ้านหลังนี้ หากขึ้นเนินมาในโซนที่อยู่อาศัยหนึ่งในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย จะสังเกตเห็นสิ่งก่อสร้างที่ซ่อนอยู่ท่ามกลางต้นไม้มากมายรอบๆ บริเวณนี้คือบ้านคอนกรีตที่เรียบง่ายหลังรั้วไม้ยาว มองเห็นบ้านจากระดับถนนได้ไม่ง่าย เพราะเป็นแนวภูมิประเทศของถนน ความแตกต่างระหว่างระดับสูงสุดและต่ำสุดของถนนคือห้าเมตร ในขณะที่ที่ดินของบ้านมีความแตกต่างของระดับความสูงหน้าดินสามเมตร ชวนให้เข้าไปดูว่าสถาปนิกใช้ประโยชน์จากความลาดชันนี้อย่างไรบ้าง

ออกแบบ : Tamara Wibowo Architects
ภาพถ่าย : Mario WibowoFernando Gomulya
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

จากโจทย์หลักของเจ้าของบ้านคือบ้านเรียบง่ายมี 4 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอยและพื้นที่บริการที่แสดงถึงชีวิตที่สะดวกสบาย หลังจากศึกษาไซต์ที่เป็นเนินแล้ว สถาปนิกก็ตัดสินใจไม่ปรับหน้าดินให้เท่ากัน แต่ใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศในการออกแบบแทน ที่ดินแบ่งเป็น 3 ชั้น มีพื้นที่จอดรถอยู่ชั้นบนสุด พื้นที่ส่วนกลางอยู่ชั้นกลาง และชั้นล่างสุดเป็นห้องนอนทั้งหมด ถ้ามองจากด้านข้างจะเห็นว่ารั้วค่อยๆ ไต่ระดับขึ้น ซ่อนบ้านคอนกรีตขนาด 450 ตร.ม. ที่สร้างอย่างถ่อมตัว ดูผสมผสานกับภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยต้นไม้ ดูเหมือนน้ำตกที่มีความลดหลั่นจึงชื่อ “บ้านน้ำตก”

บ้านปูนเปลือยสไตล์โมเดิร์น

บ้านเปิดผนังกว้างเชื่อมต่อสวน

วัสดุที่ใช้สร้างบ้านมีหลัก ๆ สองอย่าง คอนกรีตหล่อและไม้ ครองพื้นที่ผิวผนังภายนอกบ้านเหือบทั้งหมด เป็นการผสมผสานระหว่างสีเย็น ๆ ของคอนกรีตสีเทา กับความอบอุ่นของไม้ ทำให้เกิดพื้นที่ใช้สอยที่รู้สึกได้ถึงสะดวกสบาย

บ้านเปิดผนังกว้างเชื่อมต่อสระน้ำ

จุดสำคัญของบ้านนี้ คือ สถาปนิกเน้นออกแบบพื้นที่สีเขียวแทรกอยู่ระหว่างมวลอาคารทุกระดับ และจะมีช่องเปิดเป็นประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้สัมผัสกับความสดชื่นจากต้นไม้ สายลม แสงแดด สวนน้ำอย่างใกล้ชิด ในบางจุดหากเปิดออกไม่ได้จะใช้ผนังกระจกชวนพักสายตาได้แม้ไม่ได้ออกจากตัวบ้าน ในมวลระดับกลางที่บรรจุฟังก์ชันใช้งานหลัก ๆ ของบ้านจะมีสระน้ำที่อยู่ติดกับมุมนั่งเล่น ช่วยพัดพาไอเย็นเข้าสู่มุมพักผ่อน โดยออกแบบให้เป็นเหมือนน้ำตกที่ลดหลั่นลงไป เหมือนตัวบ้านที่ออกแบบให้มีความต่างระดับ ซึ่งเป็นหนึ่งในที่บ้าของชื่อโปรเจ็คนี้คือ “บ้านน้ำตก”

บ้านเปิดผนังกว้างเชื่อมต่อสระน้ำ

ห้องนั่งเล่นตกแต่งคอนกรีตและไม้

ผนังภายในบ้านยังคงใช้แผ่นพื้นคอนกรีตดิบ ๆ โชว์กริดไลน์และรูน็อตล้อไปกับรูปแบบของผนังภายนอก นอกจากนี้ยังใช้ไม้ควบคู่ไปกับคอนกรีตทั่วทั้งอาคาร เพื่อสร้างความสมดุลของความรู้สึกนุ่มนวลอ่อนโยนตัดกับความแข้งกระด้าง ความต่อเนื่องของวัสดุยังสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวทั่วทั้งบ้าน สร้างประสบการณ์เชิงพื้นที่ที่ไม่ขาดตอน

บ้าน open plan ผนังกระจก

ห้องทานข้าวผนังกระจกมองเห็นลานสวน

บริเวณพื้นที่เปลี่ยนผ่านระหว่างบันไดในมวลอาคารระดับกลาง จะมีคอร์ดยาร์จัดสวนกรวดอยู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยนำแสงสว่างเข้าสู่บ้านผ่านผนังกระจกเข้าสู่พื้นที่บริเวณห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ที่จัดตกแต่งแบบ open plan ภายในจึงเต็มไปด้วยความโปร่ง โล่ง สว่าง และมีความลื่นไหลเข้าถึงกันได้ทั้งหมด

บ้านปูนเปลือยผนังกระจกเชื่อมต่อธรรมชาติ

บ้านเล่นระดับผนังกระจกเชื่อมต่อคอร์ท

หนึ่งแนวคิดการออกแบบที่สถาปนิกใช้ข้อด้อยให้กลายเป็นจุดเด่นคือ การเล่นระดับบ้าน โดยค่อย ๆ ทำให้บ้านไต่ระดับขึ้นไปตามลักษณะที่ดินที่เป็นเนิน ในความสูงระดับละไม่กี่สเต็ป ซึ่งจะช่วยแยกฟังก์ชันการใช้งานในแต่จุดให้มีความเป็นสัดส่วน เป็นส่วนตัว แต่ก็ยังมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกับพื้นที่อื่นๆ ได้ ทำให้รู้สึกว่าบ้านมีมิติในการใช้งานโดยไม่รู้สึกว่าความลาดชันเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต แถมในแต่ละจุดยังวางตำแหน่งช่องเปิด ช่องแสง ให้สามารถมองเห็นและซึมซับความสดชื่นจากสวนได้ทุกจุด

มุมนั่เงล่นมองเห็นคอร์ทยาร์ด

นอกจากองค์ประกอบของสวนที่ล็อคตำแหน่งเอาไว้อย่างดีแล้ว ยังมีช่องแสงสกายไลท์ที่ถูกจัดวางอย่างชาญฉลาดในพื้นที่ใช้สอยแต่ละห้อง เพื่อส่งเสริมการกระจายตัวของแสงให้ส่องผ่านเข้ามาในทุกพื้นที่ แต่ในจุดที่ไม่ได้ต้องการความรุนแรงของแสงมาก ก็จะใช้ไม้ระแนงเป็นตัวช่วยในการพรางแสง จึงสามารถตอบได้ทุกโจทย์ที่เจ้าของบ้านต้องการได้ครบหมดแม้เริ่มต้นจะเต็มไปด้วยข้อจำกัดก็ตาม

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : ไซต์ที่ลักษณะเป็นเนินไม่ราบเรียบ เหมาะกับการใช้กลยุทธ์เล่นระดับ คือ ออกแบบให้พื้นที่ใช้สอยภายในตัวบ้านลดหลั่นกันในแต่ละพื้นที่ใช้งาน โดยมีสเต็ปบันไดที่ไม่สูงมากเชื่อมต่อ ทำให้มิติของพื้นที่ใช้งานดูน่าสนใจกว่าการวางระดับพื้นในระนาบเดียวกัน และมีสัดส่วนโดยที่ยังรู้สึกว่าไม่ถูกตัดขาดออกจากกัน ทั้งนี้ส่วนใหญ่การเล่นระดับสเปซภายใน มักจะมีด้านหน้าของตัวบ้านอยู่ต่ำกว่าด้านหลัง ค่อย ๆไต่ระดับขึ้นไปตามความชัน ซึ่งจะทำให้บ้านเกิดลักษณะการอากาศหมุนเวียนที่ดี และการใช้งานไหลลื่นมากกว่า แต่บ้านเล่นระดับอาจจะไม่เหมาะกับบ้านสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้

แปลนบ้าน

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด